ธาตุอาหาร ที่ช่วยลดความรุนแรงของโรคโคนเน่าจากเชื้อกาโนเดอร์มา ในต้นปาล์มนำ้มัน

ธาตุอาหาร ที่ช่วยลดความรุนแรงของ โรคโคนเน่าจากเชื้อกาโนเดอร์มา (Effect of micronutrients-enriched fertilizers on basal stem rot disease)

โรคโคนรากเน่า (basal stem rot) ของปาล์มน้ำมัน ที่เกิดจากเชื้อกาโนเดอมา (Ganoderma boninense) เป็นปัญหาใหญ่ของสวนปาล์มน้ำมันในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย อินโดเนียเซีย ปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะแปซิฟิค ซึ่งปัญหานี้ได้เคยเกิดขึ้นในปาล์มที่ปลูกในแถบลาตินอเมริกา (อเมริกากลาง-ใต้) และแอฟริกา จนกลายมาเป็นปัญหาหลักของปาล์มที่ปลูกอยู่ทั่วโลก

 

สภาพต้นกล้าปาล์มที่ถูกเชื้อกาโนเดอมาเข้าทำลาย
ภาพแสดง ระดับความรุนแรงของเชื้อกาโนเดอมาที่เข้าทำลายต้นกล้าปาล์ม 2-5 เดือนหลังได้รับเชื้อ

 

เห็ดกาโนเดอร์มา, ต้นปาล์มน้ำมัน, โรคปาล์มลำต้นเน่า, เชื้อราไตรโคเดอร์มา
เห็ดกาโนเดอร์มา บนต้นปาล์มน้ำมัน

 

เชื้อรา
เห็ดกาโนเดอร์มา บนต้นปาล์มน้ำมัน

 

ปัจจุบันพบว่ายังไม่มีวิธีการป้องกันและความคุมโรคโคนรากเน่าของปาล์มน้ำมัน ได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ แต่มีรายงานว่าต้นปาล์มน้ำมันที่ขาดธาตุสังกะสีและทองแดง จะติดเชื้อโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อกาโนเดอร์มา (Ganoderma spp.) ได้มากกว่า ต้นปาล์มที่ได้รับธาตุสังกะสีและทองแดงอย่างเพียงพอ

จึงมีการทดลองโดยการใช้ประโยชน์จากจุลธาตุอาหารพืช (micronutrient) โดยนำธาตุ 3 ชนิด  คือ ทองแดง (Copper, Cu) โบรอน (Boron, B) และแมงกานีส (Manganese, Mn) เข้าทำการทดสอบดังนี้

 

โบรอน

ทองแดง

แมงกานีส
โบรอน ทองแดง แมงกานีส

ขั้นตอนการทดสอบ

  1. นำธาตุแต่ละชนิด (ทองแดง, โบรอน, แมงกานีส) จำนวนอย่างละ 2 มิลลิกรัม ผสมดิน 1 กิโลกรัม โดยแต่ละธาตุแยกกัน
  2. นำธาตุที่ผสมดินแล้ว (ข้อ 1) ร่วมกับการใช้ปุ๋ย 14-10-10+2MgO
  3. นำมาใส่ต้นกล้าปาล์มน้ำมันเป็นเวลา 3 เดือน
  4. นำเชื้อกาโนเดอมาไปทดสอบกับต้นกล้าปาล์มน้ำมัน
  5. ติดตามผลหลังจากใส่ธาตุแล้ว 8 เดือน

ผลการทดสอบ

ผลที่ได้พบว่าการใส่จุลธาตุแต่ละตัวแยกกันได้ผลไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าการใส่จุลธาตุร่วมกัน ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ดีกว่า เช่น

  • โบรอน + ทองแดง
  • โบรอน + แมงกานีส
  • ทองแดง + แมงกานีส

แต่กลับพบว่าการใส่จุลธาตุทั้ง 3 ชนิดร่วมกัน จะทำให้เป็นโรคเพิ่มมากขึ้น

ภาพเชื้อกาโนเดอมาที่ใช้ในการทดลอง

 

อ่านบทความ : ธาตุอาหารที่ปาล์มน้ำมันต้องการ

อ่านบทความ : โรคปาล์ม – “โรคลำต้นเน่า”…ป้องกันอย่างไร?


ที่มา :
Tengoua, F.F., M.M Hanafi, A.S Idris, K. Jugah, J.N.M. Azwa, M. Hasmah and S.R. Syed- Omar. 2014. Effect of micronutrients-enriched fertilizers on basal stem rot disease incidence and severity on oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) seedlings. American Journal of Applied Science 11(10): 1841-1859.

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน