งานด้านชีววิทยาโมเลกุล

งานด้านชีววิทยาโมเลกุล
งานด้านชีววิทยาโมเลกุล


งานด้านชีววิทยาโมเลกุล


บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยให้ทุนสนับสนุน งานวิจัยงานด้านชีววิทยาโมเลกุล  เพื่อนำเทคโนโลยีด้านเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) ให้เข้ามามีบทบาทช่วยงานวิจัยด้านปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ปาล์มน้ำมัน จุดประสงค์เพื่อการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการ เรียกว่า การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือก (marker-assisted selection, MAS) ซึ่งเป็นวิธีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการคัดเลือกจากฟี โนไทป์ (Phynotype) เนื่องจากเป็นการคัดเลือกจากจีโนไทป์ (Genotype) โดยตรง เครื่องหมายดีเอ็นเอสามารถตรวจสอบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต จึงมีส่วนช่วยประหยัดเวลา ลดแรงงาน ลดต้นทุน และพื้นที่ในการเพาะปลูกได้


(แผนภาพ เทคโนโลยีด้านเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) ในงานปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน)


จากผลการตรวจสอบ DNA พบว่า ต้นพ่อแม่พันธุ์ของ ซีพีไอไฮบริด (สีฟ้า) มีลักษณะโดดเด่นแตกต่างจากกลุ่มพันธุกรรมอื่นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราได้ต้นพ่อ-แม่สายพันธุ์ใหม่ โดยตั้งชื่อต้นแม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันว่า ชุมพรดูรา และ พ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันว่า ชุมพรฟิสิเฟอรา

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน