ธาตุไนโตรเจน, แอมโมเนียม ซัลเฟต

แอมโมเนียมซัลเฟต คืออะไร? ใช้เพิ่มธาตุอาหารอะไร? ให้กับปาล์มน้ำมัน

แอมโมเนียมซัลเฟต (Ammonium Sulfate)

แอมโมเนียมซัลเฟต วิธีผลิตมี 2 แบบ ใหญ่ ๆ คือ

1. ใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟูริกเอซิด(กรดกำมะถันมีสูตรทางเคมี H2SO4)
2. ใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับยิบซั่มและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ธาตุไนโตรเจน, แอมโมเนียม ซัลเฟต
ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (Ammonium Sulfate)

คุณสมบัติทางกายภาพของแอมโมเนียมซัลเฟต

  • เป็นผลึกสีขาวหรือเทา
  • ดูดความชื้นในอากาศ

 

คุณสมบัติทางเคมี

  • สูตรเคมี : มีธาตุไนโตรเจน 20% และ มีธาตุกำมะถัน 24 %
  • อยู่ในระดับปฏิกิริยาเป็นกรด

ประโยชน์ที่ใช้

ยูเรีย, ธาตุไนโตรเจน, แม่ปุ๋ยยูเรีย, ปาล์มขาดไนโตรเจนม ใบปาล์มเหลือง, ใบปาล์มซีด
อาการปาล์มขาดธาตุไนโตรเจน
1. ต้นเล็กทรงพุ่ม
2. ถ้าขาดรุนแรงจะเห็นใบมีสีเหลืองซีดโดยเริ่มที่ใบแก่ก่อน
3. ใบสีเขียวซีด ต่อไปจะเหลืองทั้งต้น
4. ทางใบสั้นแกร็น
5. ต้นโตช้า
6. ทะลายเล็กลง
7. ปริมาณน้ำมันน้อย

แอมโมเนียมซัลเฟต เป็นปุ๋ยไนโตรเจนเชิงเดี่ยวที่ ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนในดิน ช่วยบำรุงใบเป็นหลัก เหมาะสำหรับปาล์มโดยเฉพาะในระยะการเติบโตในช่วงแรกหรือระยะแตกใบอ่อน

  • ใช้เพิ่มธาตุไนโตรเจน(N) ให้กับปาล์มน้ำมัน
  • ช่วยปรับสภาพดินด่าง เพิ่มความเป็นกรดของดิน
  • ใช้กับดินเค็มหรือดินที่เป็นด่าง
  • ใช้เมื่อต้องการธาตุกำมะถัน
  • ใช้ในพืชบางชนิดที่ชอบดินเป็นกรด
  • ใช้กับพืชเพื่อเร่งความเจริญเติบโต

ระหว่างปุ๋ยยูเรียกับปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต
ปุ๋ยยูเรียมีปริมาณธาตุไนโตรเจน 46-48%
สูงกว่าปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตเท่าตัว

 

 

ข้อเสียแอมโมเนียมซัลเฟต

1. ทำให้ดินมีสภาพความเป็นกรดมากขึ้น
2. สภาพดินเป็นกรดจากการใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ส่งเสริมการก่อให้เกิดโรคเชื้อราในพืชมากขึ้น

 

อ่านบทความ : ธาตุอาหารที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
อ่านบทความ : สูตรใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน
อ่านบทความ : ไนโตรเจน – อาการขาดธาตุไนโตรเจนเป็นอย่างไร? แก้ไขอย่างไร?


ข้อมูลอ้างอิง : siamchemi.com

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน