โรคปาล์ม – “ทะลายปาล์มเน่า” อาการเป็นอย่างไร? มีวิธีป้องกันและกำจัดอย่างไร?

โรคปาล์ม

ทะลายเน่า, โรคปาล์ม, ทะลายเน่าจากเชื้อราพบโรคทะลายปาล์มน้ำมันเน่า จากเชื้อรา

   เดลินิวส์ออนไลน์ 2 สิงหาคม 2560 – “กลุ่มอารักขาพืชยะลา สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา” โดย นายชัยยศ สุวรรณลิขิต นักวิชาการชำนาญการ นายเอกราช วิบูลย์พันธุ์ และนายฤทธิรงค์ ศรีสุข นักวิชาการปฏิบัติการ ได้ออกให้บริการแก้ปัญหาโรคในแปลงปาล์มน้ำมัน ของนายสันติ ผลาวัลย์ เกษตรกรชาวสวนปาล์ม ต.ตาเซะ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา
   จากการสำรวจแปลง พบเส้นใยสีขาวของเชื้อราบนทะลายปาล์มน้ำมัน โดยเส้นใยจะเจริญอยู่บริเวณ ช่องระหว่างผลปาล์มน้ำมันและโคนทะลายส่วนที่ติดทางใบ และบางทะลายก็พบเส้นใยขึ้นปกคลุมทั้งทะลาย เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดเพิ่มเติมพบผล เน่าเป็นสีน้ำตาล จากอาการดังกล่าว เจ้าหน้าที่ฯ จึงวินิจฉัยว่าปาล์มเป็นโรค “ทะลายเน่า” จากเชื้อรา

เจ้าหน้าที่จึงให้คำแนะนำวิธีป้องกันและการกำจัดโรค ให้กับเกษตรกรดังนี้

 

วิธีกำจัด

วิธีการป้องกันกำจัดที่ดีที่สุดก็คือ “วิธีการทางเขตกรรม” โดยกำจัดส่วนที่เป็นโรคออก แลดูแลการผสมเกสรให้เพียงพอ
   • กำจัดส่วนที่เป็นโรคด้วยการเผาทำลาย หลีกเลี่ยงการไว้ทะลายจำนวนมากในช่วงระยะที่ปาล์มกำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโตและให้ผลผลิตในระยะแรก ด้วยการตัดช่อดอกหรือทะลายทิ้ง
   • ช่วยผสมเกสรในช่วงที่มีเกสรตัวผู้หรือแมลงช่วยผสมน้อย ควรตัดทะลายที่มีการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ออกให้หมด พร้อมตัดแต่งก้านทางใบให้สั้นลงเป็นการลดความชื้นที่คอทาง
   • ควบคู่กับการใช้ “เชื้อราไตรโคเดอร์มา” จำนวน  1 ถุง ปริมาณ 250 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณที่เป็นโรค ในเวลาตอนเย็น ทุก ๆ 15 วัน และในการนี้เจ้าหน้าที่ได้มอบเชื้อราไตรโคเดอร์มาให้เกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นการเบื้องต้นด้วย

ทะลายเน่า, โรคปาล์ม, ทะลายเน่าจากเชื้อรา

สาเหตุของโรค “ทะลายเน่า” จากเชื้อรา

   • เกิดจากเชื้อเห็ด Marasmius palmivorus
   • โรคและการแพร่ระบาด จะพบมากในช่วงที่ปาล์มน้ำมันอายุ 3-9 ปี (เป็นช่วงที่มีการผสมเกสรไม่สมบูรณ์) อาจเกิดเนื่องจากละอองเกสรตัวผู้น้อยหรือมีแมลงผสมเกสรไม่เพียงพอ
   • ความสัมพันธ์กับอากาศชื้นในฤดูฝนที่มีมาก ความชื้นสูง ส่งเสริมโรค
   • การปลูกปาล์มน้ำมันแบบปลูกชิดเกินไป ทำให้ความชื้นสูง เป็นตัวการส่งเสริมการเกิดโรคได้รวดเร็ว

 

ลักษณะอาการของโรค

   • ในระยะแรกจะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราบนทะลายปาล์มน้ำมัน โดยเส้นใยเจริญอยู่บริเวณช่องระหว่างผลปาล์มน้ำมันและโคนทะลายส่วนที่ติดทางใบ
   • ระยะต่อมา เส้นใยจะขึ้นปกคลุมทั่วทั้งทะลาย และเจริญเข้าทำลายผลปาล์มน้ำมัน ทำให้เกิดอาการเน่าเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในผลที่เน่า
   • ถ้าหากทะลายที่แสดงอาการยังคงติดอยู่บนต้น ผลจะแสดงอาการเน่าแห้งและมีเชื้อราชนิดอื่น ๆ เข้าทำลายภายหลัง ในแปลงที่ไม่มีการกำจัดทะลายที่แสดงอาการเน่าออกจากต้น ก่อนกระจายไปยังทะลายอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ของต้นปาล์มน้ำมัน เช่น บนโคนก้านทาง ก้านทาง หรือบน ใบย่อย

โรคปาล์ม, โรคปาล์มน้ำมัน, โรคทะลายปาล์มน้ำมันเน่า, โรคทะลายเน่า
ลักษณะอาการ: โรคทะลายเน่า

การแพร่ระบาด

เชื้อราสาเหตุ แพร่กระจายโดยลม

ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, ปุุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน, ปุ๋ยเคมี, ปุ๋ยใส่ปาล์ม, ปุ๋ยปาล์มที่ดีที่สุด, ปุ๋ยใส่ปาล์มยี่ห้อไหนดี, ปาล์มน้ำมัน, ธาตุอาหาร, ปุ๋ยใส่ต้นปาล์ม, ปลูกปาล์ม, ปุ๋ยยูเรีย, ปุ๋ยสำเร็จรูป, ไนโตรเจน,ฟอสฟอรัส,โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, โบรอน, ทองแดง, สังกะสี, ปุ๋ยบำรุงปาล์ม, การให้ปุ๋ย, การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน
ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน “ซีพีไอ พลัส” ปุ๋ยที่วิจัยจากความต้องการของต้นปาล์มนำ้มัน – โทร. 077-975-222

 

การป้องกันโรค

ในการป้องกันการเกิดโรคทะลาบปาล์มเน่านี้เกษตรกรสามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนี้
   • ลดช่วงระยะการเก็บเกี่ยวในแต่ละครั้งให้สั้นลง
   • หลีกเลี่ยงการสร้างทะลายจำนวนมากในระยะที่ต้นปาล์มน้ำมันกำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโตหรือให้ผลผลิตในระยะแรก โดยการตัดช่อดอกหรือทะลายทิ้ง
   • ช่วยผสมเกสรในช่วงทีมีเกสรตัวผู้หรือแมลงข่วยผสมน้อย
   • มีระบบการเก็บเกี่ยวที่ดี ลดการเข้าทำลายของสัตว์ต่าง ๆ อันเป็นช่องทางที่เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายภายหลัง ควรเก็บทะลายที่มีการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ออกให้หมด
   • เก็บผลร่วงทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว
   • กำจัดผลเน่าที่ถูกทิ้งไว้ในพื้นที่สวน

   สำหรับโรคทะลายเน่าของปาล์มน้ำมันจากเชื้อรานั้น มีชื่อว่า “Marasmius bunch rot” พบครั้งแรกในประเทศมาเลเซีย มีรายงานความเสียหายค่อนข้างสูง ต่อมามีรายงานถึงความเสียหายจากประเทศซาบาห์ ประเทศอินโดนีเซีย และทุกประเทศที่มีการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งมีสภาพเหมาะสมต่อการเกิดโรค จนกระทั่งปัจจุบันมีรายงานจากทุกแหล่งที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันทั่วโลก


ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ – พฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2560 เวลา 04.30 น.
ที่มา : ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี
ที่มา : ResearchGate.net

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน