โรคโคนรากเน่า..ภัยร้ายของปาล์มน้ำมัน..เกษตรกรควรเฝ้าระวัง!!

โคนต้นเน่า

เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคโคนรากเน่า (basal stem rot) มีหลายสายพันธุ์ตามธรรมชาติ เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับปาล์มน้ำมัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ganoderma boninense เชื้อราชนิดนี้จะกระจายตัวอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน รวมทั้งออสเตรเลียและซามัว พืชที่เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อนี้ ได้แก่ พืชสกุลถ่อน (Albizia) หมากสง (betel nut) สนทะเล (Casuarina) พืชสกุลค้อ (Livistona) มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และพืชสกุลปาล์ม

กาโนเดอร์มา, โรคปาล์ม, โรคลำต้นเน่า, โรคลำต้นปาล์มเน่า, โรคโคนรากเน่า
พืชที่พักอาศัยของเชื้อกาโนเดอร์มา

 

อาการของโรคและวงชีวิต

ใบของต้นปาล์มด้านล่างจะเหลือง หรือใบยอดมีจุดสีเหลืองปนเขียว ใบยอดอ่อนตัวลงและเริ่มเน่า

ใบที่ยังไม่คลี่ เริ่มมีสีเหลืองมากกว่าใบปกติ และบางครั้งเน่าที่ปลายยอด ต่อมาต้นจะโตช้า ใบยอดไม่คลี่ออก ใบซีด และรากที่อยู่บริเวณโคนต้นจะเริ่มแห้งและเน่า

กาโนเดอร์มา, โรคปาล์ม, โรคลำต้นเน่า, โรคลำต้นปาล์มเน่า, โรคโคนรากเน่า
เชื้อกาโนเดอร์มา เข้าทำลายระบบรากปาล์ม

 

  • ปาล์มเล็ก (อายุ 1-6 ปี) จะตายภายใน 6-12 เดือน หลังแสดงอาการ
  • ปาล์มโต (อายุ 6 ปี ขึ้นไป) อาจจะอยู่ได้ 2-3 ปี

ดอกเห็ดกาโนเดอร์มาจะอยู่ตามลำต้นของปาล์ม ทั้งปาล์มที่ยังมีชีวิตอยู่และต้นปาล์มที่สับล้ม (replant) ไปแล้ว พบว่าดอกเห็ดที่โตเต็มที่จะมีสีน้ำตาลขนาดกว้างมากกว่า 6 ซม. ขึ้นไป

กาโนเดอร์มา, โรคปาล์ม, โรคลำต้นเน่า, โรคลำต้นปาล์มเน่า, โรคโคนรากเน่า
วงจรชีวิตของโรค

 

วงชีวิตของเชื้อกาโนเดอร์มายังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน เช่น คำถามที่ว่า ต้นปาล์มถูกเชื้อเข้าทำลายเมื่อไหร่? ตอนไหน? มีการติดต่อของเชื้อผ่านรากของต้นหนึ่งไปยังรากของอีกต้นหรือไม่? สปอร์ถูกสร้างในดอกเห็ดหรือไม่? คำถามเหล่านี้ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด

เชื้อกาโนเดอร์มา เข้าทำลายต้นมะพร้าวมากที่สุด รองลงมาคือ ปาล์มน้ำมัน ต้นไม้ในป่า (forest) และยางพารา

ข้อสันนิษฐานการเกิดโรค

  1. การปลูกพืชทดแทน (replanting) ในพื้นที่เดิม เช่น ล้มมะพร้าวปลูกปาล์ม ล้มยางปลูกปาล์ม ล้มปาล์มปลูกไม้ผล โดยไม่กำจัดตอเก่าของพืชเดิมให้หมดก่อน
  2. ต้นพืชอ่อนแอ เช่น ได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ ได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง
  3. สภาพของดินไม่เหมาะสม เช่น เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป
  4. อินทรียวัตุในดินมีน้อย ทำให้ดินดูดซับธาตุอาหารไว้ได้น้อย ระบบรากจึงเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ลักษณะของต้นปาล์มที่ติดเชื้อกาโนเดอร์มา

  1. ทางใบล่างหักพับ
  2. ทางใบยอดที่ไม่คลี่มีจำนวนมาก
  3. ใบปาล์มสีเหลือง ลักษณะเหมือขาดธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม
  4. เนื้อเยื่อบริเวณโคนต้นถูกทำลาย
  5. มีเชื้อเห็ดกาโนเดอร์มา งอกออกมาจากโคนต้น

 

กาโนเดอร์มา, โรคปาล์ม, โรคลำต้นเน่า, โรคลำต้นปาล์มเน่า, โรคโคนรากเน่า
ลักษณะใบปาล์มที่ขาดธาตุอาหาร

 

การระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มา

สถานการณ์เชื้อกาโนเดอร์มาในอินโดนีเซียและมาเลเซีย ถือว่ารุนแรง มีรายงานว่าต้นปาล์มที่ติดเชื้อในประเทศปาปัวนิวกินีไม่มีทางรักษา โรคนี้เจอครั้งแรกในมาเลเซีย เมื่อปี 1920 (พ.ศ. 2463) กับต้นปาล์มอายุ 30 ปี และในปี 1950 (พ.ศ. 2493) พบในต้นปาล์มอายุ 10-15 ปี แสดงว่ามีเชื้อมีการเพิ่มขึ้น 30% ที่อินโดนีเซีย ต้นปาล์มที่อายุ 25 ปี ถูกปลูกใหม่ทดแทน (replanting) พร้อมกับการแสดงอาการเกิดโรค เหตุการนี้เกิดคล้ายกับที่ประเทศอื่นๆ สวนปาล์มที่เป็นโรคโรครากเน่าจากเชื้อรากาโนเดอร์มาที่ระดับ 20% ของพื้นที่ปลูก ยังถือว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ถ้าสูงกว่านี้จะไม่คุ้มทุน

กาโนเดอร์มา, โรคปาล์ม, โรคลำต้นเน่า, โรคลำต้นปาล์มเน่า, โรคโคนรากเน่า
ดอกเห็ดกาโนเดอร์มา ที่โคนต้นปาล์ม

 

การจัดการเชื้อกาโนเดอร์มา

 

ไตรโคเดอร์มา, โรคทุเรียน, โรคปาล์ม, โรคโคนรากเน่า, โรคพริก, โรคมะละกอ
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ซีพีไอ พลัส
วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช
(ชนิดน้ำเข้มข้น สายพันธุ์คุณภาพคัดพิเศษ)

ก่อนปลูก

  • ควรจำกัดตอเก่าของพืชเดิมทิ้ง เพราะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีข้อสัณนิฐานว่าเกิดจากการติดต่อผ่านรากสู่รากมากกว่าสปอร์ แต่ต้นทุนการขุดตอจะสูง
  • ขุดหลุมขนาด 1.5×1.5 ม. ความลึก 60 ซม. เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน และทำลายเศษซากต้นปาล์มเก่าที่อยู่ในบริเวณนั้นให้หมด
  • ย่อยสลายเศษซากต้นปาล์มเก่าไว้เป็นแถว ให้ห่างจากต้นที่ปลูกใหม่ อย่างน้อย 2 เมตร
  • ไถพรวนดินให้ความลึก 60 ซม. แล้วคราดเอารากปาล์มเก่าออกให้หมด
  • ปลูกพืชคลุมดินเพื่อเร่งการย่อยสลายเศษซากต้นปาล์มเก่าและช่วยในการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชด้วย

หลังปลูก

  • ใช้ดินพูนรอบโคนต้นของต้นปาล์มที่เป็นโรคเพื่อให้เกิดรากใหม่ ทำเช่นนี้กับต้นปาล์มติดเชื้อที่อายุมากว่า 15 ปี
  • การขุดร่องเพื่อลดการติดต่อระหว่างราก ของต้นที่เกิดโรคและต้นปกติ วิธีการนี้เคยทำในอดีตแต่ไม่แนะนำเพราะใช้แรงงานมากและจัดการยาก
  • เผาทำลายเศษซากต้นที่เป็นโรคทิ้งให้หมด
  • ฆ่าเชื้อในดินบริเวณที่เป็นด้วยปูนขาว
  • ฉีด/รด ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มารอบโคนต้นพืช
  • เพิ่มอินทรียวัตถุในสวน วางกองทาง ทะลายเปล่า ปลูกถั่วคลุมดิน
  • ปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรด
  • ใส่ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของจุลธาตุ เช่น สังกะสี

 

กาโนเดอร์มา, โรคปาล์ม, โรคลำต้นเน่า, โรคลำต้นปาล์มเน่า, โรคโคนรากเน่า
การเผาทำลายเชื้อกาโนเดอร์มาที่ต้นปาล์ม

 

อ่านบทความ: โรคลำต้นเน่าของต้นปาล์มน้ำมันป้องกันอย่างไร?

อ่านบทความ: ไตรโคเดอร์มา เชื้อรามหัศจรรย์!!

 


อ้างอิง :
บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)
– Flood J, Cooper R, Rees R, Potter U, Hassan Y. Some Latest R&D on Ganoderma Diseases in Oil Palm.
– Russell R, Paterson, M. (2019) Ganoderma boninse Disease of Oil Palm tp Significantly Reduce Production After 2050 in Sumatra if Projected Climate Change Occurs. Microorganism 7, 1-8.

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน