ดินเป็นกรด แก้ไขอย่างไร???

ดินเป็นกรด แก้ไขอย่างไร?….ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจ “ดิน” ก่อน ดิน คือ วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของดิน และแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่ห่องหุ้มโลก ดินทำให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำตันของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคงแข็งแรง เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของพืช และเป็นแหล่งที่กักเก็บน้ำ ความชื้น และเป็นแหล่งที่ให้อากาศในดินที่รากพืชใช้ในการหายใจ เบื้องต้น “ดิน” ถูกแบ่งตามอนุภาคของดินเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ ดินเหนียว ดินร่วน และดินทราย

ความเป็นกรด-ด่างของดิน คืออะไร?

ดิน, ปลูกปาล์มน้ำมัน, ประเภทของดิน

  • กรด หมายถึง สารประกอบที่มีไฮโดรเจนประกอบอยู่เมื่อละลายน้ำก็จะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไออน (H+) (กรดในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำอัดลม)
  • ด่าง หมายถึง สารประกอบจำพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไลด์ ซึ่งละลายน้ำจะแตกตัว ให้ไฮดรอกไซด์ไออน (OH-) เสมอ มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่ (ด่างในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำขี้เถ้า น้ำยาล้างจาน สบู่ แชมพู ผงฟู ผงซักฟอก)
  • ดินกรด หรือ ดินเปรี้ยว หรือดินเปรี้ยวจัด หรือacid soil หมายถึง ดินที่มีระดับ pH ต่ำกว่า 7 มีวิธีการแก้ไขดินกรดโดยเติมปูนขาว หินปูนบด หรือ ใส่น้ำท่วมขังบริเวณที่เป็นกรด
  • ดินด่าง หมายถึง ดินที่มีระดับ pH สูงกว่า 7 มีวิธีการแก้ไขดินด่างโดยเติมอินทรีย์วัตถุหรือปลูกพืชบำรุงดิน

ระดับความรุนแรงกรด-ด่างของดิน

ความเป็นกรด-ด่างของดิน, กรด-ด่าง, ดิน, ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน
ระดับความรุนแรงกรด-ด่างของดิน

การวัดความเป็นกรด-ด่างของดิน

เก็บตัวอย่างดิน, ปาล์มน้ำมัน, วิเคราะห์ดิน
การวัดด้วยน้ำยาเปลี่ยนสี (Indicator) น้ำยาเปลี่ยนสีจะเปลี่ยนสีไปตาม pH ของดินที่เปลี่ยนไป

วิธีที่นิยมมี 2 วิธีคือ

  • วัดด้วยเครื่องวัดทีเรียกว่า pH Meter หลักการ คือ เปรียบเทียบค่าความต่างศักย์ระหว่าง glass electrode กับ reference electrode ค่าความต่างศักย์ที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นหน่วย pH
  • การวัดด้วยน้ำยาเปลี่ยนสี (Indicator) น้ำยาเปลี่ยนสีจะเปลี่ยนสีไปตาม pH ของดินที่เปลี่ยนไป เช่น ชุดตรวจวิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่างของดิน ของภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(หน่วยงานที่ให้บริการวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน แบบมีค่าใช้จ่าย :
ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร (ฝทก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โทร. 02-577-9280 ถึง 1)

ดินที่เป็นกรดจัด มีผลเสียอย่างไร?

ดินกรด หรือ ดินเปรี้ยว จัดอยู่ในประเภทดินที่มีปัญหาทางด้านการเกษตร คือ เป็นดินที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก คือดินที่มีกรดกำมะถันมากพอที่จะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติในดิน และส่งผลต่อพืชในบริเวณนั้น พืชจึงไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติได้

ดินกรด หรือ ดินเปรี้ยว จึงมีผลเสียต่อพืชดังนี้

  • ธาตุบางอย่างจะละลายน้ำในดิน (ที่มีสภาพเป็นกรด) ได้ดีขึ้น ทำให้พืชดูดธาตุนี้เข้าไปในราก-ต้น จนทำให้เกิดเป็นพิษต่อพืช โดยเฉพาะ
    – อลูมิเนียม จะทำให้รากพืชถูกทำลาย/ไม่เจริญเติบโต
    – แมงกานีส ใบมีจุดสีเหลือง-น้ำตาล
  • ในขณะเดียวกัน ทำให้ธาตุอาหารบางอย่างละลายน้ำในดินได้น้อยลงหรือถูกชะล้างไป เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม (ดูแผนภูมิด้านล่าง)
  • จุลินทรีย์ดิน ที่ชอบหรือทนสภาพความเป็นกรดจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่วนจุลินทรีย์ที่ไม่ทนกรดจะลดจำนวน-ตาย (ไรโซเบียม ที่ตรึงไนโตรเจน โดยเกิดเป็นปมที่รากของพืชตระกูลถั่ว)

 

ดินเป็นกรด แก้ไขอย่างไร???

ควรใช้หลายมาตรการประกอบกัน คือ

  • ใช้โดโลไมท์ เพื่อลดความเป็นกรดในดิน เป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรง และถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน

  • ลดการใช้ปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน

  • ระบายน้ำที่มีความเป็นกรดสูงออกจากแปลง แล้วขังน้ำใหม่ ที่มีสภาพความเป็นกรดน้อยกว่าแทน

  • ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์

  • ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เมื่อล้างดินกรดให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมินั่มที่เป็นพิษเจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตก็สามารถให้ผลผลิตได้

 

ซีพีไอ พลัส โดโลไมท์ 300

โดโลไมท์, dolomite, ปรับสภาพดิน, แก้ดินกรด, โดโลไมต์, โดโลไมท์ ซีพีไอ พลัส, ปูนโดโลไมท์ สำหรับปาล์มน้ำมัน, แคลเซียม, แมกนีเซียม, ดินกรด, แก้ดินกรด, ค่ากรด-ด่าง ในดิน

ประโยชน์ ซีพีไอ พลัส โดโลไมท์ 300

  • ใช้ปรับสภาพดินในการปลูกพืช ช่วยปรับค่ากรด-ด่างของดิน
  • ให้ธาตุอาหารแก่พืช แก้ปัญหาการขาดธาตุอาหาร แคลเซียม และแมกนีเซียม ในดิน
  • ใช้ปรับสภาพดินและนำ้ในบ่อกุ้ง
  • ปลดปล่อยช้า และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหาร ช่วยลดการสูญเสีย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยมากขึ้น
  • แก้ปัญหาสภาพดิน ช่วยลดค่าความเป็นกรด(ดินเปรี้ยว) รักษาอาการดินเสีย ดินพรุ ดินดาน ดินเสื่อมโทรม และดินที่ใช้ทำการเกษตรมาเป็นเวลานานๆ ปรับสภาพดินให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์
  • เพิ่มค่าการดูดซับ และความสามารถการแลกเปลี่ยน CEC ของดิน

ข้อแนะนำการใช้ ซีพีไอ พลัส โดโลไมท์ 300

ไม่ควรใส่ “ซีพีไอ พลัส โดโลไมท์ 300“ พร้อมกับปุ๋ยอื่นๆ เนื่องจากโดโลไมท์มีระดับความเป็นด่างสูง หากใส่โดโลไมท์ร่วมกับแม่ปุ๋ยอื่นๆ จะทำให้ปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน เมื่อสัมผัสกับโดโลไมท์โดยตรง มีโอกาสที่สารประกอบไนโตรเจนถูกเปลี่ยนเป็นแก๊สแอมโมเนีย ระเหยสูญเสียจากดินได้ จึงเป็นข้อแนะนำว่าการใสโดโลไมท์ให้โรยเป็นทางด้านหนึ่ง แต่การใส่ปุ๋ยตัวอื่นๆให้ใส่บนกองทางใบโดยไม่ให้ทับลงบนโดโลไมท์โดยตรง

 


อ้างอิง :
tistr.or.th
wikipedia.org
web.ku.ac.th/

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน