พันธุ์ปาล์ม ที่ปรับปรุงพันธุ์ในไทย ดีกว่าพันธุ์ปาล์มนำเข้า จริงหรือไม่?!?

พันธุ์ปาล์ม
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ใช้พลังงานสูงที่สุดในการสร้างน้ำมัน เมื่อเทียบกับการสร้างโปรตีน (พืชตระกูลถั่ว) หรือน้ำตาล (อ้อย) ดังนั้นปาล์มจึงมีความสำคัญยิ่งในฐานะพืชพลังงาน และอย่างที่เราทราบกันดีว่า…ปาล์มน้ำมันนั้นมีทั้ง 2 เพศในต้นเดียวกัน (เพศผู้และเพศเมีย) แต่ช่อดอกเพศเมียจะพัฒนากลายเป็นทะลายปาล์มน้ำมันต่อไป ดังนั้นหากต้องการให้ทะลายดก แต่ละต้นก็ควรจะมีสัดส่วนช่อดอกเพศเมียให้มากที่สุด

เพศดอกทั้ง 3 แบบ ของปาล์มน้ำมัน
เพศดอกทั้ง 3 แบบ ของปาล์มน้ำมัน

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราส่วนช่อดอกเพศเมีย

  • พันธุกรรม (genetic)
    พันธุกรรมกำหนดจำนวนเพศต่างๆ ของช่อดอกปาล์มน้ำมัน และมีระดับของการสังเคราะห์ฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • สภาพแวดล้อม (environment)
    เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ปริมาณการตกและการกระจายตัวของน้ำฝน ปริมาณแสงแดด มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของปาล์มน้ำมัน ซึ่งมีผลต่อการสังเคราะห์ฮอร์โมนและพัฒนาการของช่อดอกปาล์มน้ำมันต่อไป
  • การจัดการสวนปาล์ม
    เช่น การใส่ปุ๋ย การตัดแต่งทางใบ ล้วนส่งผลต่อการกำหนดเพศและพัฒนาการของช่อดอกปาล์มน้ำมัน

พันธุ์ปาล์ม , พันธุ์ปาล์มน้ำมัน

ข้อดีของการปลูกปาล์มน้ำมันจาก พันธุ์ปาล์ม ที่พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ภายในประเทศ

  1. อัตราการสร้างช่อดอกเพศเมียสูงกว่า
    พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม ที่พ่อและแม่พันธุ์ที่ได้พัฒนาขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับสภาพพื้นที่ปลูกจริง จะมีอัตราการสร้างช่อดอกเพศเมีย ได้ดีกว่าพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างถิ่น เพราะต้นปาล์มพ่อ-แม่พันธุ์ได้เรียนรู้และผ่านการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมมาแล้ว ส่งผลให้ลูกที่เกิดมาปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมนั้นๆ ได้ดีตามไปด้วย
    จากเอกสารรายงานทางการวิจัย พบว่าพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่พัฒนาในประเทศไทย มีอัตราส่วนช่อดอกเพศเมียได้สูงถึง 80.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับ พันธุ์ปาล์ม ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีอัตราส่วนช่อดอกเพศเมียได้เพียง 44 เปอร์เซ็นต์ (ต้นปาล์มที่ปลูกที่หนองคาย มีอัตราส่วนช่อดอกเพศเมีย อยู่ในช่วง 43.2 ถึง 59.5 เปอร์เซ็นต์)
  2. ช่วยดุลการค้าของประเทศ-ลดการนำเข้า
    ข้อมูลการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากต่างประเทศ โดยสำนักควบคุมพันธุ์พืช และวัสดุการเกษตร ในระยะ 18 ปี ตั้งแต่ปี 2542 ถึง 2560 พบว่า มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันมากกว่า 41 ล้านเมล็ด คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาท (เฉลี่ยราคาเมล็ดละ 30 บาท) หากเกษตรกรหันมาปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่พัฒนาจากภายในประเทศ ก็จะเป็นการช่วยลดการนำเข้า ช่วยลดการขาดดุลการค้าของประเทศ
  3. ส่งเสริมอาชีพ และเพิ่มการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในประเทศ
    เมื่อมีการตั้งฐานการวิจัยปรับปรุง พันธุ์ปาล์ม ภายในประเทศ ก็จะทำให้เกิดการลงทุนและการสร้างงานให้คนไทยตามมามากมาย เช่น การจ้างนักวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช การจ้างนักสถิติ การลงทุนอาคารทดลองวิจัย เป็นต้น
  4. ความคล่องตัวในการเก็บข้อมูลจากผู้ปลูกจริง
    การส่งกลับ ข้อมูล/ปัญหา/ผลดี/ผลเสีย จากเกษตรกรผู้ปลูก กลับมายังผู้พัฒนาพันธุ์ภายในประเทศ จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นถิ่น ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ

 

นอกจาก พันธุ์ปาล์มที่ดี การจัดการสวนปาล์มให้ถูกต้อง เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เช่น การจัดการสภาพแวดล้อม ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ การใส่ปุ๋ย และการตัดแต่งทางใบ ล้วนส่งผลต่อการกำหนดเพศและพัฒนาการของช่อดอกปาล์มน้ำมัน
อ่านต่อ : การทำสวนปาล์ม – ปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิตปาล์มมีอะไรบ้าง?

 


ที่มา : กาญจนา ทองนะ, พสุ สกุลอารีวัฒนา, ธีรวุฒิ ตุ่นคำ และอุดม คำชา. 2557. การเปรียบเทียบพันธุ์ปาล์มน้ำมัน 6 สายพันธุ์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน): หน้า 1-6.
ที่มา : บจก.ซีพีไอ อะโกรเทค. 2557. คู่มือการปลูกปาล์มน้ำมัน. บมจ. โรงพิมพ์ตะวันออก. กรุงเทพฯ
ที่มา : ประศาสตร์ เกื้อมณี. 2556. ระบบการออกดอกของปาล์มน้ำมันพันธุ์เทเนอรา. บมจ.ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม.
ที่มา : อาธร สระกลาง. 2557. การประเมินสมรรถนะการผสมของโคลนพันธุ์พ่อแม่ปาล์มน้ำมันด้วยวิธีการผสมแบบพบกันหมด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ที่มา : Adam, H., F. Richaud, T. Beule, D. Cros, A. Omore, L. Nodichao, B. Nouy and J. Tregear. 2011. Environmental regulation of sex determination in oil palm: Current knowledge and insights from other species. Annual of Botany: 1-9.
ที่มา : CCM fertilizer division. CCM Fertilizer Handbook. Selangor Darul Ehsan, Malaysia.
ที่มา : Rival A. 2017. Breeding the oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) for climate change. OCL: 24(1).

เพิ่มเราเป็นเพื่อน