ดินกรดคืออะไร?ส่งผลเสียอย่างไร?

ดินกรด ขอบคุณภาพจาก : researchgate.net

ดินกรด หรือ ดินเปรี้ยว หมายถึง ดินที่มีระดับ pH ต่ำกว่า 7

ดินกรด จัดอยู่ในประเภทดินที่มีปัญหาทางด้านการเกษตร คือ เป็นดินที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะสมหรือเหมาะสมน้อยสำหรับการเพาะปลูก ทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติได้

สภาวะดินกรด คือ ดินที่มีสภาพความเป็นกรดสูงมาก เนื่องจากอาจจะมี กำลังมี หรือได้เคยมีกรดกำมะถันซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเกิดดินชนิดนี้อยู่ในหน้าตัดของดิน และปริมาณของกรดกำมะถันที่เกิดขึ้นนั้นมีมากพอที่จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินและการเจริญเติบโตของพืชในบริเวณนั้น

ดินกรดส่งผลเสียต่อพืช ดังนี้

  • ธาตุบางอย่างจะละลายน้ำในดิน (ที่มีสภาพเป็นกรด) ได้ดีขึ้น ทำให้พืชดูดธาตุนี้เข้าไปในราก-ต้น จนทำให้เกิดเป็นพิษต่อพืช โดยเฉพาะ
    – อลูมิเนียม จะทำให้รากพืชถูกทำลาย/ไม่เจริญเติบโต
    – แมงกานีส ใบมีจุดสีเหลือง-น้ำตาล
  • ในขณะเดียวกัน ทำให้ธาตุอาหารบางอย่างละลายน้ำในดินได้น้อยลงหรือถูกชะล้างไป เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แมกนีเซียม (ดูแผนภูมิด้านล่าง)
  • จุลินทรีย์ดินที่ชอบ/ทนสภาพความเป็นกรดจะเพิ่มจำนวน  จุลินทรีย์ที่ไม่ทนกรด (ไรโซเบียม ที่ตรึงไนโตรเจน โดยเกิดเป็นปมที่รากของพืชตระกูลถั่ว) จะลดจำนวน-ตาย

 

อ่านบทความ : ค่าความเป็น กรด-ด่าง คืออะไร? มีวิธีวัดค่าอย่างไร?

 

ดินกรดเกิดจากอะไร?

1.)  ดินกรด จาก น้ำฝน เพราะน้ำฝนเป็นน้ำกรดอ่อน (H2CO3) การตกของฝนจึงเป็นการเติมไอออนกรด (H+) ลงไปในดิน และทำให้เกิดการชะล้างไอออนด่าง (Ca2+, Mg2+, K+, Na+) ออกจากดิน

เมื่อน้ำฝน (H2O) รวมกับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จะทำให้เกิดกรดอ่อน คือ กรดคาร์บอนิค

กรดอ่อนจะแตกตัวเป็นไฮโดรเจนไอออน (H+) และ ไบคาร์บอเนต (HCO3) การปลดปล่อยของไฮโดรเจนไอออนนี้จะไปแทนที่แคลเซียมไอออน และไอออนด่างอื่นๆ ที่ดินดูดยึดไว้ เมื่อไอออนด่างหลุดออกจากดิน จึงทำให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น

แคลเซียมไอออนที่หลุดดออกมาจากดินจะไปจับตัวกับไบคาร์บอเนตไออน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต เมื่ออยู่ในสภาพสารละลายจะถูกชะล้างออกจากดิน จึงส่งผลให้ดินกลายเป็นกรด

 

2.)  ดินกรด จากวัตถุต้นกำเนิด ที่มีไอออนกรด อยู่มาก (Al3+, H+)

แม้ว่าดินชั้นบนที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร จะค่าพีเอชมากกว่า 6.0 แต่ดินชั้นล่างเป็นไปได้ที่จะมีค่าความเป็นกรดสูงกว่านี้ เมื่อดินชั้นล่างมีค่าพีเอชน้อยกว่า 5.0 อะลูมินัมและแมงกานีสในดินจะละลายมากขึ้น และในดินบางชนิดที่เกิดเหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อพืชได้

ความเป็นกรด-ด่างของดิน, กรด-ด่าง, ดิน, ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน
ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปของประจุ (ไอออน, ion)
ความเป็นกรด-ด่างของดิน, กรด-ด่าง, ดิน, ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน
ข้อมูลพื้นฐานของดินในสวนของ ซีพีไอ (จุดที่เก็บใบพืชที่วิเคราะห์ประจำปี) เก็บดินที่ความลึกดิน 20-30 ซม. วิเคราะห์ทางเคมีเมื่อเดือนกันยายน 2535

3.)  ดินกรด จาก รากพืช ซึ่งปล่อยไฮโดรเจนไอออน (H+) ออกมา เพื่อแลกเปลี่ยนเอาไอออนด่างที่เป็นธาตุอาหารพืช (Ca2+, Mg2+, K+) เข้าไปในเซลล์

พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง อัลฟาฟ่า และพืชอื่นๆ มีความสามารถที่จะดูดซึมไอออนบวกในสัดส่วนที่พอดีกับไอออนลบ รากพืชจะปลดปล่อยไฮโดรเจนไอออนออกมาจากเซลล์ เพื่อแลกเปลี่ยนเอาธาตุอื่นที่มีประจุบวกเข้าไปในเซลล์แทน ปรากฏการณ์นี้โดยภาพรวมจะทำให้ดินมีความเป็นกรด

ความเป็นกรด-ด่างของดิน, กรด-ด่าง, ดิน, ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน
แสดงการปลดปล่อยของธาตุอาหารพืชที่ระดับความเป็นกรดต่างกัน

ระดับการเป็นกรดของดินสะท้อนถึงปริมาณของธาตุอาหารในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ ในสภาพดินกรด ค่าพีเอชต่ำกว่า 5.0 ปริมาณธาตุอาหารหลักที่พืชใช้ได้มีระดับต่ำ และสะท้อนว่ามีไอออนด่างคือ K, Ca และ Mg น้อย

 

4.)  ดินกรด จาก ปุ๋ยไนโตรเจน โดยปุ๋ยไนโตรเจนทุกชนิด จะเปลี่ยนรูปไปเป็นแอมโมเนียม (NH4+) หรือไนเตรท (NO3) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีการปลดปล่อย H+ ออกมา

ระดับของไนโตรเจนมีผลต่อค่าพีเอชของดิน แหล่งของไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยมูลสัตว์ หรือพืชตระกูลถั่วนั้นมีแอมโมเนียมเป็นส่วนประกอบ

การเพิ่มขึ้นของดินกรดจะลดลงจนกว่ารากพืชสามารถดูดซับแอมโมเนียมไอออนเข้าไปในเซลล์ได้ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูง จะทำให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น

เมื่อแอมโมเนียมทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (nitrification) จะได้สาร 3 ชนิด คือ 1)ไนเตรท 2)น้ำ และ 3)ไฮโดรเจนไอออน

ถ้าจำนวนเริ่มต้นของแอมโมเนียมเท่ากับ 453.7 กรัม (1 ปอนด์) จะต้องใช้ของแคลเซียมคาร์บอเนตบริสุทธิ์ประมาณ 816.5 กรัม (1.8 ปอนด์) ไปทำปฏิกิริยาเพื่อสะเทิน (หักล้าง) กับกรด H+ ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากปฏิกิริยานี้

ความเป็นกรด-ด่างของดิน, กรด-ด่าง, ดิน, ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน
ปฏิกิริยาการเปลี่ยนรูปของแอมโมเนียมไปเป็นไนเตรทและปลดปล่อย H+

ไนเตรทที่เกิดขึ้นมาสามารถจับตัวกับไอออนบวกอื่นๆ เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งสามารถถูกชะล้างจากผิวดินลงไปยังดินชั้นล่าง เมื่อธาตุเหล่านี้ถูกเคลื่อนย้ายออกไปและแทนที่ด้วยไฮโดรเจนไอออน ดินจึงกลายเป็นกรดมากขึ้น

ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, ปุุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน, ปุ๋ยเคมี, ปุ๋ยใส่ปาล์ม, ปุ๋ยปาล์มที่ดีที่สุด, ปุ๋ยใส่ปาล์มยี่ห้อไหนดี, ปาล์มน้ำมัน, ธาตุอาหาร, ปุ๋ยใส่ต้นปาล์ม, ปลูกปาล์ม, ปุ๋ยยูเรีย, ปุ๋ยสำเร็จรูป, ไนโตรเจน,ฟอสฟอรัส,โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, โบรอน, ทองแดง, สังกะสี, ปุ๋ยบำรุงปาล์ม, การให้ปุ๋ย, การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน
ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน “ซีพีไอ พลัส” ปุ๋ยที่วิจัยจากความต้องการของต้นปาล์มนำ้มัน – โทร. 077-975-222

 


อ้างอิง :
cropnutrition.com
tistr.or.th
dl.sciencesocieties.org

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน