โรคโคนรากเน่า..ภัยร้ายของปาล์มน้ำมัน..เกษตรกรควรเฝ้าระวัง!!
เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคโคนรากเน่า (basal stem rot) มีหลายสายพันธุ์ตามธรรมชาติ เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับปาล์มน้ำมัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ganoderma boninense เชื้อราชนิดนี้จะกระจายตัวอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน รวมทั้งออสเตรเลียและซามัว พืชที่เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อนี้ ได้แก่ พืชสกุลถ่อน (Albizia) หมากสง (betel nut) สนทะเล (Casuarina) พืชสกุลค้อ (Livistona) มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และพืชสกุลปาล์ม

อาการของโรคและวงชีวิต
ใบของต้นปาล์มด้านล่างจะเหลือง หรือใบยอดมีจุดสีเหลืองปนเขียว ใบยอดอ่อนตัวลงและเริ่มเน่า
ใบที่ยังไม่คลี่ เริ่มมีสีเหลืองมากกว่าใบปกติ และบางครั้งเน่าที่ปลายยอด ต่อมาต้นจะโตช้า ใบยอดไม่คลี่ออก ใบซีด และรากที่อยู่บริเวณโคนต้นจะเริ่มแห้งและเน่า

- ปาล์มเล็ก (อายุ 1-6 ปี) จะตายภายใน 6-12 เดือน หลังแสดงอาการ
- ปาล์มโต (อายุ 6 ปี ขึ้นไป) อาจจะอยู่ได้ 2-3 ปี
ดอกเห็ดกาโนเดอร์มาจะอยู่ตามลำต้นของปาล์ม ทั้งปาล์มที่ยังมีชีวิตอยู่และต้นปาล์มที่สับล้ม (replant) ไปแล้ว พบว่าดอกเห็ดที่โตเต็มที่จะมีสีน้ำตาลขนาดกว้างมากกว่า 6 ซม. ขึ้นไป

วงชีวิตของเชื้อกาโนเดอร์มายังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน เช่น คำถามที่ว่า ต้นปาล์มถูกเชื้อเข้าทำลายเมื่อไหร่? ตอนไหน? มีการติดต่อของเชื้อผ่านรากของต้นหนึ่งไปยังรากของอีกต้นหรือไม่? สปอร์ถูกสร้างในดอกเห็ดหรือไม่? คำถามเหล่านี้ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด
เชื้อกาโนเดอร์มา เข้าทำลายต้นมะพร้าวมากที่สุด รองลงมาคือ ปาล์มน้ำมัน ต้นไม้ในป่า (forest) และยางพารา
ข้อสันนิษฐานการเกิดโรค
- การปลูกพืชทดแทน (replanting) ในพื้นที่เดิม เช่น ล้มมะพร้าวปลูกปาล์ม ล้มยางปลูกปาล์ม ล้มปาล์มปลูกไม้ผล โดยไม่กำจัดตอเก่าของพืชเดิมให้หมดก่อน
- ต้นพืชอ่อนแอ เช่น ได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ ได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง
- สภาพของดินไม่เหมาะสม เช่น เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป
- อินทรียวัตุในดินมีน้อย ทำให้ดินดูดซับธาตุอาหารไว้ได้น้อย ระบบรากจึงเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ลักษณะของต้นปาล์มที่ติดเชื้อกาโนเดอร์มา
- ทางใบล่างหักพับ
- ทางใบยอดที่ไม่คลี่มีจำนวนมาก
- ใบปาล์มสีเหลือง ลักษณะเหมือขาดธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม
- เนื้อเยื่อบริเวณโคนต้นถูกทำลาย
- มีเชื้อเห็ดกาโนเดอร์มา งอกออกมาจากโคนต้น

การระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มา
สถานการณ์เชื้อกาโนเดอร์มาในอินโดนีเซียและมาเลเซีย ถือว่ารุนแรง มีรายงานว่าต้นปาล์มที่ติดเชื้อในประเทศปาปัวนิวกินีไม่มีทางรักษา โรคนี้เจอครั้งแรกในมาเลเซีย เมื่อปี 1920 (พ.ศ. 2463) กับต้นปาล์มอายุ 30 ปี และในปี 1950 (พ.ศ. 2493) พบในต้นปาล์มอายุ 10-15 ปี แสดงว่ามีเชื้อมีการเพิ่มขึ้น 30% ที่อินโดนีเซีย ต้นปาล์มที่อายุ 25 ปี ถูกปลูกใหม่ทดแทน (replanting) พร้อมกับการแสดงอาการเกิดโรค เหตุการนี้เกิดคล้ายกับที่ประเทศอื่นๆ สวนปาล์มที่เป็นโรคโรครากเน่าจากเชื้อรากาโนเดอร์มาที่ระดับ 20% ของพื้นที่ปลูก ยังถือว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ถ้าสูงกว่านี้จะไม่คุ้มทุน

การจัดการเชื้อกาโนเดอร์มา

วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช
(ชนิดน้ำเข้มข้น สายพันธุ์คุณภาพคัดพิเศษ)
ก่อนปลูก
- ควรจำกัดตอเก่าของพืชเดิมทิ้ง เพราะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีข้อสัณนิฐานว่าเกิดจากการติดต่อผ่านรากสู่รากมากกว่าสปอร์ แต่ต้นทุนการขุดตอจะสูง
- ขุดหลุมขนาด 1.5×1.5 ม. ความลึก 60 ซม. เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน และทำลายเศษซากต้นปาล์มเก่าที่อยู่ในบริเวณนั้นให้หมด
- ย่อยสลายเศษซากต้นปาล์มเก่าไว้เป็นแถว ให้ห่างจากต้นที่ปลูกใหม่ อย่างน้อย 2 เมตร
- ไถพรวนดินให้ความลึก 60 ซม. แล้วคราดเอารากปาล์มเก่าออกให้หมด
- ปลูกพืชคลุมดินเพื่อเร่งการย่อยสลายเศษซากต้นปาล์มเก่าและช่วยในการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชด้วย
หลังปลูก
- ใช้ดินพูนรอบโคนต้นของต้นปาล์มที่เป็นโรคเพื่อให้เกิดรากใหม่ ทำเช่นนี้กับต้นปาล์มติดเชื้อที่อายุมากว่า 15 ปี
- การขุดร่องเพื่อลดการติดต่อระหว่างราก ของต้นที่เกิดโรคและต้นปกติ วิธีการนี้เคยทำในอดีตแต่ไม่แนะนำเพราะใช้แรงงานมากและจัดการยาก
- เผาทำลายเศษซากต้นที่เป็นโรคทิ้งให้หมด
- ฆ่าเชื้อในดินบริเวณที่เป็นด้วยปูนขาว
- ฉีด/รด ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มารอบโคนต้นพืช
- เพิ่มอินทรียวัตถุในสวน วางกองทาง ทะลายเปล่า ปลูกถั่วคลุมดิน
- ปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรด
- ใส่ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของจุลธาตุ เช่น สังกะสี

อ่านบทความ: โรคลำต้นเน่าของต้นปาล์มน้ำมันป้องกันอย่างไร?
อ่านบทความ: ไตรโคเดอร์มา เชื้อรามหัศจรรย์!!
อ้างอิง :
– บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)
– Flood J, Cooper R, Rees R, Potter U, Hassan Y. Some Latest R&D on Ganoderma Diseases in Oil Palm.
– Russell R, Paterson, M. (2019) Ganoderma boninse Disease of Oil Palm tp Significantly Reduce Production After 2050 in Sumatra if Projected Climate Change Occurs. Microorganism 7, 1-8.
แชร์บทความนี้