หนอนทรายปาล์มน้ำมัน คืออะไร? แล้วมีวิธีป้องกัน กำจัดอย่างไร??

 

หนอนทราย คืออะไร? : หนอนทรายเป็นตัวอ่อนของแมลงปีกแข็ง ตระกูล เมโลลอนติดี้ ลำตัวอ้วนป้อม มีกรามใหญ่ แข็งแรง เคลื่อนที่ได้ด้วยการยืดและหดของลำตัว ส่วนท้องมีขนและหนาม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่ใช้แยกชนิดของหนอนทราย  ปัจจุบันหนอนทรายกำลังสร้างปัญหาปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับเกษตรการชาวสวนปาล์มน้ำมัน เนื่องจากเจ้าหนอนทรายหรือหนอนกราก ได้เข้ามากัดกินรากปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 1 -4 จนยืนต้นตายนับพันไร่

 

ลักษณะและวงจรชีวิต : ตัวเมียวางไข่ในสวนยางอาจเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มก้อน และฟักตัวเป็นหนอนในอีก 2-3 สัปดาห์ต่อมา ตัวหนอนมีสีขาว รูปร่างงอเหมือนตัว Cลำตัวยาว 3-5 ซม. อาศัยอยู่ในดิน กินอินทรีย์วัตถุและรากพืชเป็นอาหาร เมื่อเจริญเต็มที่แล้วจึงขุดดินเป็นโพรงลึกลงไป และกินรากพืชเป็นอาหาร เมื่อเจริญเต็มที่แล้วจึงขุดดินเป็นโพรงลึกลงไป และสร้างหนังหนาห่อหุ้มตัวเพื่อเข้าดักแด้ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดใหญ่ ตัวอ้วนป้อมและสั้น มีกรามใหญ่ แข็งแรง ลำตัวยาว 3-5 ซม. กลางวันหลบซ่อนในดิน และออกบินหากินช่วงพลบค่ำ

วงจรชีวิตของด้วงปีกแข็งชนิดนี้ ตั้งแต่เกิดจนถึงออกลูกออกหลานใช้เวลาประมาณ 1 ปี โดยด้วงตัวเมียจะวางไข่ไว้ในดินราวเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน หลังจากนี้ 2-3 สัปดาห์ ไข่ก็จะฟักเป็นตัวหนอน เรียกว่า “หนอนทราย” เพราะส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในดินทราย กัดกินรากพืชเป็นอาหาร เมื่อถึงระยะหนึ่งจะขุดรูเข้าดักแด้ จนถึงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ด้วงจะออกจากดักแด้และอยู่ในดินจนถึงหน้าฝน จึงจะขึ้นจากดินเพื่อหาอาหารและผสมพันธุ์ต่อไป ตัวเมียเมื่อ ผสมพันธุ์เสร็จแล้วมักจะกลับไปวางไข่ที่บริเวณเดิมอีก

การทำลาย : กัดกินรากยางในระยะต้นเล็กอายุ 6-12 เดือน ทำให้ต้นปาล์มมีอาการใบเหลืองและเหี่ยวแห้งตาย มักพบในสวนปาล์มและสวนยาง ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ที่รากของตอยางเก่า และออกมากัดกินรากปาล์ม รากยางอ่อน และมักทำลายกัดกินรากปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 1 -4 จนยืนต้นตาย

การระบาด : ระบาดในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พบระบาดมากในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทราย

การระบาดในประเทศไทย : ในช่วงประมาณปี 2552 พบหนอนทรายระบาดกัดกินรากต้นปาล์ม ทำให้ยืนต้นตาย แทบจังหวัดพังงา เสียหายกว่าพันไร่ ซึ่งเมื่อขุดใต้โคนต้นปาล์มน้ำมันขึ้นมาก็พบหนอนทราย จำนวนมากกัดกินรากต้นปาล์มน้ำมัน เมื่อขุดต้นอื่นดูก็พบมีหนอนทรายแทบทุกต้น ซึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรอย่างมาก โดยมักพบในปาล์มน้ำมันที่มีอายุตั้งแต่ 1-4 ปี หนอนทรายหรือหนอนกรากได้กัดกินตั้งแต่โคนต้นจนถึงราก ทำให้ปาล์มนับพันไร่ จำนวนกว่า 400-500 ต้น ทยอยยืนต้นตาย ซึ่งทางเจ้าของสวนได้ทดลองใช้วิธีขุดโคนต้นเพื่อใส่ยากำจัดหนอน แต่ก็ไม่ได้ผล ซึ่งพบว่าปาล์มน้ำมันแต่ละต้นจะมีหนอนทรายหรือหนอนกราก 5-12 ตัวชอนไชกัดกินรากต้นปาล์มจนยืนต้นตาย

ปุ๋ย

การป้องกันกำจัด : 

1. ดักจับตัวเต็มวัยช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ด้วยกับดักแสงไฟหรือตาข่ายในช่วงพลบค่ำ จะช่วยลดปริมาณแมลงได้เป็นอย่างดี
2. ปลูกตะไคร้ ซึ่งเป็นพืชที่หนอนชอบ เพื่อล่อให้หนอนออกมา แล้วจับทำลาย
3. ใช้สารเคมี ราดรอบโคนต้นปาล์ม แล้วกลบดิน  ดังนี้
– คาร์โบซัลแฟน(Carbosulfan) 20%EC อัตรา 140-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบๆ โคนต้นที่ถูกหนอนทรายทำลาย และต้นข้างเคียงต้นละ 1-2 ลิตร
– ฟิโปรนิล(Pipronil) 5%SC อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบๆ โคนต้นที่ถูกหนอนทรายทำลาย และต้นข้างเคียงต้นละ 1-2 ลิตร
4. ใช้สารเคมี ราดรอบโคนต้นปาล์ม
– พอสซ์ 80 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ 2 ลิตรต่อต้น หรือฟูราดานอัตรา 30-100 กรัม ต่อต้นขึ้นอยู่กับขนาดของต้นปาล์ม

อ่านบทความ :
ศัตรูปาล์มน้ำมัน มีอะไรบ้าง? มีวิธีกำจัด และป้องกันอย่างไร?


อ้างอิง :
rakbankerd.com
steemit.com/thai/@prapanth/
thairath.co.th 

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน