การทำสวนปาล์ม ให้ได้ผลผลิตสูง และลดต้นทุน มีปัจจัยอะไรที่ต้องคำนึงถึงบ้าง?

การทำสวนปาล์ม (การปลูกสวนปาล์มน้ำมัน) ที่ดีนั้น ปัจจัยแรกที่เกษตรกรชาวสวนควรคำนึงถึง คือ
– พันธุ์ปาล์มน้ำมัน
– สภาพภูมิอากาศ
– การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

 

การทำสวนปาล์มน้ำมัน
การทำสวนปาล์มน้ำมัน

 

1. พันธุ์ปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดี ในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนสูง ประมาณ 2,500 – 3,500 มิลลิเมตร/ปี และมีช่วงแล้ง (เดือนที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 100 มิลลิเมตร) ไม่เกิน 3 เดือน โดยปริมาณน้ำฝนขนาดนี้หลักๆ จะอยู่ในแถบประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ คอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันและส่งมาจำหน่ายยังประเทศไทย
แต่เมื่อ พันธุ์ปาล์ม เหล่านี้ ถูกนำมาปลูกในประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า และมีช่วงแล้งที่ยาวนานเกินกว่า 3 เดือน ทำให้พันธุ์ปาล์มน้ำมันเมื่อพบกับผลกระทบแล้ง
จะเกิดอาการมีรอบช่อดอกตัวผู้ ขาดคอ ไม่มีช่อดอก ช่อดอกเน่า ขนาดทะลายเล็ก ระบบรากไม่พัฒนา ซึ่งลักษณะต่างๆเหล่านี้ ส่งผลให้ได้ผลผลิตลดลง ผลผลิตไม่ตรงตามลักษณะพันธุ์ของประเทศผู้ผลิต อันเนื่องมาจากความแตกต่างของสภาพแวดล้อม

อาการที่แสดงว่าปาล์มน้ำมันต้นนั้นๆที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ ดังภาพต่อไปนี้

ต้นปาล์มน้ำมันที่ไม่ให้ผลผลิตเลยหรือให้ผลผลิตแต่ทะลายเล็ก
ต้นปาล์มน้ำมันที่ไม่ให้ผลผลิตเลยหรือให้ผลผลิตแต่ทะลายเล็ก
ต้นปาล์มน้ำมันที่ติดผลแล้วเน่า
ต้นปาล์มน้ำมันที่ติดผลแล้วเน่า
ต้นโอนเอนจากรากไม่พัฒนา
ต้นปาล์มน้ำมันที่โอนเอนจากรากไม่พัฒนา

ดังนั้นเพื่อให้ปาล์มน้ำมันสามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตต่อเนื่อง แม้ในช่วงที่ปาล์มน้ำมันกระทบแล้ง ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่แท้จริงของประเทศไทย จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันขึ้นมา เพื่อให้ได้พันธุ์ปาล์มน้ำมัน ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศเราได้อย่างแท้จริงดังภาพด้านล่างนี้

ทะลายปาล์มน้ำมัน, ปาล์ม, ปาล์มน้ำมัน, ต้นปาล์ม, ผลปาล์ม
ต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกจาก พันธุ์ปาล์ม ซีพีไอ ไฮบริด พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ถูกพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาในประเทศไทย

โดยธรรมชาติของปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชอายุยืน ต้องปลูกไปกว่าจะได้ล้มก็ 20-25 ปี จึงจะคุ้มกับการลงทุน หากเกษตรกรเลือกพันธุ์ปาล์มที่ไม่ดีมาปลูก ต้องลงทุนมากมายทั้ง ค่าปุ๋ย ค่ายา และอื่นๆ ซึ่งกว่าจะเห็นผลก็ต้องปลูกไปแล้ว 3 ปี จึงจะทราบว่าเป็นพันธุ์ปาล์มนั้นๆเป็นพันธุืปาล์มน้ำมันที่คุ้มกับการลงทุนไปหรือไม่ ดังนั้นจะปลูกปาล์มน้ำมันทั้งที ควรเลือก พันธุ์ปาล์มน้ำมัน ที่ผ่านการรับรองและมีใบรับรองพันธุ์ ก็จะทำให้อุ่นใจ มั่นใจ และสบายใจได้ตลอดไป

 

2. สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศ คือ ปัจจัยแรกที่ชาวสวนปาล์มน้ำมันควรทราบถึงลักษณะภูมิอากาศในสวนปาล์มน้ำมันของต้นว่าเป็นอย่างไร
โดยปาล์มน้ำมันนั้นจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ซึ่งมีประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ดังนี้ ปริมาณน้ำฝน ปริมาณแสงแดด อุณหภูมิ ลม และความชื้นสัมพัทธ์ เป็นต้น


2.1) ปริมาณน้ำฝน

ปริมาณน้ำฝนและการกระจายตัวของฝน เป็นปัจจัยหลักในการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมกับปาล์มน้ำมันโดยเฉลี่ยปีละอย่างน้อย ประมาณ 2,000-3,000 มม. ขึ้นไป โดยที่จะต้องไม่มีสภาพแห้งแล้งนานเกินไป ปริมาณการตกของฝนในรอบปี ต้องดีและสม่ำเสมอ เดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุด ไม่ควรต่ำกว่า 100 มม. และไม่ควรมีเดือนขาดน้ำนานเกิน 4 เดือน
หากพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันมีปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอสำหรับการเติบโตของปาล์มน้ำมัน ปาล์มที่ปลูกจะให้ผลผลิตต่ำ และหากปาล์มน้ำมันมีสภาพขาดน้ำในรอบปีมาก จะทำให้จำนวนทะลาย น้ำหนักทะลาย และเปอร์เซนต์น้ำมันลดลง ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ปริมาณฝนในฤดูฝนจึงมีเพียงพอสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน ส่วนในช่วงฤดูแล้งหากฝนทิ้งช่วง สามารถแก้ไขได้โดยติดตั้งระบบน้ำให้กับปาล์มในสวนของท่าน

 

2.2) ปริมาณแสงแดด

ปริมาณแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญอันดับสองในการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน โดยปกติแล้ว ปาล์มน้ำมันนั้นต้องการแสงแดดมากกว่า 5 ชม./วัน โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อไปสร้างผลผลิตและส่วนอื่นๆของต้น หากปาล์มน้ำมันได้รับแสงน้อย จะทำให้การเจริญเติบโตลดลง การสร้างดอกตัวเมียน้อยลง ซึ่งมีผลทำให้มีผลผลิตปาล์มน้อยลง ปัญหาเรื่องของแสงนั้นจะมีปัญหาโดยเฉพาะกับปาล์มน้ำมันที่มีอายุปลูกไปแล้วมากกว่า 10 ปี เนื่องจากปาล์มที่ปลูกชิดกันนั้นจะมีการบังแสงของทางใบระหว่างต้น
สำหรับใน
ประเทศไทยนั้น จัดว่าเป็นประเทศที่มีแสงแดดเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน

 

2.3) อุณหภูมิ

– อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 22-32 °C ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิปกติของเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
– อุณหภูมิที่สูงขึ้น จะมีผลกระทบกับปาล์มน้ำมันน้อยกว่าอุณหภูมิต่ำ
– ในสภาพอุณหภูมิสูงจะมีผลต่อการคายน้ำของปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ปาล์มขาดน้ำ แต่ในสภาพอุณหภูมิต่ำจะมีผลต่อการเจริญเติบโต

 

2.4) ลม / ความชื้นสัมพัทธ์

พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ต้องไม่มีลมพายุที่รุนแรง เนื่องจากลำต้นของปาล์มไม่แข็งแรง

ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในรอบปี
(เปอร์เซ็นต์)
การเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน
น้อยกว่า 77
น้อย
78 – 79
ปานกลาง
80 – 85
ดี

 

3. การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเติบโตของปาล์มน้ำมัน นอกจากปาล์มน้ำมันเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นนั้น การจัดการสวนปาล์มน้ำมันก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยการจัดการสวนปาล์มน้ำมันมีปัจจัยประกอบดังนี้ การเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน, การวางผังปลูกปาล์มน้ำมัน, วิธีการปลูกปาล์มน้ำมัน, การให้ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน โดยแต่ละปัจจัยมีรายละเอียดดังนี้

 

ทำสวนปาล์ม
การทำสวนปาล์ม – ปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิตปาล์มมีอะไรบ้าง?

 

3.1 การเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

3.1.1) การบุกเบิกพื้นที่
เป็นการโค่นทำลายต้นไม้ที่ไม่ต้องการหรือพืชอื่นออกไปจากพื้นที่หลังจากนั้นควรไถปรับสภาพดินและปรับพื้นที่

ปรับสภาพพื้นดิน เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน
ปรับสภาพพื้นดิน เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน

อ่านบทความ : วิธีล้มต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อปลูกทดแทน

3.1.2) การสร้างถนนในแปลงปลูกและร่องระบายน้ำในแปลงปลูก
• เพื่อใช้สำหรับขนส่งวัสดุทางการเกษตร เช่น ต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช รวมทั้งขนส่งผลผลิตทะลายปาล์มสดเพื่อจำหน่าย
• การทำร่องระบายน้ำควรทำควบคู่ไปพร้อมกับการทำถนน โดยมีลักษณะเป็นรูปตัววี

3.1.3) การปรับพื้นที่สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน

 

การปรับสภาพพื้นดิน ที่เป็นพื้นที่ราบ เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน
การปรับสภาพพื้นดิน ที่เป็นพื้นที่ราบ เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน


• การปรับพื้นที่ราบ
ในกรณีของพื้นที่ราบ เมื่อมีการกำจัดวัชพืชแล้ว ควรไถปรับสภาพพื้นที่โดยใช้ไถแบบ3 จานและไถแบบ7 จาน

 

การปรับสภาพพื้นดิน ที่เป็นพื้นที่ลาดชัน เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน
การปรับสภาพพื้นดิน ที่เป็นพื้นที่ลาดชัน เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน


• การปรับพื้นที่ลาดชัน
ในกรณีของพื้นที่ลาดชันหรือพื้นที่เชิงเขาควรมีการทำขั้นบันได เพื่อลดการ พังทลาย ของหน้าดินและสะดวกกับการจัดการ

 

การปรับสภาพพื้นดิน ที่เป็นการปรับพื้นที่ลุ่มและมีน้ำท่วมถึง เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน
การปรับสภาพพื้นดิน ที่เป็นการปรับพื้นที่ลุ่มและมีน้ำท่วมถึง เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน


• การปรับพื้นที่ลุ่มและมีน้ำท่วมถึง
ในกรณีของพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่ม มีน้ำขัง จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันจะต้องยกร่องและขุดคูระบายน้ำ โดยให้เนินดินบนสันร่องที่จะปลูกปาล์มน้ำมันอยู่สูงกว่าระดับน้ำที่ท่วมขัง พร้อมทั้งขุดร่องหรือคูระบายน้ำออกไปจากแปลงปลูก เพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน

 

3.2 การวางผังปลูกปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมันเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น โดยมีปัจจัยประกอบดังนี้

การวางผังเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน
การวางผังเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน

 

3.3 วิธีการปลูกปาล์มน้ำมัน

3.3.1) การเตรียมหลุมปลูก เตรียมระยะปลูกปาล์มน้ํามัน ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 cm. ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) อัตรา250-500 กรัมต่อหลุม ผสมคลุกเคล้ากับ ดินบน
3.3.2) วิธีปลูก ตัดถุงพลาสติกออก อย่าให้ดินแตก นำต้นกล้าปาล์มน้ำมันวางใส่หลุมและกลบให้แน่น (กรณีมีลมแรงควรปักไม้ผูกเชือกกันลมโยก)

วิธีปลูกปาล์มน้ำมัน
วิธีปลูกปาล์มน้ำมัน

อ่านบทความ : วิธีปลูกปาล์มน้ำมัน ปลูกอย่างไร? ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

 


คุณสมบัติของดิน

สมบัติ
เหมาะสมต่อปาล์ม
ค่อนข้างเหมาะสมต่อปาล์ม
ไม่เหมาะสมต่อปาล์ม
ภูมิประเทศความลาดชัน
< 12 องศา
12-20 องศา
> 20 องศา
ความลึกของดินถึงชั้นดานหรือระดับ
น้ำใต้ดิน
ดินร่วนถึงเหนียว
ดินร่วนปนทราย
< 40 เซนติเมตร
PH
4.0-6.0
3.2-4.0
< 3.2
ความหนาของชั้นดินอินทรีย์
0-0.6 ม.
0.6-1.5 ม.
> 1.5 เมตร
ความสามารถในการซึมน้ำของดิน
ปานกลาง
เร็ว หรือช้า
เร็วมาก หรือช้ามาก

 

3.4 การให้ปุ๋ย

ปริมาณธาตุอาหารที่พืชต้องการ = ส่วนที่สร้างต้น + ส่วนที่สร้างผลผลิต

ปริมาณธาตุอาหารส่วนที่สร้างต้น

อัตราปุ๋ย, กิโลกรัมต่อต้นต่อปี
แอมโมเนียมซัลเฟต
21-0-0
หินฟอสเฟต
0-3-0
โพแทสเซียมคลอไรด์
0-0-60
โดโลไมท์
30%CaO+ 20%MgO
รวม
3.8
1.1
2.1
2.5
9.6


ปริมาณธาตุอาหารส่วนที่สร้างต้น

น้ำหนักทะลายสด
 
อัตราปุ๋ย, กิโลกรัมต่อต้นต่อปี
ตัน/ไร่
กก./ต้น
 
แอมโมเนียมซัลเฟต
21-0-0
หินฟอสเฟต
0-3-0
โพแทสเซียมคลอไรด์
0-0-60
โดโลไมท์
30%CaO+ 20%MgO
รวม
0.5
022.7
 
4.2
1.2
2.3
2.6
10.3
1.0
045.5
 
4.5
1.3
2.5
2.7
11.0
1.5
068.2
 
4.8
1.5
2.6
2.8
11.7
2.0
090.9
 
5.1
1.6
2.8
2.9
12.3
2.5
113.6
 
5.4
1.7
3.0
2.9
13.0
3.0
136.4
 
5.7
1.8
3.1
3.0
13.7
3.5
159.1
 
6.1
1.9
3.3
3.1
14.4
4.0
181.8
 
6.4
2.0
3.5
3.2
15.1
4.5
204.5
 
6.7
2.1
3.7
3.3
15.8
5.0
227.3
 
7.0
2.3
3.8
3.4
16.5

 


การใส่ปุ๋ยในกองทางใบปาล์มซึ่งมีจุลิทรีย์อยู่จะช่วยตรึงปุ๋ยไม่ให้ถูกน้ำชะ ล้างไป และยังช่วยรักษากิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินให้ช่วยย่อยทางใบและสลายเป็น อินทรียวัตถุบำรุงดินได้เร็วขึ้น

อ่านบทความ : สูตรใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน และการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตสูง และลดต้นทุน

อ่านบทความ : กองทางใบ คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน