ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ทุกรอบผลิต เพื่อรับการช่วยเหลือและสิทธิประโยชน์ต่างๆ กรณีไม่แจ้งปรับปรุงข้อมูลครบ 3 ปีจะสิ้นสถานภาพ

ทะเบียนเกษตรกร คือข้อมูลของครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตรที่แสดงถึงสถานภาพและการประกอบอาชีพการเกษตรของครัวเรือน เกษตรกรที่มีทะเบียนเกษตรกร สามารถเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือของรัฐบาล ได้รับความช่วยเหลือกรณีแปลงปลูกพืชเสียหายจากการประสบภัยพิบัติด้านพืช ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และได้รับสิทธิต่างๆ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร กับ กรมส่งเสริมการเกษตร

สำหรับ
✔️ เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม
✔️ เกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่
✔️ เกษตรกรรายใหม่

ขึ้นทะเบียนเกษตรกร, ทะเบียนเกษตรกร, กรมส่งเสริมการเกษตร
หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร กับ กรมส่งเสริมการเกษตร

 

ขึ้นทะเบียนเกษตรกร, ทะเบียนเกษตรกร, กรมส่งเสริมการเกษตร, doae farmbookเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ต้องปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรทุกครั้ง เมื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ หลังการเพาะปลูก 15-60 วัน สามารถปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ตลอดปี ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของ แต่ละชนิดพืช

หากเป็นเกษตรกรรายเดิมที่ต้องการเพิ่มแปลงใหม่ จำเป็นต้องติดต่อขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่สำนักงานเกษตรอำเภอ แต่ถ้าเป็นเกษตรกรรายเดิมที่ใช้แปลงเดิม ติดต่อปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน  นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถขึ้นทะเบียนผ่านมือถือด้วยแอพพลิเคชั่น  DOAE Farmbook  ที่กรมส่งเสริมการเกษตรพัฒนาขึ้นในระบบปฏิบัติการ IOS และ Android เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรแจ้งปรับปรุงข้อมูลในทะเบียนได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ทั้งยังเป็นช่องทางรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ รวมถึงใช้ตรวจสอบสิทธิ์เกษตรกรที่จะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการแก้ปัญหาของภาครัฐ

ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป เกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้แล้ว หากไม่ไปแจ้งปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรติดต่อกัน 3 ปี ก็จะสิ้นสภาพการเป็นเกษตรกร ซึ่งจะทำให้เสียโอกาสที่จะได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการ รวมถึงการขอรับการสนับสนุน ช่วยเหลือตามมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ
ซึ่งปัจจุบันมีถึง 896,871 ครัวเรือน ที่ยังไม่มาปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร หากครบกำหนดแล้ว เกษตรกรที่ยังไม่ได้ปรับปรุงข้อมูลเกษตรกร 896,871 ครัวเรือน จะสิ้นสถานภาพเป็นเกษตรกรทันที ทำให้ไม่ได้รับสิทธิ์จากโครงการของรัฐบาล

ขึ้นทะเบียนเกษตรกร, ทะเบียนเกษตรกร, กรมส่งเสริมการเกษตร, doae farmbook

เกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ หรือเกษตรกรรายใหม่ สามารถขึ้น ทะเบียนเกษตรกร ได้ดังนี้

  1. ยื่นเอกสารที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงที่ทำกิจกรรมการเกษตรอยู่ หากมีแปลงที่ทำกิจกรรมการเกษตรหลายพื้นที่ หลายอำเภอ ให้ยื่นที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงหลัก (อำเภอที่มีจำนวนแปลงมากที่สุด)
  2. กรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต (Tablet) หรือสมาร์ทโฟน(SmartPhone) ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่าน แอพพลิเคชั่น  DOAE Farmbook

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน ในเวลาทำการตั้งแต่ วันจันทร์-วันศุกร์  เวลา 08.30-16.30 น.

วิธีใช้ แอป DOAE FARMBOOK

ดาวน์โหลด..คู่มือการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร

ขึ้นทะเบียนเกษตรกร
ดาวน์โหลด..คู่มือการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร

 

ดาวน์โหลด..แบบคําร้องทะเบียนเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สําหรับครัวเรือนเกษตรกร)

ขึ้นทะเบียนเกษตรกร
แบบคําร้องทะเบียนเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สําหรับครัวเรือนเกษตรกร)

 

กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะหน่วยงานรับขึ้นทะเบียน กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียน ดังนี้

  1. เกษตรกร หมายถึง บุคคลธรรมดาที่ประกอบการเกษตร หรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการเกษตร และได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนตามระเบียบฯ
  2. ครัวเรือน หมายถึง บุคคลเดียว หรือหลายคนที่อาศัยอยู่ในบ้านหรือสถานที่อยู่เดียวกัน และจัดหาหรือใช้สิ่งอุปโภคบริโภคอันจำเป็นแก่การครองชีพร่วมกัน ในฐานทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อถูกนําไปใช้เพื่อให้ความช่วยเหลือตามมาตรการภาครัฐต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นมา กำหนดให้ 1 ทะเบียนบ้าน เท่ากับ 1 ครัวเรือน
  3. ครัวเรือนเกษตร หมายถึง บุคคลในครัวเรือนคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนที่ประกอบการเกษตร
  4. ประกอบการเกษตร หมายถึง การปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้ การทํานาเกลือสมุทร การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ และเกษตรอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภคหรือจำหน่ายหรือใช้งานในฟาร์ม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ดังต่อไปนี้
    การทํานาหรือทําไร่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ รวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่ขึ้นไป
    การปลูกผัก หรือการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หรือ การเพาะเห็ด หรือการปลูกพืชอาหารสัตว์ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งงานขึ้นไป
    การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น หรือการปลูกสวนป่า หรือปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่และมีจําานวนต้นตั้งแต่สิบห้าต้นขึ้นไป
    การปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่ และมีจํานวนต้นตั้งแต่สิบห้าต้นขึ้นไป
    การเลี้ยงแม่โคนม ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป
    การเลี้ยงโค หรือกระบือ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป
    การเลี้ยงสุกร แพะ หรือแกะ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่ห้าตัวขึ้นไป
    การเลี้ยงสัตว์ปีก ตั้งแต่ห้าสิบตัวขึ้นไป
    การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
    การทํานาเกลือสมุทร บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่ขึ้นไป
    การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน
    การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่นๆ หมายความว่า การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ชันโรง ครั่ง จิ้งหรีด ด้วงสาคู ไส้เดือนดิน ชีวภัณฑ์ และอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน
    ประกอบการเกษตร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ ที่กําหนดตาม 1) ถึง 12) และมีรายได้ตั้งแต่แปดพันบาทต่อปีขึ้นไป
  5. นิติบุคคล หมายถึง นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการเกษตรและได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วตามระเบียบ
  6. ผู้ขอขึ้นทะเบียน หมายถึง
    บุคคลธรรมดา ซึ่งประกอบการเกษตรและเป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรในนามครัวเรือน
    บุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจของนิติบุคคลให้เป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรในนามนิติบุคคลครัวเรือนเกษตรกรหรือนิติบุคคลหนึ่งให้มีผู้ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้หนึ่งคนเท่านั้น
  7. หน่วยงานรับขึ้นทะเบียน หมายถึง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมายจากนายทะเบียนให้ดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามระเบียบฯ
  8. ผู้รับขึ้นทะเบียน หมายถึง เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายทะเบียนหรือผู้ช่วยนายทะเบียนแล้วแต่กรณี ให้ทําาหน้าที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามระเบียบฯ
  9. แบบคําร้อง หมายถึง เอกสารที่นายทะเบียนกําาหนดขึ้นสําาหรับใช้บันทึกข้อมูลเกษตรกรเพื่อเป็นหลักฐานการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตามระเบียบฯ

 


อ้างอิง :
หนังสือพิมพ์แนวหน้า (naewna.com)
Facebook ประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน