ไนโตรเจน ธาตุไนโตรเจน หรือ (N) ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปาล์ม จำเป็นต่อการแตกใบอ่อน การเจริญเติบโตของใบและทรงพุ่ม เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนทะลายเพิ่มมากขึ้น

อาการขาดธาตุไนโตรเจน
1. ต้นเล็กทรงพุ่ม
2. ถ้าขาดรุนแรงจะเห็นใบมีสีเหลืองซีดโดยเริ่มที่ใบแก่ก่อน
3. ใบสีเขียวซีด ต่อไปจะเหลืองทั้งต้น
4. ทางใบสั้นแกร็น
5. ต้นโตช้า
6. ทะลายเล็กลง
7. ปริมาณน้ำมันน้อย


การขาดธาตุไนโตรเจน มักกับดินน้ำท่วมขัง พบว่าการที่ปาล์มขาดไนโตรเจน อาจเกิดจากการระบายน้ำไม่ดี หรือปลูกบริเวณพื้นที่น้ำขัง
และอาจพบอาการนี้ในกรณีที่วัชพืช เช่น หญ้าคาขึ้นหนาแน่นรอบๆ ต้นปาล์ม
การสูญเสียของไนโตรเจนที่ระเหิดไปกับแดด มักเกิดกับไนโตรเจนในรูปของยูเรีย โดยถ้าเกิดการแล้ง แดดจัดติดต่อกันประมาณ 4 วัน ยูเรียจะระเหิดหายไปประมาณ 40-60%
วิธีแก้ไขอาการขาดไนโตรเจน
1. (ปลดปล่อยจังหวะที่ 1 ) ให้ปาล์มน้ำมันนำธาตุไปใช้ได้ทันทีในรูปไนเตรท โดยใช้แม่ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งเป็นไนโตรเจน จะไม่ระเหิดหายไปกับแดด
2. (ปลดปล่อยจังหวะที่ 2 ) ซึ่งปาล์มน้ำมันกินต่อเนื่องยาวนานได้ด้วยแอมโมเนียม โดยใช้แม่ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมไนเตรท
ที่สำคัญคือ การนำไนเตรทไปใช้ในปาล์มน้ำมัน จะพ่วงเอาโพแทสเซียมขึ้นไปพร้อมกันด้วย เรียกว่า โพแทสเซียมไนเตรท ช่วยให้ปาล์มน้ำมันที่ติดลูกแล้วลูกเบ่งโต ทะลายใหญ่ เปอร์เซนต์น้ำมันสูง น้ำหนักดี
แม้ไนโตรเจน จะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป ทำให้ต้นอ่อนแอ ทางใบอวบน้ำ มีความต้านทานโรคน้อยลง
ยูเรีย

ประโยชน์ของปุ๋ยยูเรีย
- เป็นประโยชน์ให้ธาตุอาหารหลักของพืช คือ ไนโตรเจน
- เป็นประโยชน์โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเพาะปลูก ที่ต้องเร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรวดเร็ว
- ดูดความชื้นได้ดีมาก
คุณสมบัติทางกายภาพของปุ๋ยยูเรีย
- เป็นผลึกสีขาว
- ดูดความชื้นได้ดีมาก
- ละลายน้ำได้ 50%
- มีไนโตรเจน 47-48%
คุณสมบัติทางเคมี
- ใช้ในการเกษตร(เพิ่มธาตุไนโตรเจน) เช่น นาข้าว , สวนปาล์มน้ำมัน
- ใช้เป็นอาหารสัตว์พวกวัวควาย
- ใช้กับพืชผักสีเขียวช่วยเร่งความเจริญเติบโตใช้เพียงครึ่งเดียวของปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เพราะมีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าเท่าตัว ปุ๋ยยูเรียมีราคาแพงกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
แอมโมเนียมซัลเฟต

คุณสมบัติทางกายภาพ
- เป็นผลึกสีขาวหรือเทา
- ดูดความชื้นในอากาศ
คุณสมบัติทางเคมี
- สูตรเคมี : มีธาตุไนโตรเจน 20% และ มีธาตุกำมะถัน 24 %
- อยู่ในระดับปฏิกิริยาเป็นกรด
ข้อเสียแอมโมเนียมซัลเฟต
1. ทำให้ดินมีสภาพความเป็นกรดมากขึ้น
2. สภาพดินเป็นกรดจากการใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ส่งเสริมการก่อให้เกิดโรคเชื้อราในพืชมากขึ้น
ระหว่างปุ๋ยยูเรียกับปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต
ปุ๋ยยูเรียมีปริมาณธาตุไนโตรเจน 46-48%
สูงกว่าปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตเท่าตัว