ปลูกพืชคลุมดิน ในสวนปาล์ม..มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

ถั่วลาย, พืชคลุมดิน, การดูแลสวนปาล์ม, , การดูแลสวนปาล์มน้ำมัน, ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์ม
พืชคลุมดินตระกูลถั่ว “คาโลโปโกเนียม” สามารถปลูกในสวนปาล์มได้เป็นอย่างดี

ปลูกพืชคลุมดิน เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่ามีประโยชน์ต่อการเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ พืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยป้องกันการชะล้างพังทะลายของหน้าดิน ช่วยรักษาความชื้นในดิน และเมื่อพืชตระกูลถั่วมีการสลายตัวเศษซากต่างๆจะกลายเป็นอินทรียวัตถุชั้นดี ที่ช่วยเพิ่มไนโตรเจนให้กับดินทำให้ดินร่วยซุย ระบายน้ำได้ดี และยังสามารถควบคุมวัชพืชในแปลงได้อีกด้วย

ประโยชน์จากการปลูกพืชคลุมดิน

  1. เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เมื่อเศษกิ่งใบของพืชคลุมดินนั้นร่วงหล่นทับถมบนผิวดิน ในที่สุดจะผุพังรวมตัวกับดินซึ่งจะเป็นแหล่งอาหารของต้นไม้ต่อไป นอกจากนี้จะช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี ทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์ต่อพืช และเพิ่มจำนวนไส้เดือน และจุลินทรีย์ในดิน
  2. ป้องกันการชะล้างของหน้าดิน พืชคลุมดินนั้นจะส่งรากลงไปในดิน และยึดเม็ดดินไว้ ทำให้ผิวดินไม่ถูกเซาะได้ง่าย เมื่อมีน้ำไหลแรง หรือฝนตกหนัก การทำสวนบนเนินลาดจึงจำเป็นต้องปลูกพืชคลุมดิน โดยปลูกพืชคลุมดินไว้ตามขั้นบันไดที่ทำไว้ จะช่วยยับยั้งความแรงของกระแสน้ำที่ไหลลงได้ จึงเป็นการป้องกันการพังทลายของดิน นอกจากนี้ใบหรือเถาพืชคลุมดินที่เจริญอย่างหนาแน่น จะช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดฝนที่มีขนาดโตๆ กระทบผิวดินโดยตรง อันจะเป็นการลดการชะล้างหน้าดินอีกทางหนึ่งด้วย
  3. ทำให้โครงสร้าง และสภาพของดินดีขึ้น ดินที่มีพืชคลุมดินขึ้นอยู่จะไม่เกาะกันแน่นเหมือนดินที่ไม่มีพืชขึ้นเลย ถ้าเราเลือกพืชคลุมดินที่มีรากชอนไชไปในดิน และเป็นพืชที่ให้อินทรียวัตถุมาก จะทำให้ดินบริเวณนั้นร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้สะดวก และอุ้มน้ำได้ดี ก็จะทำให้ดินมีโครงสร้างเหมาะแก่การเจริญเติบโตของไม้ผล อินทรียวัตถุจากพืชคลุมดิน จะช่วยทำให้เม็ดดินเหนียวติดกันเป็นก้อนๆ มีขนาดโตกว่าปกติ ทำให้ดินร่วนขึ้น ทั้งนี้เพราะสารที่มีลักษณะคล้ายวุ้นในอินทรียวัตถุจะมาเคลือบเม็ดดินเหนียวซึ่งมีขนาดเล็กมาก ให้เป็นก้อนโตขึ้น นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยทำให้เม็ดทรายในดินทรายให้ติดกันแน่น ทำให้เหนียวขึ้นกว่าเดิม เมื่อรวมกับซากพืชเข้าแล้ว ดินทรายก็จะอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
  4. ช่วยเก็บความชื้นให้กับดิน การปล่อยให้พืชคลุมดินคลุมตามผิวดิน โดยเฉพาะพืชคลุมดินที่ปลูกในดินที่พรวนแล้วอย่างดี หลังจากฝนตกใหญ่ครั้งสุดท้ายจะช่วยให้ดินเก็บน้ำได้ดีขึ้น และช่วยลดการระเหยของน้ำ เพราะพืชคลุมดินจะช่วยบังแสงแดดไม่ให้โดนผิวดินโดยตรง นอกจากนี้อินทรียวัตถุที่หล่นปกคลุมผิวดิน จะเป็นวัตถุคลุมดินที่ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำเป็นอย่างดี พืชคลุมดินจะช่วยดูดเอาน้ำที่จะไหลผ่านลงไปสู่ดินชั้นล่างไว้ แทนที่จะปล่อยให้สูญไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงทำให้ผิวดินชื้นอยู่เสมอ
  5. ช่วยกำจัดวัชพืช พืชคลุมดินส่วนมาก จะมีใบเป็นจำนวนมาก และหล่นทับถมบนผิวดินจนแสงสว่างส่องไม่ถึงผิวดิน เมื่อเป็นเช่นนี้วัชพืช ก็ไม่มีโอกาสงอกได้ แม้แต่วัชพืชที่ตั้งตัวได้แล้ว เช่น หญ้าคา ถ้าเราปลูกพืชคลุม เช่น ถั่วลายขึ้นคลุมดินจะทำให้หญ้าคาตายได้ เพราะถูกบังแสงแดด จนมีไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

วิธีการปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว

สามารถปลูกได้โดยใช้เมล็ด ซึ่งมีวิธีปลูกอยู่ 2 วิธี คือ

  1. ปลูกพืชคลุมดินพร้อมปลูกต้นปาล์มน้ำมัน ซึ่งหลังจากปลูกปาล์มแล้ว ให้ปลูกพืชคลุมตามทันที โดยหว่านหรือหยอดเมล็ดในระหว่างแถวปาล์ม 5 แถว แต่ละแถวห่างกัน 1 เมตร ขนานไปกับแถวปาล์ม และ ห่างจากโคนต้นปาล์มประมาณ 2 เมตร ทำร่องลึกประมาณ 1.2 นิ้ว โรยเมล็ดในร่องให้กระจายอย่างสม่ำเสมอแล้วกลบ
  2. ปลูกพืชคลุมดินก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน โดยปลูกหลังวางแนวปลูกปาล์มและควรทำในต้นฤดูฝน ให้แนวปลูกพืชคลุมเหมือนวิธีแรก เมื่อพืชคลุมปกคลุมพื้นที่ได้ 50-60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 2-3 เดือนหลังปลูกพืชคลุม จึงเอาต้นปาล์มลงปลูก และ ก่อนปลูกควรถางพืชคลุมบริเวณหลุมให้เป็นวงกว้างประมาณ 1-2 เมตร
ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, ปุุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน, ปุ๋ยเคมี, ปุ๋ยใส่ปาล์ม, ปุ๋ยปาล์มที่ดีที่สุด, ปุ๋ยใส่ปาล์มยี่ห้อไหนดี, ปาล์มน้ำมัน, ธาตุอาหาร, ปุ๋ยใส่ต้นปาล์ม, ปลูกปาล์ม, ปุ๋ยยูเรีย, ปุ๋ยสำเร็จรูป, ไนโตรเจน,ฟอสฟอรัส,โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, โบรอน, ทองแดง, สังกะสี, ปุ๋ยบำรุงปาล์ม, การให้ปุ๋ย, การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน
ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน “ซีพีไอ พลัส” ปุ๋ยที่วิจัยจากความต้องการของต้นปาล์มนำ้มัน – โทร. 077-975-222

พืชตระกูลถั่ว ที่แนะนำให้ปลูกในสวนปาล์มน้ำมัน

พืชตระกูลถั่ว ที่แนะนำให้ปลูกในสวนปาล์มน้ำมัน มี 4 ชนิด ได้แก่

ถั่ว, พืชตระกูลถั่ว, ซีรูเลียม, นิวดาโลโป, เพอราเรีย, เซนโตซีมา, คาโลโปโกเนียม, ถั่วลาย, พืชคลุมดิน, การดูแลสวนปาล์ม, , การดูแลสวนปาล์มน้ำมัน, ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์ม
พืชตระกูลถั่วที่จะแนะนำให้ปลูกในสวนปาล์มน้ำมัน 4 ชนิด

 

1. คาโลโปโกเนียม

ถั่วลาย, พืชคลุมดิน, การดูแลสวนปาล์ม, , การดูแลสวนปาล์มน้ำมัน, ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์ม
พืชคลุมดินตระกูลถั่ว “คาโลโปโกเนียม” สามารถปลูกในสวนปาล์มได้เป็นอย่างดี

คาโลโปโกเนียม พืชตระกูลถั่วที่ใบมีขนาดปานกลางเจริญเติบโตได้เเร็ว คลุมดินได้ภายใน 3-4 เดือน จะออกดอกและ เก็บเมล็ดได้เมื่อมีอายุ 6-7 เดือนขึ้นไปจนกระทั่งอายุ ประมาณ 18 เดือน ต้นก็จะโทรมตาย เป็นพืชที่ไม่ชอบร่มเงา เมื่อปลูกร่วมกับพืชคลุมดินชนิดอื่น จะมีปริมาณมากในปีแรกแต่หลัง จากน้ันจะถูกทดแทนด้วยพืชคลุมดินชนิดอื่น

 

2. เซนโตซีมา หรือ ถั่วลาย

เซนโตซีมา, ถั่วลาย , พืชคลุมดิน, การดูแลสวนปาล์ม, , การดูแลสวนปาล์มน้ำมัน, ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์ม
เซนโตซีมา หรือ ถั่วลาย พืชคลุมดินตระกูลถั่ว

เซนโตซีมา หรือ ถั่วลาย  ใบมีลักษณะเรียวเล็ก ชอบเลื้อยพันขึ้นต้นไม้ จะออกดอกและเก็บเมล็ดได้เมื่อมี อายุ 7 เดือนขึ้นไป ทนต่อความแห้งแล้ง ดังนั้นจึงจะช่วยเสริมปริมาณพืชคลุมดินในช่วงหน้าแล้งได้ เถาเหนียว เปื่อยช้า จะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 3-4 ปี

 

3. เพอราเรีย

เพอราเรีย , พืชคลุมดิน, การดูแลสวนปาล์ม, , การดูแลสวนปาล์มน้ำมัน, ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์ม
เพอราเรีย พืชคลุมดินตระกูลถั่ว

เพอราเรีย พืชคลุมิดตระกูลถั่วซึ่งใบมีขนาดใหญ่หนา เถาใหญ่และเป็นขน จึงควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าถั่วสองชนิดแรก  มีการเจริญเติบโตช้า อายุเกือบปีจึงจะคลุมดินได้ และจะสามารถคลุมดินได้ประมาณ 3-4 ปี แต่ถ้ามีร่มเงามาก ต้นก็จะโทรมตายไป เถาและใบเปราะ  เน่าเปื่อยเร็ว

 

4. ซีรูเลียม หรือ นิวดาโลโป

ซีรูเลียม, ถั่วลาย , พืชคลุมดิน, การดูแลสวนปาล์ม, , การดูแลสวนปาล์มน้ำมัน, ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์ม
ซีรูเลียม หรือ นิวดาโลโป พืชคลุมดินตระกูลถั่ว

ซีรูเลียม หรือ นิวตาโลโป เป็นถั่วคลุมดินที่ให้ปริมาณไนโตรเจนกลับคืนสู่ดินได้มาก ทนต่อความแห้งแล้งและร่มเงาได้ดี มีอายุ อยู่ได้นานถึง 10 ปี ในพื้นที่ที่มีการปลูกซีรูเลียมร่วมกับพืชคลุมดินชนิดอื่น ซีรูเลียมจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในปีที่ 4 ในขณะที่พืชคลุมดินชนิดอื่นจะตายไป เพราะมีร่มเงามากขึ้น แต่เนื่องจากซีรูเลียมที่ปลูกทางภาคใต้ของไทยให้ผลผลิตเมล็ดน้อยหรือแทบไม่ให้เมล็ดเลย จึงมีปัญหาเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่นำมาใช้ปลูกจะมีราคาแพงข้อควรระวังในการปลูกพืชคลุมดิน คือ ต้องไม่ให้เถาของพืชคลุมมาพันต้นปาล์ม และ ควรมีการป้องกันกำจัดหนูที่มากัดโคนต้นปาล์มอย่างสม่ำเสมอ

 


อ้างอิง :
– ชุลีพร เตชะศีลพิทักษ์.กรมส่งเสริมการเกษตร.การป้องกันและกำจัดวัชพืชในสวนไม้ผล-ไม้ยืนต้นโดยการปลูกพืชคลุมดิน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน.2559.คู่มือเกษตรกร การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ.123 หน้า
kanchanapisek.or.th สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๙

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน