รวมเคล็ดลับ 10 วิธีดูแลสวนปาล์มน้ำมัน และต้นปาล์มน้ำมัน ให้ได้ผลผลิตสูงและลดต้นทุน

วิธีดูแลสวนปาล์มน้ำมัน
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการทำสวนปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตสูง และมีต้นทุนต่ำ ต้องอาศัยเทคนิคการดูแลหลากหลายปัจจัย…วันนี้ ซีพีไอ ได้รวมรวม 10 เทคนิค วิธีดูแลสวนปาล์มน้ำมัน แบบเข้าใจง่าย.มาฝากเกษตรกรทุกท่าน..เรามาดูกันเลยดีกว่า..

1. ให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอ

ในสภาพพื้นที่ประเทศไทยที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 1,800 มิลลิเมตร/ปี และมีฤดูแล้งยาวนาน 3-5 เดือน ควรมีการให้น้ำเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตทะลายให้สูงขึ้น
โดยการติดตั้งระบบน้ำเพิ่มเติมสำหรับสภาพแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำจำกัด คุณภาพน้ำค่อนข้างดี

  • มินิสปริงเกอร์ (Mini Sprinkler)  เป็นระบบที่ใช้แรงดัน 10–20 เมตร และมีอัตราการไหลของหัวปล่อยน้ำ 20 – 300 ลิตร ต่อชั่วโมง
  • ระบบน้ำหยด (Drip Irrigation System)
การให้น้ำพืช, เทนซิโอมิเตอร์
เทนซิโอมิเตอร์

แล้วเราควรให้น้ำในปริมาณเท่าไรละ? การให้น้ำแก่ปาล์มน้ำมัน ในวิธีคิดแบบเดิมๆ คือ ให้น้ำตามปริมาณความต้องการน้ำของพืชแต่ละชนิด ที่คำตอบจะออกมาในรูปของจำนวนลิตร/ต้น/วัน 
โดยขาดการคำนึงถึงสภาพอากาศซึ่งเป็นปัจจัยที่กำหนดอัตราการคายน้ำของพืช
ดังนั้นการให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอ และพอดี คือการให้น้ำตามค่าพลังงานของน้ำในดิน โดยควรรักษาระดับให้อยู่ในช่วงที่รากพืชดูดไปใช้ได้ง่ายที่สุด โดยอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าพลังงานของน้ำในดินเรียกว่า เทนซิโอมิเตอร์ (Tensiometer) ฝังเครื่องที่ความลึก 1/4 ของชั้นรากพืช เพื่อบอกเวลาเริ่มให้น้ำ และฝังที่ความลึก 3/4 ของชั้นรากพืชเพื่อบอกเวลาหยุดให้น้ำ เท่านี้เราก็จะสามารถคำนวนปริมาณน้ำที่ปาล์มน้ำมันในสวนของเราควรได้รับอย่างเหมาะสม
( อ่านบทความ : การให้น้ำปาล์มน้ำมัน การให้น้ำพืช พืชต้องการน้ำวันละเท่าไหร่? )

 

2. แสงแดด ที่เพียงพอ

แสงแดด, ปาล์มน้ำมัน, สวนปาล์ม, การปลูกปาล์มน้ำมัน, วางแลงปลูกปาล์มน้ำมันปาล์มน้ำมันนั้นต้องการแสงแดดมากกว่า 5 ชม./วัน หากปาล์มน้ำมันได้รับแสงน้อย จะทำให้มีผลผลิตปาล์มน้อยลง
ปัญหาเรื่องของแสงนั้นจะมีปัญหาโดยเฉพาะกับปาล์มน้ำมันที่มีอายุปลูกไปแล้วมากกว่า 10 ปี เนื่องจากปาล์มที่ปลูกชิดกันนั้นจะมีการบังแสงของทางใบระหว่างต้น
สำหรับในประเทศไทยนั้น จัดว่าเป็นประเทศที่มีแสงแดดเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน
( อ่านบทความ : แสงแดด – ปาล์มน้ำมัน ต้องการ แสงแดดวันละกี่ชั่วโมง?? )

 

 

3. รู้ค่ากรด-ด่าง ของดิน

ความเป็นกรด-ด่าง เป็นตัวควบคุมการละลายธาตุอาหารในดิน ให้ออกมาอยู่ในรูปสารละลายรวมกับน้ำในดิน ถ้าดินมีความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสม ธาตุอาหารในดินอาจละลายออกมาได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช หรือในทางตรงกันข้ามธาตุอาหารบางชนิดอาจละลายออกมามากเกินไปจนเป็นพิษต่อปาล์มน้ำมันได้
หาก ดินกรด หรือ ดินเปรี้ยว คือ ดินที่มีระดับ pH ต่ำกว่า 7 ให้แก้ไขโดยการใช้ปูนขาว โดโลไมท์ เปลือกหอย ขี้เถ้า เพื่อลดความเป็นกรดในดิน ดังนั้นเกษตรกรจึงควรมั่นตรวจค่ากรด-ด่างของดินในสวนปาล์มของท่านเพื่อดำเนินการแก้ไขถูกต้องและทันท่วงที่
( อ่านบทความ :  ความเป็นกรด-ด่างของดิน คืออะไร? )

 

4. การใส่ปุ๋ย

ปาล์มน้ำมัน ให้ผลผลิตในรูป “น้ำมัน” ซึ่งมีต้นทุนในการสังเคราะห์แสงสูงกว่า แป้งและโปรตีน ปาล์มน้ำมันจึงต้องการธาตุอาหารพืชในปริมาณมาก วิธีการใส่ปุ๋ยที่ได้ผลมาโดยตลอด คือการใส่ปุ๋ยให้เพียงพอต่อการสร้างต้นและเพื่อการสร้างทะลาย ร่วมกับการสาดปุ๋ยบนกองทางใบ โดยพอสรุปอัตราปุ๋ยตามผลผลิตได้ตามตารางต่อไปนี้

สูตรใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, ตารางใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, สูตรปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, อัตราการให้ปุ๋ยเคมีประจำปี, ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, ปุุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน, ปุ๋ยเคมี, ปุ๋ยใส่ปาล์ม, ปุ๋ยปาล์มที่ดีที่สุด, ปุ๋ยใส่ปาล์มยี่ห้อไหนดี, ปาล์มน้ำมัน, ธาตุอาหาร, ปุ๋ยใส่ต้นปาล์ม, ปลูกปาล์ม, ปุ๋ยยูเรีย, ปุ๋ยสำเร็จรูป, ไนโตรเจน,ฟอสฟอรัส,โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, โบรอน, ทองแดง, สังกะสี, ปุ๋ยบำรุงปาล์ม, การให้ปุ๋ย, การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, วิธีใช้ปุ๋ย ซีพีไอ พลัส, ตารางใส่ปุ๋ย ซีพีไอ พลัส
การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอต่อการสร้างต้นและเพื่อการสร้างทะลาย

 

5. ตัดแต่งทางใบ

การตัดแต่งทางใบ คือการตัดทางใบปาล์มที่ตาย ทางใบที่เกิน ทางใบที่เป็นโรคออกไป เพื่อให้ทางใบปาล์มอื่นๆ ได้รับแสง และสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มที่

การตัดแต่งทางใบ, ตัดแต่งทางใบ, ทางใบปาล์มน้ำมัน, กองทางใบ,

( อ่านบทความ :  การตัดแต่งทางใบ คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? ตัดแต่งอย่างไรให้ถูกต้อง? )

 

6. วางกองทางใบ

กองทางใบ ปาล์มน้ำมัน
กองทางใบ ปาล์มน้ำมัน

โดยการนำทางใบปาล์มน้ำมันมากองให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร มีประโยชน์มากมาย อาทิ ช่วยรักษาความชื้นในดินให้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำในดินบริเวณนั้น ชะลอการชะล้างหน้าดิน ทำให้ความชื้นในดินอยู่ได้นานส่งผลให้รากปาล์มมีชีวิตได้นานขึ้น คืนธาตุอาหาร เพิ่มอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสในดินมากขึ้น รักษากิจกรรมและความมีชีวิตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน และประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย… อ่านต่อ : กองทางใบ ในสวนปาล์มน้ำมัน คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?

 

 

 

7. หักช่อดอกปาล์มน้ำมัน

หักช่อดอกปาล์มน้ำมัน
การตัด/หัก ช่อดอกปาล์มน้ำมัน

ข้อดีของ การตัด/หัก/แทงช่อดอกปาล์มน้ำมันทิ้ง คือสารอาหารต่างๆ สามารถไปเลี้ยงและสร้างลำต้นปาล์มได้อย่างเต็มที่ (แทนที่จะสูญเสียไปกับการเลี้ยงดอกปาล์มน้ำมัน) จึงทำให้ต้นปาล์มโตเร็ว สมบูรณ์แข็งแรง โคนต้นและทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ ทะลายสมบูรณ์กว่าต้นที่ไม่ได้หักช่อดอกทิ้ง
( อ่านบทความ : ปลูกปาล์มน้ำมัน จำเป็นต้อง “หักช่อดอกทิ้ง” หรือไม่? )

 

 

 

8. กำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันอย่างถูกวิธี

ด้วงแรด, แมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน
ด้วงแรดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน

สัตว์และแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน นั้นมีมากมาย เช่น หนู หนอนหน้าแมว หนอนร่านสี่เขา หนอนปลอกเล็ก ด้วงแรด ฯลฯ ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นเฝ้าระวัง และศึกษาหาวิธีกำจัดอย่างถูกต้อง เหมาะกับชนิดของศัตรูปาล์มนั้นๆ

( อ่านบทความ : ศัตรูปาล์มน้ำมัน ต่างๆ มีอะไรบ้าง และมีวิธีป้องกัน กำจัด อย่างไร?? )

 

 

9. เฝ้าระวัง/สังเกต/กำจัด โรคปาล์มต่างๆ

โรคปาล์ม, โรคปาล์มน้ำมัน, โรคยอดเน่าในปาล์มน้ำมัน, โรคยอดเน่า
ลักษณะอาการ: โรคยอดเน่า

โรคปาล์มน้ำมัน สามารถเกิดขึ้นได้กับต้นปาล์มน้ำมันในทุกระยะ เช่น ระยะเมล็ด ระยะต้นกล้า ระยะปลูกลงแปลง ระยะที่ให้ผลผลิต ซึ่งโรคต่างๆนั้นมีระดับความรุนแรงในการสร้างความเสียหายให้กับปาล์มน้ำมันแตกต่างกันไป เช่น โรคใบไหม้ โรคใบจุด โรครากเน่า โรคทะลายปาล์มเน่า ฯลฯ เกษตรกรจึงควรทำความเข้าใจลักษณะอาการของโรคเพื่อวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง
( อ่านบทความ : โรคปาล์มน้ำมัน ที่พบในประเทศไทย มีอะไรบ้าง มีอาการและมีวิธีป้องกันกำจัดอย่างไร? )

 

 

10. เก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน อย่างถูกวิธี

แทงทะลายปาล์มน้ำมัน, แทงปาล์ม, เก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมัน
การแทงทะลายปาล์มน้ำมัน, แทงปาล์ม, เก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมัน

การเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มสด ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เกษตรกรจึงควรเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มสดที่สุกพอดีส่งเข้าโรงงานเพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มทั้งปริมาณและคุณภาพสูงสุด และจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปปฏิบัติ และใช้อุปกรณ์เก็บเกี่ยวที่เหมาะสมกับอายุต้นปาล์มน้ำมันนั้นๆ
( อ่านบทความ : การเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมัน อย่างถูกวิธี..มีเทคนิคอย่างไร? ควรเก็บเกี่ยวช่วงเวลาไหน? )

 

 

ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, ปุุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน, ปุ๋ยเคมี, ปุ๋ยใส่ปาล์ม, ปุ๋ยปาล์มที่ดีที่สุด, ปุ๋ยใส่ปาล์มยี่ห้อไหนดี, ปาล์มน้ำมัน, ธาตุอาหาร, ปุ๋ยใส่ต้นปาล์ม, ปลูกปาล์ม, ปุ๋ยยูเรีย, ปุ๋ยสำเร็จรูป, ไนโตรเจน,ฟอสฟอรัส,โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, โบรอน, ทองแดง, สังกะสี, ปุ๋ยบำรุงปาล์ม, การให้ปุ๋ย, การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน
ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน “ซีพีไอ พลัส” ปุ๋ยที่วิจัยจากความต้องการของต้นปาล์มนำ้มัน – โทร. 077-975-222

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน