ประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน ปาล์มน้ำมันมีคุณประโยชน์มากมาย สามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลังงาน และยังสามารถใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย….

1. ลักษณะเด่นของปาล์มน้ำมัน

ดูแลสวนปาล์ม, การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน, palm oil farm management

1.1. เป็นพืชที่ปลูกได้จำกัดเฉพาะพื้นที่ในเขตพื้นที่ร้อนชื้นเท่านั้น ซึ่งภาคใต้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด
1.2. เป็นพืชที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี
1.3. เป็นพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่น ๆ ที่ให้ราคาถูกกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น
1.4. เป็นพืชที่ให้พลังงานที่จำเป็นต่อการบริโภคและอุปโภคของประชากรในชีวิตประจำวัน
1.5. เป็นพืชที่ให้วัสดุพลอยได้จากทุกส่วนของต้นปาล์มที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้
1.6. เป็นพืชที่มีจำนวนต้นต่อพื้นที่ปลูกน้อย (ประมาณ 22 ต้นต่อไร่) ทำให้ง่ายต่อการจัดการด้านแรงงาน
1.7. เป็นพืชยืนต้นที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายได้ตลอดทั้งปี อายุการเก็บเกี่ยวมากกว่า 25 ปี จึงทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการโรงงานมีรายได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปีและมีระยะ เวลาติดต่อกันนาน
1.8. เป็นพืชที่ทนทานต่อการเกิดภัยธรรมชาติ เช่น กรณีเกิดไฟไหม้สวน ปาล์มน้ำมันสามารถฟื้นสภาพกลับมาเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ใหม่
1.9. เป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญในอนาคต โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่น้ำมันเชื้อเพลิงธรรมชาติขาดแคลนหรือมีราคาสูงมากๆ อาจจะใช้น้ำมันปาล์มมาเสริมทดแทนได้บางส่วน

 

2. การสกัดน้ำมันปาล์ม (Mill Processing)

ปาล์มน้ำมัน ประโยชน์
ประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน

หลังจากการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน จะมีการขนส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมที่สกัดน้ำมันปาล์ม ซึ่งมีกระบวนการสกัดน้ำมัน 2 แบบ คือ แบบมาตรฐาน (หีบน้ำมันแยก) และแบบหีบน้ำมันผสม โดยโรงงานอุตสาหกรรมที่สกัดน้ำมันแบบมาตรฐานจะเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิต สูง ประมาณ 30 ถึง 80 ตันต่อชั่วโมง และน้ำมันที่ได้จัดเป็นน้ำมันคุณภาพระดับเกรดเอ เนื่องจากมีการแยกชนิดของน้ำมันปาล์ม สำหรับโรงงานที่สกัดน้ำมันแบบหีบน้ำมันผสม จะเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตค่อนข้างต่ำ และน้ำมันที่สกัดได้จะเป็นน้ำมันที่มีส่วนผสมระหว่างน้ำมันปาล์มจากเปลือก และน้ำมันจากเมล็ดในปาล์ม ดังนั้นจะกล่าวถึงวิธีการสกัดน้ำมันแบบที่นิยมใช้โดยทั่วไปตามมาตรฐาน

ในปี พ.ศ. 2552 จังหวัดกระบี่มีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม จำนวน 21 โรง มีกำลังการผลิต 659 ตันปาล์มทะลายสดต่อชั่วโมง หรือจำนวน 9,226 ตันต่อวัน (1 วัน คิดเป็นจำนวน 14 ชั่วโมง) หรือ จำนวน 2.77 ล้านตันต่อปี (1 ปี คิดเป็นจำนวน 300 วัน) ผลิตภัณฑ์ ผลที่ได้ทางอ้อมและของเสียหรือกากอุตสาหกรรมที่เกิดจากกระบวนการผลิต ได้แก่ น้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil) น้ำมันเมล็ดในปาล์ม (Palmkernel oil) ทะลายปาล์มเปล่า (Empty Bunch) เส้นใย (Fiber) กะลา (Shell) น้ำเสียและกากตะกอนน้ำมัน (Cake Decanter) ซึ่งของเสียที่เกิดขึ้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด (Zero Waste) เช่น ทะลายปาล์มเปล่า เส้นใย กะลา สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงหม้อไอน้ำ น้ำเสียนำมาผลิตแก๊สชีวภาพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และกากตะกอนน้ำมันนำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการจ้างงานในอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์มมีการจ้างงาน ร้อยละ 17.22 (รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมและความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมจังหวัด กระบี่ 2552)

 

3. ประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน

ประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน ปาล์มน้ำมันสามารถนำมาแปรรูปเป็นสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย
(ขอบคุณข้อมูลจาก : บมจ.ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม)

3.1 CPO Crude Palm Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการสกัดผลปาล์มสด (Fresh Fruit Bunch) เพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มดิบ มีลักษณะข้น สีส้มขุ่น ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์ม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่น ๆ
การแปรรูปปาล์มน้ำมัน

 

3.2. KO Crude Palm Kernel Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดเมล็ดในปาล์ม (Kernel) เพื่อให้ได้น้ำมันเมล็ดในปาล์ม มีลักษณะกึ่งของเหลว สีเหลืองอบน้ำตาล ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการกลั่นน้ำมันเมล็ดในปาล์ม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่น ๆ
การแปรรูปปาล์มน้ำมัน

 

3.3. RKO RBD palm Kernel Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเมล็ดในปาล์ม (KO) เพื่อให้ได้น้ำมันเมล็ดในปาล์มบริสุทธิ์ มีลักษณะกึ่งของเหลว สีเหลืองอ่อน ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ อุตสาหกรรมอาหาร เช่น นมข้นหวาน ไอศกรีม เนยขาว ฯลฯ
การแปรรูปปาล์มน้ำมัน

 

3.4. RPO RBD Palm Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ มีลักษณะกึ่งของเหลว สีเหลืองอ่อน ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น อุตสาหกรรมการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนยเทียม ไอศกรีม นมข้นหวาน สบู่ เป็นต้น
การแปรรูปปาล์มน้ำมัน

 

3.5 ROL RBD Palm Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกไขปาล์มบริสุทธิ์ออกจากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (RPO) เพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มโอเลอิน มีลักษณะใส สีเหลือง ณ อุณหภูมิปกติ และไม่มีสิ่งเจือปน
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารที่เกี่ยวกับการทอดทุกชนิด เช่น ขนมขบเคี้ยว อาหารทอดสำเร็จรูป ฯลฯ รวมถึงการนำไปใช้ประกอบอาหารภายในครัวเรือน
การแปรรูปปาล์มน้ำมัน

 

3.6. RHST RBD Palm Stearin เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกไขปาล์มบริสุทธิ์ออกจากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (RPO) เพื่อให้ได้ปาล์มบริสุทธิ์ มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเนยเทียม เนยขาว ครีมฉาบหน้าขนม ฯลฯ รวมถึงอุตสาหกรรมผลิตสบู่โอลีโอเคมีคอล ฯลฯ
การแปรรูปปาล์มน้ำมัน

 

3.7. PFAD Palm Fatty Acid Distillate เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อให้ได้กรดไขมันปาล์ม มีลักษณะเป็นของแข็งสีน้ำตาลอ่อน ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตสบู่ อุตสาหกรรมโอลีโอเคมีคอล การผลิตวิตามิน E รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซล
การแปรรูปปาล์มน้ำมัน

 

3.8. KFAD Palm Kernel Fatty Acid Distillate ผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการกลั่นน้ำมันเมล็ดในปาล์ม (KO) เพื่อให้ได้กรดไขมันเมล็ดในปาล์ม มีลักษณะใสสีเหลือง ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ อุตสาหกรรมโอลีโอเคมีคอล รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซล
การแปรรูปปาล์มน้ำมัน

 

3.9. KM Kernel Meal ผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการสกัดน้ำมันออกจากเมล็ดในปาล์ม (Kernel) เพื่อให้ได้กากเมล็ดในปาล์ม มีลักษณะเป็นเกล็ดละเอียด สีน้ำตาลอ่อน
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ใหญ่
การแปรรูปปาล์มน้ำมัน

 

3.10. ใบปาล์มน้ำมัน ในสวนปาล์มน้ำมันเมื่อมีการแต่งทางใบ สามารถสับย่อยทางใบและนำไปเลี้ยงสัตว์จำพวกวัว ควาย และม้าได้ โดยทางใบเป็นแหล่งของเส้นใย และวิตามินอีที่สำคัญ

 

ประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน

ประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน

ประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน

4. ความสำคัญ และศักยภาพของปาล์มน้ำมัน (การให้น้ำมัน)

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันต่อพื้นที่สูงสุด เมื่อเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่น ๆ (ตารางที่ 1) เมื่อเทียบราคาต้นทุนการผลิตน้ำมันในกลุ่มพืชที่ให้น้ำมันที่สำคัญ 4 ชนิด คือ ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง เรพสีด และ ทานตะวัน พบว่าน้ำมันปาล์ม (crude palm oil) มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดคือ กิโลกรัมละ 10-11.50 บาท ในขณะที่ น้ำมันถั่วเหลือง มีต้นทุนการผลิตกิโลกรัมละ 18 บาท

(ตารางที่ 1)  การใช้ประโยชน์ปาล์มน้ำมันศักยภาพการผลิตน้ำมันของพืชน้ำมันชนิดต่าง ๆ

ชนิดของพืช
ปริมาณการผลิตน้ำมัน(กก./ไร่)
ปาล์มน้ำมัน(น้ำมันปาล์มดิบ) 512
ปาล์มน้ำมัน(น้ำมันเมล็ดใน) 73
เรพสีด(Rapeseed) 89
ทานตะวัน 81
มะพร้าว 54
ถั่วเหลือง 52
ถั่วลิสง 51

 

กบนอกกะลา – น้ำมันปาล์มมาจากไหน (ตอน2/4)

 

กบนอกกะลา – น้ำมันปาล์มมาจากไหน (ตอน3/4)


อ้างอิง : บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน