คลอโรฟิลล์, สังเคราะห์แสง, chlorophyll, chloroplasts

“คลอโรฟิลล์” เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบของพืชนอกจากนี้ยังพบได้ที่แบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ และยังพบได้ในสาหร่ายเกือบทุกชนิด
“คลอโรฟิลล์” ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต
“คลอโรฟิลล์” (chlorophyll) มีรากศัพท์มาจาก คำว่า chloro ในภาษากรีก ที่แปลว่าสีเหลืองเขียว และ phyllon แปลว่าใบไม้

คลอโรฟิลล์, สังเคราะห์แสง, chlorophyll, chloroplasts
โครงสร้างของ คลอโรฟิลล์ เมื่อส่องด้วยกล้องไมโครสโคป เป็นเนื้อเยื่อโครงสร้างที่มีชีวิตเรียกว่า chloroplasts
  • สำหรับในพืช โมเลกุลของคลอโรฟิลล์-เอ (Chlorophyll A) จะดูดกลืนแสงสีฟ้า ที่มีความยาวคลื่น 430 – 460 นาโนเมตร
  • ส่วนคลอโรฟิลล์-บี (Chlorophyll B) จะดูดกลืนแสงสีแดง ความยาวคลื่น 660 – 700 นาโนเมตร

คลอโรฟิลด์ในประวัติศาสตร์มนุษย์

  • “คลอโรฟิลล์”สกัดได้ครั้งแรก โดย Joseph Bienaimé Caventou เภสัชกร และ Pierre Joseph Pelletier นักเคมีชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1817
  • ค.ศ. 1883 Julius von Sachs นักพฤษศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้แสดงให้เห็นว่า คลอโรฟิลล์อยู่ในส่วนที่เรียกว่าคลอโรพลาสต์ (chloroplasts)ในพืช และเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสงของพืช
  • คลอโรฟิลล์ เอ และ บี ถูกสกัดให้บริสุทธิ์ โดย Richard Willstatter นักเคมี ชาวเยอรมัน ด้วยวิธี chromatography ในปี ค.ศ. 1933 ทำให้เขาได้รับรางวัล Nobel Prize สาขาเคมี ในปี ค.ศ. 1915
การสังเคราะห์แสง, ปาล์มน้ำมัน, ใบปาล์มน้ำมัน, การสังเคราะห์ด้วยแสง, แสงแดด, ปาล์ม
ใบปาล์มน้ำมัน เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานทางเคมี เพื่อไปสร้างผลผลิตและส่วนอื่นๆของต้น

“คลอโรฟิลล์” ทำหน้าที่เป็นโมเลกุล รับพลังงานจากแสงแดดและนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมี โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต

“คลอโรฟิลล์”ดูดกลืนแสงได้ดีที่ช่วงคลื่นของแสงสีฟ้าและสีแดงแต่ดูดกลืนช่วงแสงสีเหลืองและเขียวได้น้อย ดังนั้นเมื่อได้รับแสงจะดูดกลืนแสงสีฟ้าและสีแดงไว้ ส่วนแสงสีเขียวที่ไม่ได้ดูดกลืนจึงสะท้อนออกมา ทำให้เห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียว

คลอโรฟิลล์กับปาล์มน้ำมัน

“คลอโรฟิลล์” เป็นสารสำคัญในปาล์มน้ำมัน ที่ทำหน้าที่รับพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์เพื่อไปใช้สังเคราะห์แสงในการสร้างพลังงานให้แก่ปาล์มน้ำมัน

ใน”คลอโรฟิลล์”มีธาตุไนโตรเจน แมกนีเซียม และคาร์บอน เป็นองค์ประกอบ
ต้นปาล์มที่ขาดไนโตรเจนและแมกนีเซียม จึงแสดงอาการใบสีเหลืองซีด

แก้ไขโดยการให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต ยูเรีย และการให้ปุ๋ยแมกนีเซียม เช่น กลีเซอร์ไรท์ โดโลไมท์
การใส่ปุ๋ยให้ครบและตรงตามความต้องการของต้นปาล์มน้ำมัน จะทำให้ปาล์มน้ำมันไม่เกิดอาการขาดธาตุอาหาร

อ่านบทความ : ปาล์มน้ำมัน ต้องการ แสงแดด วันละกี่ชั่วโมง??


แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน