ยูเรีย
แม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) คืออะไร? สำคัญต่อปาล์มน้ำมันหรือไม่?

ปุ๋ยยูเรีย (จัดเป็นปุ๋ยเคมี ชนิดนึง ที่เป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน) (ตามกฎหมายเรียกว่า “ปุ๋ยเคมียูเรีย”)
ยูเรีย (urea) ถูกค้นพบครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1727 โดย Herman Boerhaaveนักเคมีวิทยาและพฤกษศาสตร์ชาวดัช เขาค้นพบยูเรียในปัสสาวะ (urine) โดยการทดลองสกัดปัสสาวะจนได้ยูเรียออกมา
หลังจากนั้นอีก 101 ปีถัดมา Friedrich Wöhler นักเคมีวิทยา ชาวเยอรมัน สามารถสังเคราะห์ยูเรียขึ้นมาจากปฏิกิริยาของสารซิลเวอร์ไซยาเนตและแอมโมเนียมคลอไรด์ได้ ในปี ค.ศ. 1828 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สารอินทรีย์(organic) สามารถถูกสังเคราะห์ขึ้นมาได้จากสารอนินทรีย์ (inorganic) เรียกกระบวนการนี้ว่า vitalism ทำให้ทฤษฎีที่ว่า…สารเคมีที่ถูกผลิตโดยสิ่งมีชีวิตแตกต่างจากสารเคมีของสิ่งไม่มีชีวิต…ถูกหักล้างลงอย่างลิ้นเชิง และเป็นจุดกำเนิดของการพัฒนาวงวิชาการเคมีอินทรีย์ (organic chemistry) เป็นต้นมา
ในอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จะสังเคราะห์ขึ้นจากแอมโมเนียเหลว และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยผ่านความร้อน 180 °C ความดัน 200 บาร์ แล้วนำมาตกผลึก

ปุ๋ยยูเรียสำหรับปาล์มน้ำมัน
สามารถใช้ แม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) แทนเพื่อให้เป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจน การใส่แม่ปุ๋ยยูเรียจะทำให้สามารถจัดการธาตุอาหารได้ตรงตามความต้องการของต้นปาล์มและช่วยลดต้นทุนได้
ปุ๋ยยูเรีย (Urea) และแอมโมเนียมซัลเฟต (Ammonium Sulfate) ต่างเป็นปุ๋ยเคมีไนโตรเจน เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่วิธีการผลิต และปริมาณธาตุไนโตรเจนในปุ๋ย โดยแม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) คือ..มีปริมาณธาตุไนโตรเจน 46-48% ของน้ำหนัก
อ่านบทความ : ไนโตรเจน – อาการขาดธาตุไนโตรเจนเป็นอย่างไร? แก้ไขอย่างไร?
การขาดไนโตรเจน สามารถแก้ไขได้โดยการให้แม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) โดยแม้ไนโตรเจน จะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป จะทำให้ต้นอ่อนแอ ทางใบอวบน้ำ มีความต้านทานโรคน้อยลง

ประโยชน์ของปุ๋ยยูเรีย
- เป็นประโยชน์ให้ธาตุอาหารหลักของพืช คือ ไนโตรเจน
- เป็นประโยชน์โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเพาะปลูก ที่ต้องเร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรวดเร็ว
- ดูดความชื้นได้ดีมาก
คุณสมบัติทางกายภาพของปุ๋ยยูเรีย
- เป็นผลึกสีขาว
- ดูดความชื้นได้ดีมาก
- ละลายน้ำได้ 50%
- มีไนโตรเจน 47-48%
คุณสมบัติทางเคมี
- ใช้ในการเกษตร(เพิ่มธาตุไนโตรเจน) เช่น นาข้าว , สวนปาล์มน้ำมัน
- ใช้เป็นอาหารสัตว์พวกวัวควาย
- ใช้กับพืชผักสีเขียวช่วยเร่งความเจริญเติบโตใช้เพียงครึ่งเดียวของปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เพราะมีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าเท่าตัว ปุ๋ยยูเรียมีราคาแพงกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต

1. ต้นเล็กทรงพุ่ม
2. ถ้าขาดรุนแรงจะเห็นใบมีสีเหลืองซีดโดยเริ่มที่ใบแก่ก่อน
3. ใบสีเขียวซีด ต่อไปจะเหลืองทั้งต้น
4. ทางใบสั้นแกร็น
5. ต้นโตช้า
6. ทะลายเล็กลง
7. ปริมาณน้ำมันน้อย
ข้อควรระวังการใช้ปุ๋ยยูเรีย
การให้ปุ๋ยยูเรีย ร่วมกับปุ๋ยสูตรอื่นที่มีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนสูงอยู่แล้วอาจทำให้ปาล์มน็อคปุ๋ยได้
การใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น จะทำให้มีไนเตรทตกค้างในปาล์มน้ำมันสูง จะทำให้ต้นอ่อนแอ ทางใบอวบน้ำ มีความต้านทานโรคน้อยลง และจะทำให้มีปุ๋ยตกค้างในดิน ดินอาจเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพ ทำให้ดินแข็ง เนื่องจากในปุ๋ยไม่ใช่มีแต่ปุ๋ยอย่างเดียวเกินขึ้นหนึ่งในเม็ดปุ๋ยคือสารเติมเต็ม ซึ่งประกอบไปด้วย หิน กรวด ทราย ดิน ซึ่งสารเติมเต็มเหล่านี้ที่จะเข้าไปแทรกในเนื้อดินและดินแข็งขึ้น รากของปาล์มน้ำมันอาจชอนไชออกหาอาหารได้ไม่ดี นอกจากนี้การให้ปุ๋ยยูเรียที่มากเกินจำเป็นจะทำให้ดินเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี ทำให้ดินเค็มถ้าใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่สูงเกินไปมาก
วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องตรวจทดสอบปริมาณแร่ธาตุอาหารในดินที่ปลูก เพื่อกำหนดสัดส่วนการใส่ปุ๋ยได้ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งจังหวะเวลาในการใส่ปุ๋ย เพื่อให้ปาล์มน้ำมันสามารถดูดซึมไปใช้งานได้สูงสุดไม่เหลือตกค้าง และยังเป็นการประหยัดค่าปุ๋ยได้อย่างดี .