งูกัด ในสวนปาล์ม..ปฐมพยาบาลอย่างไร?..และมีข้อห้ามอะไรบ้าง?

งูกัด การเข้าสวนเพื่อทำงานของเกษตรกรนั้นมีความเสี่ยงทุกเวลาที่อาจจะถูกงูกัดได้ ดังนั้นเกษตรกรทุกท่านควรทราบวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีที่โดนงูกัดอย่างถูกวิธี เพื่อชะลอพิษงูกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยขั้นแรกสุดควรทำความสะอาดแผล ไม่ขยับอวัยวะที่ถูกงูกัด และคนใกล้ชิดอาจช่วยผู้ประสบเหตุให้ไม่ตื่นตกใจมากนัก ที่สำคัญ ห้ามกรีด ตัด ดูด จี้ไฟ หรือพอกยาตรงแผลงูกัด ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรขันชะเนาะบริเวณที่ถูกงูกัด เนื่องจากไม่ใช่วิธีชะลอพิษงูตามที่เข้าใจกัน อีกทั้งจะทำให้เนื้อตายได้มากขึ้น จากนั้นอาจถ่ายรูปหรือนำซากงูที่ตายแล้วมาด้วยและรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาจากแพทย์ต่อไป โดยผู้ป่วยจะได้รับเซรุ่มแก้พิษทันทีในกรณีที่ทราบชนิดงู


แผลงูกัด มี 2 ประเภท

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของงู ได้แก่ งูมีพิษกัด และงูไม่มีพิษกัด (ในประเทศไทยพบงูประมาณ 300 สายพันธุ์ เป็นงูไม่มีพิษ 90%)

1.1 งูมีพิษกัด


งูมีพิษ
งูชนิดนี้จะปล่อยพิษให้ซึมเข้าไปในผิวหนัง เยื่อเมือก หรือดวงตาของผู้ที่ถูกกัด ทั้งนี้ งูมีพิษบางตัวอาจกัดโดยไม่ปล่อยพิษออกมา (Dry Bite) ก็ได้ งูมีพิษที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย เช่น งูจงอาง งูเห่า งูแมวเซา งูสามเหลี่ยม งูสมิงคลา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ เป็นต้น จะรู้ว่างูนั้นมีพิษหรือไม่ โดยให้สังเกตที่รอยเขี้ยว ถ้าเป็นงูพิษ จะมีรอยเขี้ยว 2 จุดชัดเจน หรือมีเลือดซึมออกจากแผล และบริเวณรอบๆ รอยเขี้ยวมีสีคล้ำ หรืออาจพองเป็นถุงน้ำ

1.2 งูไม่มีพิษกัด

งูไม่มีพิษ งูชนิดนี้จะปล่อยพิษให้ซึมเข้าไปภายในร่างกายของผู้ที่ถูกกัดไม่ได้ โดยแผลจากงูไม่มีพิษจะต่างจากแผลงูมีพิษที่ไม่ปล่อยพิษ โดยให้สังเกตที่รอยเขี้ยว ถ้างูไม่มีพิษ รอยฟันบนผิวหนังจะเรียงเป็นแถวอย่างไรก็ดี ผู้ที่ถูกงูไม่มีพิษกัดควรเข้ารับการรักษาทันทีเช่นกัน งูไม่มีพิษที่พบได้ทั่วไปในไทยมีหลายสายพันธุ์ เช่น งูเขียวชนิดต่าง ๆ งูสิง งูแสงอาทิตย์ งูดิน งูเหลือม หรืองูหลาม เป็นต้น

แผลงูกัด, งูมีพิษกัด, งูไม่มีพิษกัด, งูกัด, งูมีพิษ, งูพิษ, งูไม่มีพิษ
การจำแนกแผลจากงูกัด
ภาพจาก : sharingforlearn.blogspot.com


สาเหตุของ งูกัด

งูเมื่อถูกรบกวนและทำให้ตกใจ งูจะกัดคนเพื่อป้องกันตัวเอง โดยส่วนใหญ่แล้วผู้คนมักไปเหยียบหรือแหย่งูให้ตื่นกลัว ส่งผลให้งูกัดได้ หากถูกงูมีพิษกัด ร่างกายจะได้รับพิษงูที่ปล่อยเข้ามา ผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาทันที

อาการของผู้ถูกงูพิษกัด

อาการถูกงูมีพิษกัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ที่ส่งผลต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่

  1. เซลล์ผิวที่ถูกงูกัด (Cytotoxin) พิษงูทำลายเซลล์เนื้อเยื่อที่ถูกงูกัด ส่งผลให้เกิดอาการปวด บวมแดง หรือเนื้อตาย
  2. เลือดในร่างกาย (Hemototoxin) พิษงูส่งผลต่อเลือด ทำให้เลือดแข็งตัวผิดปกติ ผู้ป่วยจึงเลือดไหลไม่หยุดและเสียเลือดมาก
  3. เส้นประสาท (Neurotoxin) พิษงูทำลายเส้นประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายลำบากและกล้ามเนื้ออ่อนแรงคล้ายเป็นอัมพาต โดยผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในกรณีที่เกิดอัมพาตกับกล้ามเนื้อควบคุมการหายใจ
  4. กล้ามเนื้อ (Myotoxin) พิษงูออกฤทธิ์ทำลายกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่แล้ว มักเป็นกล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อหัวใจ

วิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง

ปฐมพยาบาลผู้ป่วยถูกงูกัด, แผลงูกัด, งูมีพิษกัด, งูไม่มีพิษกัด, งูกัด, งูมีพิษ, งูพิษ, งูไม่มีพิษ, ปฐมพยาบาล
วิธีการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ถูกงูกัด อย่างถูกต้อง
ภาพจาก: medicforyou.in
  1. ตั้งสติ และจดจำสีและรูปร่างของงู หรือถ่ายภาพงูที่กัด หรือตีงูให้ตายเพื่อนำซากงูไปให้แพทย์(อย่าตีจนเละเพราะจะดูไม่รู้ว่าเป็นงูอะไร) ทั้งหมดเพื่อให้ข้อมูลแก่แพทย์ประกอบการวินิจฉัยและรับการรักษา
  2. พยายามทำให้ผู้ป่วยคลายความกังวล ผ่อนคลาย ไม่ตื่นตัว โดยพยามให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวส่วนที่ถูกกัดให้น้อยที่สุด เพื่อชะลอพิษงูกระจายไปตามร่างกาย
  3. รีบแจ้งโรงพยาบาลให้มารับตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน
  4. เคลื่อนย้ายอวัยวะที่ถูกงูกัด ให้อยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ เพื่อไม่ให้พิษแล่นเข้าสู่หัวใจมากขึ้น
  5. ถอด ปลด เครื่องประดับ และเสื้อผ้า ที่อาจรัดอวัยวะส่วนที่ถูกกัดออก
  6. ล้างแผลให้ผู้ที่ถูกงูกัดด้วย น้ำสะอาด
  7. ทำความสะอาดแผลให้แห้งและปิดแผลให้เรียบร้อย
  8. ใช้ผ้ายืดหน้ากว้าง 10 – 15 ซม. และมีความยาวอย่างน้อย 4.5 เมตร หรือใช้ผ้าอะไรก็ได้ที่มีความยาวเพียงพอพันรอบอวัยวะส่วนที่ถูกงูกัดทั้งส่วนให้กระชับและไม่แน่นจนเกินไป โดยเริ่มจากส่วนปลายหรือบริเวณรอบนิ้วมือ หรือ นิ้วเท้ายาวต่อเนื่องมาจนสุดอวัยวะ แล้วทำการดามอวัยวะส่วนที่ถูกกัดด้วยของแข็งเพื่อดามอวัยวะส่วนที่ถูกกัดไม่ให้เคลื่อนไหว เนื่องจากการเคลื่อนไหวหรือการหดตัวของกล้ามเนื้อจะทำให้พิษงูถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น ปฐมพยาบาลผู้ป่วยถูกงูกัด, แผลงูกัด, งูมีพิษกัด, งูไม่มีพิษกัด, งูกัด, งูมีพิษ, งูพิษ, งูไม่มีพิษ, ปฐมพยาบาล
  9. เฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วย เช่น อุณหภูมิร่างกาย ชีพจร อัตราการหายใจ และความดันโลหิต
    – หากผู้ป่วยเกิดอาการช็อค ควรให้ผู้ป่วยนอนราบลงไป ยกขาให้สูงขึ้นประมาณ 30 เซนติเมตร และห่มผ้าห่มให้แก่ผู้ป่วย
    – หากผู้ป่วยถูกงูกัดที่ขา ห้ามยกขาผู้ป่วยขึ้นมาเหนือระดับหัวใจ เนื่องจากจะเร่งพิษให้กระจายไปที่หัวใจเร็วขึ้น
    – หากผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ช่วยผู้ป่วยด้วยการเป่าปาก
  10. รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือเรียกรถพยาบาลมารับทันที

 

ต้นกล้าใหญ่, ต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน, เมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด, พันธุ์ปาล์มที่ดีที่สุด, พันธุ์ปาล์ม, พันธุ์ปาล์มน้ำมัน, พันธุ์ปาล์มซีพีไอ
ต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด – โทร. 077-975-522

ข้อห้ามที่ไม่ควรทำเมื่อถูกงูกัด

  1. ห้าม จับงูด้วยตนเอง
  2. ห้าม ใช้ไฟจี้หรือใช้มีดกรีดบาดแผลที่ถูกงูกัด เพราะจะทำให้แพทย์วินิจฉัยได้ยาก และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณแผลได้
  3. ห้าม ขันชะเนาะ เพราะอาจทำให้อวัยวะส่วนนั้นขาดเลือดได้
  4. ห้าม ยกอวัยวะที่ถูกงูกัดสูงเหนือระดับหัวใจ
  5. ห้าม ดูดพิษงูโดยใช้ปากดูดแผลที่ถูกงูกัด เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณแผล และหากว่าผู้ที่มาดูดแผลให้มีแผลในปากก็อาจได้รับอันตรายจากพิษงูได้
  6. ห้าม ไม่ประคบแผลด้วยน้ำแข็ง หรือแช่แผลงูกัดในน้ำ
  7. ห้าม ไม่ให้ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสุรา เพราะจะทำให้สับสนถึงอาการของพิษงูต่อระบบประสาท
  8. ห้าม ให้ยากระตุ้นหัวใจ มอร์ฟีน ยาระเหย หรือยาแก้แพ้ต่างๆ เพราะจะทำให้สับสนถึงอาการของพิษงูต่อระบบประสาท
  9. ห้าม ไม่ควรให้ยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกงานขึ้น
  10. ห้าม  ถู ขัด และนวดที่บาดแผลที่ถูกงูกัด เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณแผล และอาจทำให้มีเลือดออกมากขึ้นและร่างกายดูดซึมพิษได้เร็วขึ้น
ภาพจาก : pixabay.com

ข้อปฎิบัติเพื่อป้องกันการถูกงูกัด

  1. เลี่ยงบริเวณที่อับ มืด หรือรก ซึ่งอาจมีงูหรือสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายซ่อนตัวอยู่
  2. ควรสวมรองเท้าบูธและเสื้อผ้าที่มิดชิดรัดกุมในกรณีที่ต้องเข้าไปในบริเวณที่รกครึ้ม
  3. มั่นทางหญ้า กำจัดหญ้า ในแปลงปลูก ให้เตียนโล่ง
  4. ทางเดินในแปลง หรือถนนในแปลง ควรเตียนโล่ง ป้องกันการเป็นที่อาศัยของงู และเพื่อง่ายแก่การขนย้ายผู้ป่วยยามฉุกเฉิน
  5. ห้ามจับหรือแหย่งู ไม่ว่าจะเป็นงูที่มีหรือไม่มีพิษ
  6. ไม่ควรทำให้งูตกใจ เนื่องจากอาจทำให้งูกัดได้
  7. ไม่ล้วงมือลงไปในรูหรือช่องที่มองไม่เห็นข้างใน หากต้องหยิบของที่ตกลงไป ควรหาไม้ยาว ๆ เขี่ยออกมาแทน
  8. ควรยืนนิ่ง ๆ เมื่อเจองูในระยะใกล้ เนื่องจากงูจะฉกและกัดหากเคลื่อนไหว
  9. ควรพกอุปกรณ์ทำแผลหรือยาต่าง ๆ เช่น ยาแก้ปวด ยาลดกรด หรือยาหม่อง
  10. ศึกษาข้อมูลจดจำเบอร์ติดต่อรถพยาบาลฉุกเฉิน หรือสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ๆ สวนปาล์ม

 


ข้อมูลอ้างอิง :
pobpad.com
campus-star.com
ภาพจาก :
kidsbiology.com
thainationalparks.com
parody.wikia.com
flickr.com/photos/gazs_pics
en.wikipedia.org/
thai-snake.blogspot.com
sharingforlearn.blogspot.com
medicforyou.in
pixabay.com

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน