ไขมันทรานส์, น้ำมันปาล์ม, ลีลา, น้ำมันปาล์มไม่มีไขมันทรานส์, น้ำมันชนิดใดที่ไม่มีไขมันทรานส์
น้ำมันปาล์ม..น้ำมันที่ไม่มีไขมันทรานส์


น้ำมันปาล์ม..น้ำมันที่
ไม่มีไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ หรือ กรดไขมันทรานส์ คือ ไขมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ถูกนำมาเติมไฮโดรเจนบางส่วน (partially hydrogenated oil) เนื่องด้วยธรรมชาติที่มีความไม่อิ่มตัวสูง หากไม่เติมไฮโดรเจนจะมีโอกาสเสียและเหม็นหืนได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องนำไปผ่านกระบวนการ เติมไฮโดรเจน เพื่อให้มันมีความคงตัว ออกมาเป็นไขมันที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารมากมายหลายชนิด ช่วยให้อาหารมีรสอร่อย เก็บได้นาน และช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มาก

ดังนั้นไขมันทรานส์จึงเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนสถานะน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง โดยเปลี่ยนจากสภาพของเหลว ให้มาเป็นของกึ่งแข็ง อยู่ตัว ไม่เหลว เช่น เนยเทียม(margarine)  ครีมเทียม(non-dairy creamer)  ช้อตเทนนิ่งสำหรับขนมอบ(shortening)  ฯลฯ  เราเรียกไขมันไม่อิ่มตัว ที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนนี้ว่า ไขมันทรานส์
โดยที่ยิ่งมีความไม่อิ่มตัวดั้งเดิมสูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นทรานส์มากเท่านั้น ซึ่งมีการตรวจพบว่ามีอันตรายต่อสุขภาพ นำไปสู่โรคต่างๆ มากมาย

ภาพแสดงระดับของไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ
ขอบคุณภาพจาก : FDA-TRANSFATS, MCT

ไขมันทรานส์ กับผลต่อสุขภาพ

แม้ว่าไขมันทรานส์จะสามารถรับประทานได้ แต่การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มากๆ จะส่งผลต่อสุขภาพดังนี้

  1. ส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ Cholesterol Acyltranferase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเมตาบอลิซึมของคอเลสเตอรอล ทำให้ระดับ LDL (Low Density Lipoprotein) ที่เป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลว(คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี) ในเลือดเพิ่มขึ้น
  2. ลดระดับ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็น (คอเลสเตอรอลชนิดดี) ในเลือด
  3. เนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูป ซึ่งย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น ทำให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการย่อยสลายไขมันตัวอื่น จึงอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย คือ
  • โรคอ้วน หรือน้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น
  • มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ
  • โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (อังกฤษ: Coronary Heart Disease) โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินลดลง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้
  • เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดและเพิ่มการอักเสบทั่วร่างกาย

รู้ได้อย่างไรว่าอาหารชนิดนั้นๆ มีไขมันทรานส์หรือไม่?

เราสามารถรู้ได้โดยการสังเกตข้อมูลบนฉลากอาหาร โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้อาหารทุกประเภทที่จัดจำหน่ายภายในประเทศ ต้องระบุปริมาณของกรดไขมันทรานส์ไว้บนฉลากโภชนาการของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะต้องมีปริมาณกรดไขมันทรานส์น้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
ส่วนประเทศอื่น ๆ เช่น แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ก็มีการออกกฎให้ระบุปริมาณของกรดไขมันทรานส์ไว้บนฉลากโภชนาการเช่นกัน รวมถึงการให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบด้วย
ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายบังคับให้มีการระบุข้อมูลปริมาณของไขมันทรานส์บนฉลากอาหาร แต่มี ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศ เลขที่ ๓๘๘ พ.ศ. ๒๕๖๑ เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ภายใน ๑๘๐ วันนับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

ปริมาณไขมันทรานส์ที่ร่างกายได้รับต่อ 1 วัน ไม่ควรเกินเท่าใด?

FAO/WHO กำหนดไว้ว่าคนเราไม่ควรได้รับไขมันทรานส์เกิน 1% ของพลังงานรวมที่ได้รับ เช่น ถ้าความต้องการพลังงานต่อวันโดยเฉลี่ยคือ 2000 กิโลแคลอรีต่อวัน ปริมาณไขมันทรานส์ที่ไม่ควรได้รับเกินกว่านี้คือ 2.2 กรัม/วัน

 

หากไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันทรานส์ แล้วจะใช้อะไรแทน?

  • ในด้านของเบเกอรี่ อาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้เนยสดแทน ซึ่งอาจจะทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น อีกทั้งเนื้อสัมผัสอาจจะเปลี่ยนไปจากสูตรเดิม
  • ส่วนครีมเทียม ทางกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์ครีมเทียมเพื่อสุขภาพ ที่ปราศจากกรดไขมันทรานส์ ซึ่งมีปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์ต่ำกว่าครีมเทียมทางการค้าประมาณ 40 เท่า
  • ส่วนของทอด ซึ่งเดิมทีอาจจะใช้เนยขาวในการทอดเพื่อให้มีเนื้อสัมผัสกรอบอร่อย สามารถเปลี่ยนมาใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันปาล์ม
ไขมันทรานส์, น้ำมันปาล์ม, ลีลา
น้ำมันปาล์มลีลา น้ำมันที่ปลอดไขมันทรานส์

 

 

“น้ำมันปาล์ม” น้ำมันที่ปลอดไขมันทรานส์

ส่วนน้ำมันปาล์มที่วางขายในท้องตลาดนั้นสกัดจากผลปาล์ม “ไม่มีการเติมไฮโดรเจนบางส่วนอย่างแน่นอน” จึงมั่นใจถึงความปลอดภัยได้
สำหรับน้ำมันปาล์มบรรจุขวดต่างๆ ก็ยังรับประทานได้ ไม่มีปัญหา น้ำมันปาล์มบรรจุขวดไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องไขมันทรานส์ ที่เห็นข้างขวดน้ำมันว่าเป็นน้ำมันผ่านกรรมวิธี นั้นหมายถึงการผ่านกรรมวิธีการกลั่นน้ำมัน (โดยการนำผลปาล์มมาบีบอัดกำจัดสิ่งสกปรก สีและกลิ่น แล้วแยกส่วนที่เป็นไขตามธรรมชาติออกไป จากนั้นผ่านกระบวนการกลั่นจนเหลือแต่ส่วนที่เป็นของเหลวใสบริสุทธิ์ เรียกว่า “น้ำมันปาล์มโอเลอีน”) ไม่มีการเติมไฮโดรเจนเพื่อกันหืนแต่อย่างใด
มีการทดสอบแล้วว่าน้ำมันปาล์มที่ใช้ทอดซ้ำหลายๆ ครั้งมีการตรวจพบไขมันทรานส์จริงแต่อยู่ในระดับที่น้อยมากจากเกณฑ์ ดังนั้นการใช้น้ำมันทอดซ้ำจึงไม่ใช่แหล่งของไขมันทรานส์ แต่การใช้น้ำมันทอดซ้ำเป็นที่มาของสารก่อมะเร็ง

ไขมันทรานส์, น้ำมันปาล์ม, ลีลา, น้ำมันปาล์มไม่มีไขมันทรานส์, น้ำมันชนิดใดที่ไม่มีไขมันทรานส์
น้ำมันปาล์มลีลา น้ำมันที่ปลอดไขมันทรานส์

 

ควรเลือกใช้น้ำมันชนิดใด ในการประกอบอาหาร

เลือกชนิดของน้ำมันให้เหมาะกับอาหาร

  1. การทอดกรอบ ความร้อนสูงนาน ควรใช้น้ำมันปาล์ม(ไขมันอิ่มตัว)
  2. การผัด ความร้อนไม่สูง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว


*เกล็ดน่ารู้* จากหลายๆ ผลการวิจัยพบว่า น้ำมันพืชที่มีความไม่อิ่มตัวสูง จะได้จากพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตหนาว เช่น ถั่วเหลือง ทานตะวัน ธัญพืชต่างๆ ส่วนน้ำมันพืชที่มีความอิ่มตัวสูง จะมาจากพืชที่ขึ้นได้ดีในเขตร้อน เช่น มะพร้าว และน้ำมันปาล์ม


ที่มา :
wikipedia.org
YesPalmOil
Mahidol Channel มหิดล แชนแนล
thaihealth.or.th

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน