โรคลำต้นเน่าของต้นปาล์มน้ำมันป้องกันอย่างไร?
…ซีพีไอ มีคำตอบ

โรคปาล์ม

ลำต้นเน่า…..?

โคนต้นเน่า   เห็ดบนต้นปาล์มน้ำมัน

เห็ดกาโนเดอร์มา, ต้นปาล์มน้ำมัน, โรคปาล์มลำต้นเน่า, เชื้อราไตรโคเดอร์มา
เห็ดกาโนเดอร์มา บนต้นปาล์มน้ำมัน

 

โรคลำต้นเน่า (Basal stem rot) เป็นโรคของปาล์มน้ำมัน ที่ร้ายแรงและมีความสำคัญมาก พบแพร่หลายในสวนปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย

สาเหตุก่อโรค :
เกิดจากเชื้อเห็ดที่มีชื่อว่า กาโนเดอร์มา (Ganoderma spp.) เป็นดอกเห็ดคล้ายเห็ดหลินจือ การพบดอกเห็ดบนต้นปาล์มนั้นแสดงว่าเส้นใยของเชื้อราได้เข้าไปทำลายเซลล์ในลำต้นปาล์มน้ำมันได้เป็นจำนวนมากแล้ว มักจะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันยืนต้นตายได้ภายใน 2-3 ปี หลังแสดงอาการของโรค


เห็ดกาโนเดอร์บนโคนต้นปาล์มน้ำมัน
ดอกเห็ดกาโนเดอร์บนโคนต้นปาล์มน้ำมัน



เส้นใยเห็ดที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ

 

การกำจัดโรค :
การป้องกันกำจัดโรคปาล์มลำต้นเน่า ทำได้ยากเนื่องจากเชื้อราก่อโรคอาศัยอยู่ในดิน เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม มันจะสร้างเส้นใยจำนวนมากแทงเข้าไปทำลายต้นปาล์มน้ำมันก่อนที่จะสร้างเป็นดอกเห็ดให้เห็น จึงทำให้การใช้สารเคมีควบคุมโรคไม่ได้ผลเท่าที่ควร

อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ประสิทธิภาพสูง (เชื้อราที่กินเชื้อราก่อโรคเป็นอาหาร) มาใช้ควบคุมโรค เพราะเป็นเชื้อราด้วยกันจึงสามารถเข้าไปทำลายราด้วยกัน ได้ดีกว่าการใช้สารเคมี

การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ประสิทธิภาพสูง 2 ชนิด คือ
1.) เชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ NST-009 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงมากในการควบคุมโรคปาล์มน้ำมัน และโรคพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน โรครากเน่าโคนเน่าของพืชตระกูลส้ม โรคหน้ายางตายนึ่ง และโรครากขาวรากแดงของต้นยางพารา
2.) เชื้อราไมคอร์ไรซา มีคุณสมบัติในการแย่งกับเชื้อราก่อโรคเพื่อเข้าอาศัยในเนื้อเยื่อต้นปาล์มน้ำมัน และยังสามารถดูดซับธาตุอาหารและความชื้นให้กับต้นปาล์มน้ำมันได้ดีอีกด้วย

 

 

เชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ NST-009

ผลทดสอบการยับยั้งเชื้อเห็ดกาโนเดอร์มา ที่เป็นตัวก่อโรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน ได้ผลที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ พบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ NST-009 สามารถยับยั้งการเติบโตของเห็ดกาโนเดอร์มาได้มากถึง 82.14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์การค้าทั่วไปที่มีความสามารถการยับยั้งได้ 75.00 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเชื้อราไมคอร์ไรซามีประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคที่ 14.28 เปอร์เซ็นต์
เชื้อรา
เชื้อราไตรโคเดอร์มายับยั้งเชื้อราก่อโรคได้เร็วกว่า(ซ้าย) เมื่อเทียบกับเชื้อราไมคอร์ไรซา(ขวา) ที่เวลาเท่ากัน

 

ภาพเชื้อราไตรโคเดอร์มาหลังพ่นเชื้อ 2 เดือน

หลังจากที่พ่นสปอร์สดของเชื้อราไตรโคเดอร์มา บนใบและดินที่ปลูกต้นปาล์มน้ำมันไปแล้ว 2 เดือน พบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ NST-009 มีความสามารถสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ในการเพิ่มปริมาณบนใบปาล์มน้ำมันพันธุ์ CPI Hybrid ของ บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด และเมื่อนำมาทดสอบใส่เชื้อสดกลับลงไปในดินที่ปลูกปาล์มและตรวจสอบอีกครั้ง พบปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มา 1.86 x 105 สปอร์ต่อดิน 1 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่สามารถควบคุมเชื้อรากาโนเดอร์มาที่เป็นสาเหตุของโรคลำต้นเน่า ในดินที่ปลูกปาล์มน้ำมันได้ การพ่นสปอร์สดของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในแปลงปลูกต้นปาล์มน้ำมันจะทำให้เชื้อราไปอาศัยอยู่ในดิน และยังช่วยปกป้องต้นปาล์มน้ำมันจากการเข้าทำลายของเชื้อราก่อโรคได้

 

ไตรโคเดอร์มา, โรคทุเรียน, โรคปาล์ม, โรคโคนรากเน่า, โรคพริก, โรคมะละกอ
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ซีพีไอ พลัส
วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช
(ชนิดน้ำเข้มข้น สายพันธุ์คุณภาพคัดพิเศษ)

 

ต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ CPI Hybrid ทุกต้นได้มีการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาทุกเดือนของการอนุบาลต้นกล้า ดำเนินการร่วมกับโปรแกรมการจัดการแปลงเพาะซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 จนเติบโตเป็นต้นกล้าปาล์มที่มีความสมบูรณ์พร้อมและมีภูมิต้านทานโรคลำต้นเน่าได้ดี เพื่อให้เกษตรกรนำไปปลูกในสวนปาล์มได้อย่างมั่นใจ

“แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากปลูกไปแล้วเกษตร ควรมีการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาต่อเนื่อง ทุก 1-2 เดือน เพื่อให้เชื้อยังมีปริมาณเหมาะสมที่จะป้องกันเชื้อโรคพืชได้ต่อไป”

 

ดาวน์โหลด รายงานการวิจัยฉบับเต็ม
“ประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ในการยับยั้งสาเหตุของโรคโคนรากเน่าของปาล์มน้ำมัน”


หมายเหตุ :
รศ.ดร.วาริน อินทนา และ ดร.อรรถกร พรมวี
หน่วยวิจัยพืชเขตร้อน สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก โครงการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ (Industrial Research and Technology Capacity Development Program : IRTC)
ภายใต้โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน