ไตรโคเดอร์มา เชื้อรามหัศจรรย์!!

ไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum)  เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืชซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญเติบโตได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด จะสร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมาก รวมเป็นกลุ่มกันหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลากหลายชนิด โดยวิธีการเบียดเบียนหรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ

เชื้อรา
เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถยับยั้งเชื้อราก่อโรคได้เร็วกว่า(ซ้าย)
เมื่อเทียบกับเชื้อราไมคอร์ไรซา(ขวา)
ที่เวลาเท่ากัน

 

ประโยชน์ของไตรโคเดอร์มา

ถือเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อราชั้นสูงคือสามารถสร้างสปอร์ขยายพันธุ์แบบใช้เพศได้ ในประเทศไทยมีการคัดเลือกเชื้อราไตรโคเดอร์สายพันธุ์ดี เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตปฏิชีวนสารทางการเกษตรอย่างแพร่หลาย และเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมาอย่างยาวนาน
เชื้อราไตรโคเดอร์จึงเป็นสารมหัศจรรย์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืช จึงพอรวบรวมประโยชน์ได้ดังนี้

  • ลดปริมาณเชื้อโรคพืช
  • แข่งขันและกำจัดเชื้อโรคพืช
  • ช่วยให้พืชแข็งแรง มีความต้านทานโรค
  • ช่วยเพิ่มการเติบโตของพืชและเพิ่มผลผลิต
  • รักษาโรคพืช เช่น รากและโคนเน่า ผลเน่า ใบจุด ใบไหม้ ใบเหี่ยว ราดำ
  • ใช้ได้หลากหลายพืชพันธุ์ เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ลองกอง  ยางพารา ปาล์มนำ้มัน พริก มะละกอ พืชผัก ข้าว ไม้ดอก-ไม้ใบ เป็นต้น

พบว่า เชื้อราไตรโคเดอร์มา ช่วยป้องกันและควบคุมเชื้อโรคพืชได้หลายชนิด เช่น โรครากและโคนเน่า ผลเน่า ใบจุด ใบไหม้ ใบเหี่ยว ราดำฯ

ไตรโคเดอร์มา, โรคทุเรียน, โรคปาล์ม, โรคโคนรากเน่า, โรคพริก, โรคมะละกอ
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ซีพีไอ พลัส
วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช
(ชนิดน้ำเข้มข้น สายพันธุ์คุณภาพคัดพิเศษ)

ไตรโคเดอร์มากับพืชต่างๆ

ไตรโคเดอร์มา ใช้ได้ผลกับพืชหลายหลายชนิด และมีประสิทธิภาพกับพืชต่างๆ ได้แก่

  • ไม้ผล : ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ลองกอง เป็นต้น
  • ไม้ยืนต้น : ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ ฯลฯ
  • พืชสวน-พืชไร่ : พริก มะละกอ มะเขือเทศ มะนาว พืชผักต่างๆ รวมทั้งใช้ได้ดีในนาข้าว
  • ไม้ดอก-ไม้ประดับ รวมทั้งไม้ใบต่างๆ

 

ไตรโคเดอร์มา, โรคทุเรียน, โรคปาล์ม, โรคโคนรากเน่า, โรคพริก, โรคมะละกอ
ภาพเปรียบเทียบพืชที่เป็นโรค กับพืชที่ใช้ไตรโคเดอร์มา

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน