โดโลไมท์ มีประโยชน์อย่างไร?

โดโลไมท์ คืออะไร? โดโลไมท์ (dolomite) เป็นปูนชนิดหนึ่งที่มีส่วนประกอบของธาตุแคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) โดโลไมท์ มีลักษณะทางเคมีเป็นด่าง จึงใช้ในการปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้มีความเป็นด่างเพิ่มขึ้น สูตรทางเคมีคือ CaMg(CO3)2 (แคลเซียมแมกนีเซียมคาร์บอเนต) โดยปกติโดโลไมท์จะมีสัดส่วนของ CaCO3 ต่อ MgCO3 ประมาณ 1:1

โดโลไมท์, dolomite, ปรับสภาพดิน, แก้ดินกรด, โดโลไมต์, โดโลไมท์ ซีพีไอ พลัส, ปูนโดโลไมท์ สำหรับปาล์มน้ำมัน
ซีพีไอ พลัส โดโลไมท์ 300
สารปรับสภาพดินและน้ำ คุณภาพสูง

โดโลไมท์ มีประโยชน์อย่างไร?

1. โดโลไมท์ช่วยปรับค่ากรด-ด่างของดิน ในดินที่มีสภาพเป็นกรด คือ ค่ากรด-ด่าง (พีเอช, pH) น้อยกว่า 5.0 จะส่งผลให้ธาตุอาหารที่อยู่ในดินหรือจากการใส่ปุ๋ย ละลายออกมาได้ไม่ดี ทำให้รากพืชดูดไปใช้ได้น้อย หรือมีความเป็นประโยชน์ต่ำ พบว่าถ้าค่าพีเอชของดินเท่ากับ 5.0 ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของต้นพืชจะเหลือเพียง 46 เปอร์เซ็นต์

ประเด็นสำคัญในการใส่ปูน คือ ต้องให้ปูนสัมผัสกับดินมากที่สุด เพราะฉะนั้นปูนยิ่งละเอียดเท่าไหร่ ปฏิกิริยาจะสมบูรณ์ได้เร็วขึ้น และจำเป็นอย่างยิ่งว่าดินต้องชื้น การสะเทินจึงจะเกิดขึ้นได้ วิธีและช่วงจังหวะในการหว่านปูนจึงมีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพการใช้ปูน

หน่วยมาตรฐานที่ใช้ในการวัดความละเอียดของปูนเรียกเป็น เม็ช (mesh) ซึ่งหมายถึงขนาดรูตะแกรงร่อน เช่น 80 เม็ช หมายถึงความถี่ของช่องตะแกรงมีจำนวน 80 ช่องในความยาว 1 นิ้ว ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ปูนที่ดีควรมีความละเอียดในช่วง 100-500 เม็ช ซึ่งจะใช้ได้ดีในการควบคุมค่าพีเอช

ปุ๋ย, โดโลไมท์, ปลูกปาล์ม, ใส่โดโลไมท์, โดโลไมต์, Dolomite
ตารางที่1 แสดงค่ากรด-ด่างของดิน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย

ตารางที่1 แสดงค่ากรด-ด่างของดิน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย

 

ปุ๋ย, โดโลไมท์, ปลูกปาล์ม, ใส่โดโลไมท์, โดโลไมต์, Dolomite
ตารางที่2 แสดงชนิดของปูนที่ใช้ในการปรับค่ากรด-ด่าง

ตารางที่2 แสดงชนิดของปูนที่ใช้ในการปรับค่ากรด-ด่าง

ใส่ปุ๋ยบนกองทางใบ, วิธีใส่ปุ๋ยปาล์ม, กองทางใบ
การใส่ปุ๋ยบนกองทางใบ

การใส่ปุ๋ยบนกองทางใบ

 

2. โดโลไมท์ให้ธาตุอาหารรองแก่พืช โดโลไมท์มีส่วนผสมแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารรอง ที่ต้นปาล์มน้ำมันต้องการอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับการใส่ปุ๋ยคีเซอร์ไรด์ (kieserite) ซึ่งจะมีธาตุแมกนีเซียมและกัมมะถัน (ซัลเฟอร์, sulfur) เป็นส่วนประกอบ

การใส่ปูนโดโลไมท์จึงได้ประโยชน์มากกว่า เพราะถึงแม้ว่ากัมมะถันจะเป็นธาตุอาหารรองที่ต้นปาล์มน้ำมันต้องการ แต่ต้นปาล์มไม่ได้แสดงอาการขาดธาตุกัมมะถันที่ชัดเจน และการใส่แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ก็จะได้ธาตุกัมมะถันมาด้วยอยู่แล้ว

พบว่าการใส่ปูนโดโลไมท์ 2.89 กก./ต้น (สี่เหลี่ยมสีเขียว) เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยคีเซอร์ไรด์ 2 กก./ต้น (วงกลมสีเหลือง) ใบปาล์มแสดงค่าความเข้มข้นของแมกนีเซียมในใบมีค่าใกล้เคียงกัน หมายความว่าการใส่ปูนโดโลไมท์หรือการใส่กีเซอร์ไรท์ ต้นปาล์มได้รับธาตุแมกนีเซียมไม่ต่างกัน จากกราฟพบว่า

การใช้ปุ๋ยคีเซอร์ไรท์ ไม่ได้ช่วยปรับค่ากรด-ด่างของดินได้มากเท่ากับการใช้โดโลไมท์หรือหินปูนฟอสเฟส (กราฟด้านล่าง)

 

ปุ๋ย, โดโลไมท์, ปลูกปาล์ม, ใส่โดโลไมท์, โดโลไมต์, Dolomite, คีเซอร์ไรท์, หินฟอตเฟส, แมกนีเซียมในใบปาล์ม
กราฟแสดงความเข้มข้นของธาตุแมกนีเซียมในใบปาล์มน้ำมัน
ที่เป็นผลมาจากการใส่โดโลไมท์หรือแมกนีเซียมจากปุ๋ยยี่ห้อต่างๆ
เปรียบเทียบกับการไม่ใช่ปุ๋ย

กราฟแสดงความเข้มข้นของธาตุแมกนีเซียมในใบปาล์มน้ำมันที่เป็นผลมาจากการใส่โดโลไมท์หรือแมกนีเซียมจากปุ๋ยยี่ห้อต่างๆเปรียบเทียบกับการไม่ใช่ปุ๋ย

 

ปุ๋ย, โดโลไมท์, ปลูกปาล์ม, ใส่โดโลไมท์, โดโลไมต์, Dolomite, คีเซอร์ไรท์, หินฟอตเฟส, แมกนีเซียมในใบปาล์ม
การเพิ่มค่าพีเอชของดินด้วยโดโลไมท์ คีเซอร์ไรท์และหินฟอตเฟส

การเพิ่มค่าพีเอชของดินด้วยโดโลไมท์ คีเซอร์ไรท์และหินฟอตเฟส

 

3. โดโลไมท์ปลดปล่อยช้า และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหาร โดโลไมท์ผลิตมาจากหินภูเขาที่นำมาบดให้ละเอียด การปลดปล่อยจึงขึ้นอยู่กับระดับความละเอียดของผงปูนที่บดได้ สำหรับสวนปาล์มน้ำมันนั้นแนะนำให้ใช้ที่ระดับความละอียด 80-120 เม็ช (mesh) การนำโดโลไมท์มาใส่ต้นปาล์มซึ่งเป็นไม้ยืนต้น จึงมีข้อดีคือ แมกนีเซียมและแคลเซียมจะค่อยๆ ละลายออกมา ทำให้ช่วยลดการสูญเสีย และการใส่ปุ๋ยบนกองทางใบปาล์มที่มีความชื้นและปริมาณของรากฝอยที่มากกว่าบริเวณอื่นในสวน ก็จะยิ่งช่วยทำให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยเพิ่มมากขึ้น

 

ทะลายปาล์มน้ำมัน, ปาล์ม, ปาล์มน้ำมัน, ต้นปาล์ม, ผลปาล์ม

โดโลไมท์กับความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

ราคาต่อหน่วยของปูนโดไลไมท์ (90-120 บาท/กระสอบ 50 กก.) ถูกกว่าปุ๋ยคีเซอร์ไรด์ (450-500 บาท/กระสอบ 50 กก.) อย่างไรก็ตามการใช้ปูนโดโลไมท์ ควรมีการตรวจวัดค่าพีเอชของดินก่อนว่าดินมีความเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งจะช่วยให้การใช้ปูนโดโลไมท์มีเหมาะสมมากขึ้น

แถบภาคใต้ส่วนใหญ่มีฝนตกชุกมากกว่าจังหวัดอื่นของไทย ซึ่งฝนที่ตกมากทำให้ดินเป็นกรดและมีการชะล้างผิวดินสูง จึงแนะนำให้ใส่ปูนโดโลไมท์อย่างต่อเนื่องทุกปี หากบริเวณที่ดินมีความเป็นด่างอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับค่ากรด-ด่างของดิน ให้ใส่อินทรียวัตถุ และใช้ปูนหินฟอตเฟตเพื่อเป็นแหล่งของแคลเซียม และใส่กีเซอร์ไรท์เพื่อเป็นแหล่งของแมกนีเซียมแทน

 


เอกสารอ้างอิง :
– กวิน ปุญโญกุล. 2561. คำแนะนำการใช้ปูนโดโลไมท์.
– รุ่งนภา แก้วทองราช และ ปานณิตา ดำหงษ์. 2553. การปรับค่ากรด-ด่างของดิน. บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)

– สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์. 2356. บทปฏิบัติการปฐพีวิทยามูลฐาน. ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จ.นครปฐม
– Sidhu, M., A. Hasyim, E. F. Rambe, Z. Sinuraya, A. Aziz and M. Sharma. 2014. Evaluation of Various Source of Magnesium Fertiliser for Correction of Acute Magnesium Deficiency in Oil Palm. Oil Palm Bulletin (November): 27-37.

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน