ภัยจาก 2 เชื้อโรคพืช คู่แฝดตัวร้ายทำลายต้นปาล์ม

โรคปาล์ม

2 เชื้อโรคพืช คู่แฝดตัวร้ายทำลายต้นปาล์ม

ต้นปาล์มน้ำมันที่ทางใบเหลืองแห้งหักพับ แสดงอาการเหมือนการขาดธาตุอาหารหรือใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอ ในข้อเท็จจริงแล้วอาจเกิดจากเชื้อโรคพืช 2 ชนิด ที่เข้าทำลาย เรียกว่าเป็นเชื้อโรคคู่แฝด คือ ตัวแรกจะเข้าทำลายที่ยอดของต้นปาล์ม คือ เชื้อ Phellinus noxius (เฟลลินัส นอเซียส) และตัวที่ 2 จะเข้าทำลายที่บริเวณรากและโคนต้นของต้นปาล์ม คือ เชื้อ Ganoderma spp. (กาโนเดอร์มา)

วิธีการป้องกันต้องทำแบบองค์รวม คือ การบำรุงรักษาต้นปาล์มให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ได้แก่ การใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบถ้วนตามที่ปาล์มต้องการ คือธาตุอาหารพืชชนิดต่างๆ ที่จำเป็น 13 ชนิด การตัดแต่งทางใบเพื่อให้แสงแดดเข้าสู่สวนปาล์มได้มากขึ้น ลดการสะสมความชื้นมากเกินไปที่จะเอื้อให้โรคพืชเติบโตได้ดี

ในบทความก่อนหน้านี้ ซีพีไอได้มีการให้ข้อมูลเกี่ยวโรคลำต้นเน่าที่เกิดจากเชื้อ กาโนเดอร์มา ไปแล้ว วันนี้จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคลำต้นส่วนบนเน่าที่เกิดจากเชื้อ เฟลลินัส มาให้เกษตรกรเจ้าของสวนปาล์มรับทราบ ให้ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค ช่วยกันสังเกตเพื่อจะป้องกันได้ทัน

โรคลำต้นส่วนบนเน่าของปาล์มน้ำมัน (Upper Stem Rot)

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อรา Phellinus noxius (เฟลลินัส นอเซียส)

 

ลักษณะของเชื้อโรคพืช

เป็นเชื้อที่เกิดกับพืชในเขตร้อนชื้น มีรายงานครั้งแรกว่าทำให้เกิดโรครากน้ำตาลกับต้นไม้ที่ประเทศสิงคโปร์ เชื้อชนิดนี้สามารถทนอุณหภูมิได้ในช่วง 10 ถึง 35 องศาเซลเซียส และทนต่อค่ากรด-ด่าง ได้ในช่วง 3.1 ถึง 7.5 จึงทำให้เชื้อมีชีวิตอยู่ในพืชที่เป็นแหล่งอาศัยได้นานหลายปี พืชอาศัยที่เป็นแหล่งให้เชื้อเติบโตได้ เช่น มะฮอกกะนี สัก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ ชา และโกโก้ เป็นต้น

เชื้อ เฟลลินัส นอเซียส ในอาหารเลี้ยงเชื้อ

ลักษณะอาการ

ลำต้นของปาล์มน้ำมันหักพับลงตรงจุดใดจุดหนึ่งของลำต้น และพบดอกเห็ดสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร บางครั้งต้นปาล์มน้ำมันอาจจะหักพับโดยไม่สร้างดอกเห็ดที่โคนต้น แต่จะมีดอกเห็ดบนต้นที่ตายแล้วในภายหลัง ในกรณีที่พบดอกเห็ดที่โคนต้นเชื้อสาเหตุอาจเข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมันทางซอกทางใบ และขยายตัวเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของลำต้นทำให้เกิดการขัดขวางการขนส่งน้ำและอาหารที่จะส่งไปที่ใบ ทำให้ใบมีสีเหลืองซีด ทางใบที่สร้างใหม่มีขนาดเล็กลงและมีจำนวนน้อยลงกว่าปกติ เมื่อแผลภายในลำต้นขยายตัวมากขึ้น ทางใบแก่จะทิ้งตัวหักพับและห้อยขนานกับลำต้น ซึ่งเป็นลักษณะอาการที่คล้ายกับอาการของโรคลำต้นเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Ganoderma spp.

เมื่อผ่าดูภายในลำต้นจะพบเนื้อเยื่อถูกทำลายไปได้ถึง 60 – 80 % แผลในลำต้นจะเน่าเริ่มจากบริเวณกาบทางใบ แผลมีสีน้ำตาล ส่วนใหญ่พบเส้นใยสีขาวของเชื้อราบริเวณขอบแผล เชื้อราโรคพืชจะทำลายส่วนของลำต้นของปาล์มน้ำมันแต่ไม่ลุกลามไปถึงส่วนของราก เชื้อราสาเหตุสามารถเข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมันได้หลายจุดโดยรอบลำต้นเมื่อแผลภายในลำต้นขยายตัวมาชนกันจึงทำให้ลำต้นหักพับ

ลักษณะของต้นปาล์มน้ำมันที่เป็น โรคลำต้นส่วนบนเน่า

การแพร่ระบาด

เชื้อสาเหตุแพร่กระจายไปตามลม

ไตรโคเดอร์มา, โรคทุเรียน, โรคปาล์ม, โรคโคนรากเน่า, โรคพริก, โรคมะละกอ
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ซีพีไอ พลัส
วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช
(ชนิดน้ำเข้มข้น สายพันธุ์คุณภาพคัดพิเศษ)

การป้องกันกำจัด

  1. บำรุงรักษาต้นปาล์มให้แข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ยให้ครบชนิดและปริมาณที่เพียงพอ
  2. ตัดแต่งทางใบแก่ด้านล่าง โดยตัดทางใบให้เหลือตอทางสั้นเท่าที่จะทำได้ จะช่วยลดการเกิดโรคเนื่องจากซากของตอทางที่เหลือ มีความชื้นสูงเหมาะที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อสาเหตุ
  3. ตัดส่วนที่เป็นโรคออกในระยะแรกก่อนการสร้างดอกเห็ด หลังจากตัดส่วนที่เป็นโรคออกแล้ว ให้พ่นด้วยสาร tridemorph (1 % Calixin) เพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นเข้าทำลายซ้ำเติม และติดตามผลหลังจากตัดส่วนที่เป็นโรคออกทุกๆ 6 เดือน
  4. ตรวจสอบต้นที่เป็นโรค โดยใช้ไม้เคาะลำต้นปาล์มน้ำมันเพื่อฟังเสียงในบริเวณที่ถูกเชื้อโรคทำลาย และสังเกตพืชที่อาศัยอยู่บนต้นปาล์มน้ำมัน เช่น เฟิร์นถ้ามีลักษณะสมบูรณ์ใบมีสีเขียวเข้ม จะเป็นลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าได้รับอาหารอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากลำต้นส่วนที่เน่าจะเป็นแหล่งอาหารอย่างดีของเฟิร์น เพราะเชื้อสาเหตุได้ทำลายย่อยสลายเนื้อเยื่อของลำต้นปาล์มน้ำมันไปบ้างแล้ว ทำให้เป็นแปลงที่อุดมสมบูรณ์ของพืชที่อาศัยบนต้นปาล์มน้ำมัน
  5. ขุดต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรค และเผาทำลายชิ้นส่วนให้หมด ถ้าหากทิ้งต้นที่เป็นโรคไว้ในแปลงจะเป็นแหล่งของเชื้อราโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อ Ganoderma spp. สาเหตุของโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน จะตามเข้ามาทำลายต้นปาล์มต่อ
  6. การป้องกันแบบชีวภาพ โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในการฉีดพ่นหรือรดต้นพืช เพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์

 


อ้างอิง :
http://jaowoffice.weebly.com/blog/upper-stem-rot
https://projects.ncsu.edu/cals/course/pp728/Phellinus/Phellinus_noxius.html
– ขอขอบคุณภาพประกอบจากเกษตรกร

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน