งานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์
สวนปาล์มน้ำมันของ บมจ.ซีพีไอ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 20,000 ไร่ เริ่มปลูกมาตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นพันธุ์ที่ปลูกจากเมล็ดที่ได้จากหลายแหล่งของโลก ในปี 2534 ได้เพิ่มสายต้น (Clone) ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยมีการเก็บข้อมูลผลผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดมา ศูนย์วิจัยพัฒนาปาล์มน้ำมันซีพีไอ ได้ใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวในการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดเป็นต้น พ่อและต้นแม่พันธุ์ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเริ่มงานในปี 2547 ภายใต้การวางแผนและควบคุมงานโดยอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ศ.ดร.กฤษาฎา สัมพันธารักษ์

งานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์
งานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์

วิธีการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันของ บจก. ซีพีไอ อะโกรเทค (Oil Palm Breeding Program)

1. การประเมินและคัดเลือกเชื้อพันธุกรรม
(Elite Clone Evaluation and Selection in Breeding Material Program)

    สิ่งหนึ่งซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพ และความก้าวหน้าในการปรับปรุงพันธุ์คือ คุณภาพของเชื้อพันธุกรรมที่ใช้เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นคณภาพด้านผลผลิต คุณภาพด้านเปอร์เซ็นต์น้ำมัน และลักษณะพิเศษอื่นๆ เช่น ต้นเตี้ยที่ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้นานขึ้น ทางใบสั้นที่ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนต้นต่อพื้นที่ได้มากขึ้น และก้านทะลายยาวที่ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะแสดงออกได้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวเข้า กับสิ่งแวดล้อมของปาล์มน้ำมัน ซึ่งถือเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการคัดเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

จุดเริ่มต้นของความสำเร็จของงานปรับปรุงพันธุ์  จะต้องมีการรวบรวมพันธุ์ที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาปลูกทดสอบความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งแน่นอนว่า พันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ย่อมจะให้ผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรอื่นๆที่ดีตามไปด้วย บริษัทฯ ได้อาศัยหลักเกณฑ์นี้ในการคัดเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันเข้าสู่โครงการ ปรับปรุงพันธุ์

จากการปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้รวบรวมมาจากหลาย ประเทศทั่วโลก และได้มีการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี โครงการฯ ได้คัดเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อมได้ดีที่สุด ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจำนวน 7 โคลน (clone, สายต้น) โดยดูจากความสามารถในการให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สูงกว่าพันธุ์ อื่นๆ

(ภาพที่ 1 การประเมินและคัดเลือกเชื้อพันธุกรรม)

 

2. การทดสอบสมรรถนะในการสร้างลูกผสม (Combining Ability Testing)

ปัญหาหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่สำคัญคือ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่เหมาะสม เนื่องจากปาล์มน้ำมันแต่ละพันธุ์หรือสายพันธุ์ มีความสามารถในการให้ลูกผสมที่แตกต่างกัน ขึ้นกับสมรรถนะหรือความสามารถในการผสมพันธุ์(combining ability) ซึ่งสมรรถนะในการผสมพันธุ์ หมายถึง ความสามารถของพันธุ์พ่อแม่ที่จะให้รุ่นลูกที่ดี จากการสังเกตพบว่า พันธุ์ที่ดี 2 พันธุ์ อาจไม่จำเป็นต้องให้รุ่นลูกที่ดี(superior progenies) เสมอไป ไม่ว่าจะพิจารณาจากแต่ละลักษณะหรือหลายๆ ลักษณะโดยรวม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบสมรรถนะของการผสมระหว่างพันธุ์ต่างๆ ที่ต้องการจะคัดเลือกมาใช้เป็นพันธุ์พ่อแม่ ว่าดีหรือเลวอย่างไร ควรเลือกใช้พันธุ์ใดผสมกับพันธุ์ใดจึงจะดีที่สุด ทั้งนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะทำนายสมรรถนะของการผสมพันธุ์ของพ่อแม่คู่นั้นๆ โดยดูเฉพาะข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ หรือที่สังเกตเห็นด้วยสายตาเมื่อนำมาปลูก ดังนั้นการคัดเลือกพ่อแม่โดยดูจากลักษณะของแต่ละพันธุ์ที่ต้องการนำมาผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงสมรรถนะของการผสมจึงมีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะประสบความล้มเหลวในการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน(ภาพที่ 2)

 

 


(ภาพที่ 2 การทดสอบความสามารถในการให้ลูกผสม ของพันธุ์ A, B และ C ซึ่งทั้ง 3 พันธุ์ให้ผลผลิตสูง
แต่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าลูกที่ได้จะให้ผลผลิตสูงตามไปด้วย จนกว่าจะมีการปลูกทดสอบลูก)

ปัญหาหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่สำคัญคือ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่เหมาะสม เนื่องจากปาล์มน้ำมันแต่ละพันธุ์หรือสายพันธุ์ มีความสามารถในการให้ลูกผสมที่แตกต่างกัน ขึ้นกับสมรรถนะหรือความสามารถในการผสมพันธุ์(combining ability) ซึ่งสมรรถนะในการผสมพันธุ์ หมายถึง ความสามารถของพันธุ์พ่อแม่ที่จะให้รุ่นลูกที่ดี จากการสังเกตพบว่า พันธุ์ที่ดี 2 พันธุ์ อาจไม่จำเป็นต้องให้รุ่นลูกที่ดี(superior progenies) เสมอไป ไม่ว่าจะพิจารณาจากแต่ละลักษณะหรือหลายๆ ลักษณะโดยรวม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบสมรรถนะของการผสมระหว่างพันธุ์ต่างๆ ที่ต้องการจะคัดเลือกมาใช้เป็นพันธุ์พ่อแม่ ว่าดีหรือเลวอย่างไร ควรเลือกใช้พันธุ์ใดผสมกับพันธุ์ใดจึงจะดีที่สุด ทั้งนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะทำนายสมรรถนะของการผสมพันธุ์ของพ่อแม่คู่นั้นๆ โดยดูเฉพาะข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ หรือที่สังเกตเห็นด้วยสายตาเมื่อนำมาปลูก ดังนั้นการคัดเลือกพ่อแม่โดยดูจากลักษณะของแต่ละพันธุ์ที่ต้องการนำมาผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงสมรรถนะของการผสมจึงมีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะประสบความล้ม    ดังนั้น การที่จะรู้ถึงความสามารถในการให้ลูกผสมที่ดีของพันธุ์ปาล์มน้ำมันหรือ สมรรถนะการผสม มีเพียงวิธีเดียว คือ การนำลูกที่ได้จากการผสมระหว่างพ่อแม่พันธุ์ไปปลูกทดสอบ(Combining Ability Testing) ซึ่งจากการปลูกทดสอบจะทำให้รู้ว่า พ่อแม่คู่ไหนที่มีศักยภาพในการให้ลูกผสมที่ดี สามารถนำไปผลิตเมล็ดพันธุ์การค้าได้

จากทฤษฏีสมรรถนะการผสม โครงการฯได้นำพันธุ์ปาล์มน้ำมันทั้ง 7 โคลนที่มีลักษณะเด่น มาผสมแบบพบกันหมด(diallel cross) ซึ่งหลังจากการผสมได้ลูกทั้งหมด 21 คู่ผสม ได้ปลูกทดสอบเพื่อประเมินสมรรถนะในการผสมของพ่อแม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยมีการวางแผนการปลูกทดสอบที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เลือกรูปแบบผังรวงผึ้ง ซึ่งช่วยลดความแปรปรวนของความไม่สม่ำเสมอของพื้นที่ปลูก และของสภาพแวดล้อมของหน่วยทดลอง(คู่ผสมที่เข้าทดสอบ) หลังจากดำเนินงานมากว่า 8 ปี ในปัจจุบัน โครงการปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทฯ สามารถคัดเลือกพ่อแม่ที่ให้ลูกผสมที่มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีเด่น มีผลผลิตและเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง ซึ่งเป็นความภูมิใจของบริษัทคือ ปาล์มน้ำมันลูกผสม CPI Hybrid (ภาพที่ 3)หลวในการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน(ภาพที่ 2)

 


(ภาพที่ 3 ขั้นตอนการทดสอบสมรรถนะการผสม)

3. การพัฒนาและคัดเลือกต้นพ่อและแม่พันธุ์ (Selection of Parental Lines)

หลังจากคัดเลือกได้พันธุ์พ่อแม่โดยดูจากสมรรถนะการผสมแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การคัดเลือกต้นพ่อและแม่พันธุ์ การคัดเลือกต้นพ่อแม่พันธุ์ก็ต้องมีการปลูกทดสอบความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม โดยดูจากความสามารถในการให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง การเจริญเติบโตที่ดี ไม่เป็นโรคและไม่อ่อนไหวรุนแรงต่อการขาดธาตุอาหาร ซึ่งเกณฑ์การคัดเลือกจะยึดถือตามกรมวิชาการเกษตร ดังนี้

3.1. เกณฑ์การคัดเลือกต้นแม่ ดูรา
– เปลือกนอก/ผล    มากกว่า        55 เปอร์เซ็นต์
– กะลา/ผล        น้อยกว่า    35 เปอร์เซ็นต์
– น้ำมัน/ทะลาย        มากกว่า        16 เปอร์เซ็นต์
– ผลผลิตทะลายสด       ไม่น้อยกว่า       110 กก./ต้น/ปี (สภาพแวดล้อมเหมาะสมปานกลาง)
– ผลผลิตทะลายสด      ไม่น้อยกว่า    150 กก./ต้น/ปี (สภาพแวดล้อมเหมาะสม)

3.2. เกณฑ์การคัดเลือกต้นพ่อ ฟิสิเฟอรา
– เป็นต้นฟิสิเฟอราที่ปกติ และสมบูรณ์แข็งแรง
– ไม่เป็นต้นที่มีลักษณะอาการผิดปกติ
– ไม่มีลักษณะอาการโรคใบบิดอย่างรุนแรง (Crown Disease)
– มีอัตราส่วนช่อดอกตัวเมียสูง
– ช่อดอกไม่เป็นดอกกระเทย
– มีลักษณะตรงตามพันธุ์
– ไม่มีลักษณะขาดธาตุอาหารอย่างรุนแรง

นอกจากนี้ ยังเพิ่มลักษณะของ สัดส่วนช่อดอกตัวเมีย ต่อช่อดอกทั้งหมด (sex ratio) ในการคัดเลือก เพราะสัดส่วนช่อดอกตัวเมียเป็นตัวบ่งบอกความสม่ำเสมอในการให้ผลผลิตของต้นพ่อแม่ โครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันของบริษัทฯยังคงดำเนินงานทดสอบความสามารถในการผสมพันธุ์ โดยนำสายพันธุ์ใหม่ๆเข้ามาทดสอบอย่างต่อเนื่อง

บริษัทฯ ยึดหลักวิชาการในทุกขั้นตอนของการคัดเลือกเชื้อพันธุกรรม การประเมินสมรรถนะการผสม และการคัดเลือกต้นพ่อแม่พันธุ์ โดยมี ศ.ดร. กฤษฎา สัมพันธารักษ์ เป็นผู้วางแผนงานควบคุมการดำเนินงานทุกขั้นตอน ในการปฏิบัติงาน บริษัทฯได้เคร่งครัดในด้านความถูกต้อง แม่นยำ และตรวจสอบได้ของขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อส่งต่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดีที่สุดให้ถึงมือเกษตรกร ดังคติพจน์ที่ว่า  “เราทุ่มเทหยาดเหงื่อ ทุกหยาดหยด เพื่อเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพแด่เกษตรกร”

 
 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน