พันธุ์ปาล์มน้ำมัน ที่ดี ดูอย่างไร? เลือกอย่างไร?
พันธุ์ปาล์มน้ำมัน ทราบหรือไม่ครับว่าการเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดี มีชัยไปเกินครึ่ง เพราะหากเราไม่ศึกษาและทราบถึงวิธีการเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้ดีแล้วนั้น ผลลัพธ์ที่ได้ในอนาคตอาจจะเป็นฝันร้ายของหลายๆท่านก็เป็นได้ เช่น ต้นปาล์มไม่ออกผลผลิต หรือให้ผลผลิตต่ำ หรือทะลายลีบฝ่อ หรือต้นปาล์มไม่ทนทานต่อโรค เป็นต้น ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนปาล์มหรือผู้ที่คิดจะเริ่มต้นการทำสวนปาล์ม ควรใส่ใจการเลือกซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมันเป็นพิเศษ เพื่อลดและป้องกันอัตราการสูญเสียในอนาคต…วันนี้ซีพีไอ ไฮบริดมีข้อแนะนำการเลือกซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ถูกวิธี..มาฝากครับ โดย เกษตรกรและผู้ซื้อ ควรใส่ใจ/ตรวจสอบ/สังเกต 9 ข้อจากแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่าย ดังนี้ครับ
1. เลือกสายพันธุ์ให้ถูกต้อง

ผู้ซื้อควรเลือกซื้อและมั่นใจว่าพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ซื้อนั้นเป็น พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่า / พันธุ์ปาล์มน้ำมันเทอนารา
(อ่านบทความ “ความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์”)
2. ตรวจสอบแหล่งผลิต
มีประวัติพันธุ์ (Breeding Program) ชัดเจน ต้องสามารถระบุสายพันธุ์ และที่มาของพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ได้ เกษตรกรจำเป็นต้องทราบชื่อและที่ตั้งของแหล่งผลิต ดังนั้นควรเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งต้องมั่นใจได้ว่าผู้ผลิตได้คัดเลือกพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง
ซีพีไอ ไฮบริด เรามีการใช้ระบบบาร์โค้ดสำหรับการผสมเกสร ใช้ระบบ Barcode เพื่อป้องกันความผิดพลาด รวมทั้งใช้โปรแกรมประมวลผลเฉพาะที่สามารถตรวจย้อนถึงที่มาของเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้าปาล์มน้ำมันได้
3. มาตรฐานของแหล่งผลิต

เลือกซื้อพันธุ์จากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ ผ่านการรับรองจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับ เช่น ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร, ผ่านมาตรฐาน ISO เป็นต้น
4. กระบวนการผลิตต้องเป็นระบบปิด
พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดี ควรผลิตใน“ระบบปิด” คือผลิตภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวด
กระบวนการผลิตอยู่ในระบบปิด เช่น การปิดถุงครอบเพื่อป้องกันปัจจัยแวดล้อมภายนอกเข้าไปเกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนการผลิต
5. ความมีมาตรฐานของแปลงเพาะกล้า
พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดี ควรปลูกในแปลงเพาะที่ได้มาตรฐานจะมีการคัดทิ้งต้นกล้าที่ผิดปกติประมาณ 20-25% จากจำนวนต้นกล้าเริ่มต้นที่เพาะทั้งหมด เพราะต้นกล้าปาล์มนำ้มันทุกสายพันธุ์ในปัจจุบันยังมีความแปรปรวนทางพันธุกรรมสูง ต้นกล้าที่ตำ่กว่ามาตรฐานเหล่านี้ อาจแสดงออกถึงความผิดปกติเมื่อนำไปปลูกแล้ว ในกรณีรุนแรงอาจทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้
6. ตรวจดูความสมบูรณ์ของต้นกล้าปาล์มน้ำมัน

ต้นกล้าที่แข็งแรง สมบูรณ์ ต้องแสดงออกถึงลำต้นที่แข็งแรง โคนใหญ่ รูปทรงต้นได้สัดส่วน
ไม่สูงชะลูด มีใบขนนกกางเต็มที่ ใบไม่หงิกงอหรือบิดเบี้ยวไป รวมทั้งมีลักษณะที่ดี ไร้อาการผิดปกติ
7. แหล่งจำหน่าย ต้องมีใบอนุญาต
แหล่งจำหน่ายต้องได้รับใบอนุญาติรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า จากกรมวิชาการเกษตร และเกษตรกรต้องขอใบเสร็จรับเงินจากแปลงเพาะที่ขายต้นกล้าทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานการซื้อขาย
8. ต้นกล้าปาล์มน้ำมันควรมีอายุ/ขนาดที่เหมาะสม
เช่น หากต้องการปลูกทันทีควรเลือกต้นกล้าที่มีอายุ 8-12 เดือน หรือหากต้องการนำไปอนุบาลดูแลก่อนควรเลือกต้นกล้าเล็กที่มีอายุ 2-4 เดือน
9. สถิติของเปอร์เซนต์น้ำมัน
พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดี นั้นผู้ซื้อจะต้องสามารถตรวจสอบสถิติของเปอร์เซนต์น้ำมัน และความสม่ำเสมอของผลผลิต จากผู้ผลิตรายนั้นๆ ได้
ตัวอย่างสถิติเปอร์เซนต์น้ำมัน ของพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด
อายุ |
ผลผลิต/ไร่/ปี |
จำนวนทะลาย/ต้น/ปี |
น้ำหนัก/ทะลาย |
เปอร์เซนต์นำ้มัน/ทะลาย |
ผลผลิตนำ้มัน/ไร่/ปี |
3 |
1,997 |
21 |
4.4 |
30.6 |
611 |
4 |
2,973 |
23 |
5.8 |
33.5 |
862 |
5 |
3,780 |
18 |
9.1 |
35.8 |
1,353 |
6 |
4,719 |
21 |
10.2 |
33.8 |
1,595 |
ค่าเฉลี่ย |
3,367 |
21 |
7.4 |
32.3 |
1,105 |

การนำปาล์มใต้โคนมาปลูก มีโอกาสอาจจะโชคดีได้ต้นที่ให้ผลผลิตที่สูงนั้นมีน้อยมาก เพราะการงอกของปาล์มใต้โคนนั้นเราไม่อาจทราบได้ว่า ต้นปาล์มใต้โคนนั้นๆ ได้รับการผสมมาจากต้นพ่อพันธุ์ต้นไหนมา ถึงแม้ว่าต้นแม่พันธุ์ที่เห็นอาจจะมีทะลายอยู่ด้านบนเป็นทะลายที่มีผลผลิตสูงก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ดีเพียงพอในการตัดสินใจนำมาปลูก
เหล่านี้เป็นหลักการเบื้องต้นในการเลือกซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดี เบื้องต้น ที่ช่วยลดความผิดพลาดในอนาคตเมื่อต้นปาล์มออกผลผลิตได้ นอกจากการเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันจะมีความสำคัญแล้ว ยังมีปัจจัยเรื่องการจัดการดูแลปาล์มน้ำมัน โดยเกษตรกรควรศึกษาวิธีการเคล็บลับต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ก็จะทำให้สวนปาล์มน้ำมันของท่านได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าต่อไปในอนาคต