ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, ปุุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน, ปุ๋ยเคมี, ปุ๋ยใส่ปาล์ม, ปุ๋ยปาล์มที่ดีที่สุด, ปุ๋ยใส่ปาล์มยี่ห้อไหนดี, ปาล์มน้ำมัน, ธาตุอาหาร, ปุ๋ยใส่ต้นปาล์ม, ปลูกปาล์ม, ปุ๋ยยูเรีย, ปุ๋ยสำเร็จรูป, ไนโตรเจน,ฟอสฟอรัส,โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, โบรอน, ทองแดง, สังกะสี, ปุ๋ยบำรุงปาล์ม, การให้ปุ๋ย, การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน

ปุ๋ยเคมี คือ ธาตุอาหารพืช ไม่ใช่สารพิษ ใช้ให้ครบชนิดและเพียงพอ ช่วยเพิ่มผลผลิตพืช

ปุ๋ยเคมี คือ ธาตุอาหารพืช ซึ่งพืชต้องการเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชมีอยู่ด้วยกัน 16 ธาตุ ได้มาจากน้ำและอากาศ 3 ชนิด และมีอยู่ในดิน 13 ธาตุ การใช่ปุ๋ยให้ครบชนิดตามที่พืชต้องการจึงเป็นการเพิ่มผลผลิตพืชที่ดีที่สุด

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในดินมีธาตุอาหารที่พืชต้องการเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านสาขาผลิดอกออกผล ถ้าเป็นดินที่บุกเบิกใหม่หรือผ่านการใช้ที่ดินทำการเกษตรได้ไม่นาน ธาตุอาหารในดินยังคงมีอยู่มาก พืชสามารถนำไปใช้ได้เพียงพอกับความต้องการ แต่ในกรณีพื้นที่ผ่านการทำการเกษตรต่อเนื่องมายาวนาน พืชจะดูดดึงธาตุอาหารออกไปจากดินอย่างถาวรโดยติดไปกับผลผลิตที่ถูกเก็บเกี่ยวออกไป

หากเกษตรกรขาดการปรับปรุงบำรุงดินและเติมธาตุอาหารในดินอย่างเหมาะสมเพื่อชดเชยส่วนที่ขาด ก็จะไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ปุ๋ยเคมีจึงเข้ามามีส่วนช่วยเติมธาตุอาหารที่ขาดในดิน

คำว่า “ปุ๋ยเคมี” หลายคนมองว่าเป็นสารเคมีที่มีความไม่ปลอดภัย ใช้แล้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้และผู้บริโภครวมถึงสิ่งแวดล้อม แต่ความเป็นจริงแล้ว ปุ๋ยเคมีผลิตจากหินและแร่ในธรรมชาติ แค่ธาตุในหินบางชนิดสามารถเป็นปุ๋ยเคมีให้พืชใช้โดยตรง เช่น หินฟอสเฟต ให้ธาตุฟอสฟอรัส (P) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนั้นส่วนใหญ่ต้องใช้กระบวนการทางเคมีสังเคราะห์ให้กลายเป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่ให้แร่ธาตุอาหารแก่พืช ซึ่งเมื่อใส่ลงไปในดินที่มีความชื้นเหมาะสม ปุ๋ยเคมีจะละลายให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ปุ๋ยเคมีบางชนิดก็สังเคราะห์จากสารอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46-0-0)

ใส่ปุ๋ยบนกองทางใบ, วิธีใส่ปุ๋ยปาล์ม, กองทางใบ
การใส่ปุ๋ยบนกองทางใบ

ปุ๋ยเคมี แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ ปุ่ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงประกอบ และปุ๋ยเชิงผสม ซึ่งปุ๋ยเชิงเดี่ยว คือ ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน (N) หรือฟอสฟอรัส (P) หรือ โพแทสเซียม (K) ธาตุใดธาตุหนึ่งเพียงธาตุเดียว ปุ๋ยเชิงประกอบ คือ ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป เกิดขึ้นจากกระบวนการทางเคมี ได้เป็นสารประกอบทางเคมี ส่วนปุ๋ยเชิงผสมคือ ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไปเช่นเดียวกัน แต่เกิดจากการนำปุ๋ยเชิงเดี่ยวหรือปุ๋ยเชิงประกอบ หรือเรียกอีกอย่างว่า แม่ปุ๋ย เช่น ยูเรีย (สูตร 46-0-0) ไดแอมโมเนียม ฟอสเฟต (สูตร 18-46-0) โพแทสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) มาผสมกัน เป็นปุ๋ยสูตรต่างๆ ทั้งในลักษณะเป็นปุ๋ยปั้นเม็ด หรือปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้าให้มีสัดส่วนของธาตุอาหาร N -P- K ตามที่ต้องการ
ปุ๋ยเคมี จำเป็นต่อการผลิตทางการเกษตรเพื่อการแข่งขัน (ยกเว้นการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์) เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพเพิ่มขึ้น แต่ถ้าใส่มากเกินไปก็เป็นการสิ้นเปลืองต้นทุน หรือใส่น้อยเกินไปก็ทำให้ดินเสื่อมโทรม ฉะนั้นสิ่งสำคัญของการใช้ปุ๋ยเคมีควรใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามความต้องการของพืช สอดคล้องกับช่วงเวลาที่พืชต้องการ และใส่ถูกวิธี เช่น ในพืชไร่ใส่ปุ๋ยเคมีแล้วต้องพรวนกลบเพื่อป้องกันการสูญเสีย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใส่อินทรียวัตถุ

กรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักถึงปัญหาต้นทุนการผลิตของเกษตรกรที่สูงขึ้นจากการใช้ปุ๋ยเคมีไม่ถูกต้อง จึงมีนโยบายส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยให้ถูกชนิด ถูกอัตรา ตรงความต้องการของพืช ลดผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยไม่ถูกต้อง โดยเกษตรกรสามารถส่งตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์ได้ที่ห้องปฏิบัติการหรือ ถ้าต้องการคำแนะนำการใช้ปุ๋ยเบื้องต้นที่เหมาะสมกับสภาพดินของตนเองและรวดเร็วใช้บริการได้ที่ศูนย์จัดการดินและปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) 882 ศูนย์ทั่วประเทศ โดยสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน

อนุรักษ์มวล, ใส่ปุ๋ย, สวนปาล์มน้ำมัน, ผลผลิตสูงขึ้น, ทะลายดก, ต้นปาล์มน้ำมัน, ต้นปาล์ม, วิธีใส่ปุ๋ย
ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น เพราะใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ตามหลักอนุรักษ์มวล

อย่างไรก็ตาม แม้ปุ๋ยเคมีจะมีข้อดี คือ มีปริมาณธาตุอาหารพืชสูง ใช้ปริมาณเล็กน้อยก็เพียงพอในการปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้รวดเร็ว พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวไปนานๆ ก็มีผลกระทบต่อดิน ทำให้ดินแข็งไม่ร่วนซุย เพราะปุ๋ยเคมีไม่ได้ช่วยเรื่องปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน หรือการใช้ปุ๋ยเคมีบางชนิดอย่างเดียวนานๆ อาจทำให้ดินเป็นกรด โดยเฉพาะปุ๋ยที่มีไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียเป็นองค์ประกอบ ดังนั้น นอกจากการใช้ปุ๋ยเคมีให้ถูกต้องเหมาะสม
จึงต้องปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

ควรใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และอาจรวมถึงปุ๋ยชีวภาพด้วย เนื่องจากปุ๋ยแต่ละประเภทมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน การใช้ร่วมกันจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้พืชดูดธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปได้มากขึ้น เพื่อสร้างสมดุลทางระบบนิเวศน์ ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น รวมทั้งรักษาทรัพยากรดินให้อุดมสมบูรณ์เพื่อการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

 

ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, ปุุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน, ปุ๋ยเคมี, ปุ๋ยใส่ปาล์ม, ปุ๋ยปาล์มที่ดีที่สุด, ปุ๋ยใส่ปาล์มยี่ห้อไหนดี, ปาล์มน้ำมัน, ธาตุอาหาร, ปุ๋ยใส่ต้นปาล์ม, ปลูกปาล์ม, ปุ๋ยยูเรีย, ปุ๋ยสำเร็จรูป, ไนโตรเจน,ฟอสฟอรัส,โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, โบรอน, ทองแดง, สังกะสี, ปุ๋ยบำรุงปาล์ม, การให้ปุ๋ย, การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน

อ่านบทความ: สูตรใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน และการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตสูง และลดต้นทุน


อ้างอิง :
ryt9.com

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน