รากปาล์ม, ต้นปาล์ม, ระบบราก, ปาล์มน้ำมัน, รากปาล์มน้ำมัน

รากปาล์ม ระบบรากของปาล์มน้ำมัน เป็นอย่างไร? มีกี่แบบ?

รากปาล์ม

รากปาล์ม (Oil palm root) เกิดขึ้นจากตรงฐานโคนของลำต้น  รากปาล์มเป็นระบบรากฝอย (Fibrous root system) รากของปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณผิวดินลึกไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีความหนาแน่นมากในบริเวณโคน และในระยะ 1.5 ถึง 2.0 เมตรจากลำต้น     แต่ในกรณีที่ดินมีการถ่ายเทอากาศดีและระดับน้ำใต้ดินไม่สูงอย่างถาวร อาจจะมีรากบางส่วนเจริญลึกลงถึง 5 เมตร ซึ่งจะช่วยยึดลำต้นไว้ไม่ให้ล้มง่าย
รากอ่อนจะงอกออกจากเมล็ดเป็นอันดับแรก เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 2-4 เดือน รากอ่อนจะหยุดเจริญเติบโตและหายไป ระบบรากจริงจะงอกจากฐานส่วนลำต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่

หน้าที่สำคัญของรากปาล์ม

  • ช่วยยึดลำต้น  พยุงลำต้น ให้ตั้งตรงติดกับพื้นดิน
  • ดูดซับน้ำ ดูดซับธาตุอาหาร  จากพื้นดินเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของปาล์ม
  • เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนที่สำคัญต่อปาล์ม หลายชนิด


ชุดของรากปาล์ม

จะประกอบด้วยรากจำนวน 4 ชุด

  • รากชุดที่ 1 (Primary root) จะอยู่ในระดับแนวนอนยาว 3-4 เมตร จากลำต้น และในแนวดิ่งลึก 1-2 เมตร
  • รากชุดที่ 2 (Secondary root)
  • รากชุดที่ 3 (Tertiary root)
  • รากชุดที่ 4 (Quaternary Root) ทำหน้าที่ดูดธาตุอาหารเนื่องจากธาตุชนิดนี้ไม่มีลิกนินเหมือนรากชนิดอื่นที่มีสารนี้

รากทั้ง 4 ชุด จะเกิดเรียงตามลำดับ 1 ถึง 4
โดยทั่วไปรากจะเกิดมากและสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารที่ปาล์มน้ำมันต้องการนำไปใช้ประโยชน์ได้ที่ระดับความลึก 30-50 เซนติเมตร

 

การแพร่กระจายของรากปาล์ม

การแพร่กระจายของรากปาล์ม จะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น สภาพของดินปริมาณของธาตุอาหาร, ความตื่นของระดับน้ำใต้ดิน เป็นต้น  จากการวิจัยพบว่า รากของปาล์มจะแพร่กระจายไปยังบริเวณดินที่มีความหนาแน่นของธาตุอาหาร

นอกจากนี้ยังพบ รากพิเศษ หรือ รากอากาศ ตรงบริเวณโคนต้นทำหน้าที่ถ่ายเทอากาศระหว่างรากและบรรยากาศ ช่วยดูดความชื้นจากอากาศ เข้าสู่ลำต้น

และในส่วนของเนื้อเยื่อ Hypodermis ปาล์มน้ำมันไม่มีขนอ่อน นอกจากนี้ Hydathodes ที่เกิดจากเนื้อเยื่อชั้น Cortex ของราก จะโผล่เหนือพื้นดินเพื่อช่วยในการหายใจในกรณีที่เกิดน้ำท่วม

รากปาล์ม, ต้นปาล์ม, ระบบราก, ปาล์มน้ำมัน, รากปาล์มน้ำมัน
ศูนย์การเรียนรู้ปาล์มน้ำมันซีพีไอ ได้ทำการทดสอบโดยการขุดลงไปใต้ดิน เพื่อค้นหาเส้นทางการแพร่กระจายของรากปาล์ม (เชือกสีแดงล้อมรอบ)

ศูนย์การเรียนรู้ปาล์มน้ำมันซีพีไอ ได้ทำการทดสอบโดยการขุดลงไปใต้ดิน เพื่อศึกษาเส้นทางการแพร่กระจายของรากปาล์ม (เชือกสีแดงล้อมรอบ)

รากปาล์ม, ต้นปาล์ม, ระบบราก, ปาล์มน้ำมัน, รากปาล์มน้ำมัน
ศูนย์การเรียนรู้ปาล์มน้ำมันซีพีไอ ได้ทำการทดสอบโดยการขุดลงไปใต้ดิน เพื่อค้นหาเส้นทางการแพร่กระจายของรากปาล์ม (เชือกสีแดงล้อมรอบ)

 

ระบบรากของต้นปาล์มน้ำมัน

ระบบรากของต้นปาล์มน้ำมัน (Oil palm root system) จากการศึกษาระบบรากของต้นปาล์มน้ำมัน พบว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท ซึ่งมีทั้งรากที่ตอบสนองต่อแรงโน้วถ่วงของโลก (orthogravitropic) คือมีทิศทางไปตามความลึกของดิน (positive gravitropism) หรือชี้ขึ้นด้านบนผิวดิน (negative gravitropism) หรือไม่ตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก (diagravitropic) คือ มีทิศทางแผ่ออกด้านข้าง พบว่าตำแหน่งและขนาดของ สาร “สตาโตลิธส์” (statoliths) ในเซลล์ราก จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของราก ซึ่งสารนี้มีหน้าที่ในการเก็บสำรองแป้งจึงทำให้มีน้ำหนักมาก

รากปาล์ม, ต้นปาล์ม, ระบบราก, ปาล์มน้ำมัน, รากปาล์มน้ำมัน
ภาพแสดงประเภทของรากปาล์มน้ำมัน ทั้ง 8 แบบ

 

การแบ่งประเภทของรากปาล์มได้ 8 แบบ

  1.  R1 VD  Primary root with downward vertical growt   (ชุดที่ 1 ชี้ลง)
  2.  R1 H  Primary root with horizontal growth   (ชุดที่ 1 แผ่ออกด้านข้าง)
  3.  R2 VD  Secondary roots with downward vertical growth   (ชุดที่ 2 ชี้ลง)
  4.  R2 VU Secondary roots with upward vertical growth   (ชุดที่ 2 ชี้ขึ้น)
  5.  R2 H  Secondary roots with general horizontal growth   (ชุดที่ 2 แผ่ออกด้านข้าง)
  6.  sR3  superficial tertiary roots   (ชุดที่ 3 ต่อกับชุดที่ 2 ผิวดิน)
  7.  dR3  deep lying tertiary roots   (ชุดที่ 3 ต่อกับชุดที่ 2 แนวลึก)
  8.  R4  quaternary roots   (ชุดที่ 4 คล้ายชุดที่ 3 แนวลึก)
รากปาล์ม, ต้นปาล์ม, ระบบราก, ปาล์มน้ำมัน, รากปาล์มน้ำมัน
ตารางแสดงโครงสร้างของรากปาล์มน้ำมัน ทั้ง 8 แบบ

 

  • รากแบบ R1 VD ที่โตแบบแผ่ลึกลงดินมีความยาวเฉลี่ย 5.3 เมตร และสูงสุด 6 เมตร
  • รากแบบ R1 H ที่แผ่ออกด้านข้างมีความยาวเฉลี่ย 6.3 เมตร และสูงสุดถึง 25 เมตร
  • รากแบบ sR3, dR3 และ R4 พบว่า ไม่เป็นเนื้อไม้ (non-woody) เช่น รากแบบอื่นซึ่งน่าจะเป็นรากส่วนที่ดูดซับน้ำและธาตุอาหารได้มากที่สุด
  • รากที่พบมากบริเวณผิวดินคือ รากแบบ sR3 และ R2 VU ซึ่งจะเป็นรากฝอยขนาดเล็กๆ

 

รากปาล์ม, ต้นปาล์ม, ระบบราก, ปาล์มน้ำมัน, รากปาล์มน้ำมัน
ภาพแสดง สาร “สตาโตลิธส์” ที่บริเวณเซลล์ปลายรากของต้นปาล์ม

 

รากปาล์ม, ต้นปาล์ม, ระบบราก, ปาล์มน้ำมัน, รากปาล์มน้ำมัน
ตำแหน่งและขนาดของ สาร “สตาโตลิธส์” ในเซลล์รากเล็กๆ

ตำแหน่งและขนาดของ สาร “สตาโตลิธส์” ในเซลล์ราก จะเป็นตัวกำหนดการเติบโตของรากว่าจะไปในทิศทางใด รากที่มี สาร “สตาโตลิธส์” ขนาดเล็กจะไม่ตอบสนองต่อแรงโน้วถ่วงของโลก


ที่มา :
Jourdan, C., N.Michaux-Ferrere and G. Perabal. 2000. Root system architecture and gravitropism in the oil palm. Annals of Botany 85: 861-868.
arda.or.th
oard8.go.th

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน