ปุ๋ยยูเรีย, แม่ปุ๋ยยูเรีย, 46-0-0, ยูเรีย 46-0-0, แอมโมเนียมซัลเฟต, ธาตุไนโตรเจน

ยูเรีย

แม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) คืออะไร? สำคัญต่อปาล์มน้ำมันหรือไม่?

ปุ๋ยยูเรีย, แม่ปุ๋ยยูเรีย, 46-0-0, ยูเรีย 46-0-0, แอมโมเนียมซัลเฟต, ธาตุไนโตรเจน
แม่ปุ๋ยยูเรีย

ปุ๋ยยูเรีย (จัดเป็นปุ๋ยเคมี ชนิดนึง ที่เป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน) (ตามกฎหมายเรียกว่า “ปุ๋ยเคมียูเรีย”)

ยูเรีย (urea) ถูกค้นพบครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1727 โดย Herman Boerhaaveนักเคมีวิทยาและพฤกษศาสตร์ชาวดัช เขาค้นพบยูเรียในปัสสาวะ (urine) โดยการทดลองสกัดปัสสาวะจนได้ยูเรียออกมา

หลังจากนั้นอีก 101 ปีถัดมา Friedrich Wöhler นักเคมีวิทยา ชาวเยอรมัน สามารถสังเคราะห์ยูเรียขึ้นมาจากปฏิกิริยาของสารซิลเวอร์ไซยาเนตและแอมโมเนียมคลอไรด์ได้ ในปี ค.ศ. 1828 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สารอินทรีย์(organic) สามารถถูกสังเคราะห์ขึ้นมาได้จากสารอนินทรีย์ (inorganic) เรียกกระบวนการนี้ว่า vitalism  ทำให้ทฤษฎีที่ว่า…สารเคมีที่ถูกผลิตโดยสิ่งมีชีวิตแตกต่างจากสารเคมีของสิ่งไม่มีชีวิต…ถูกหักล้างลงอย่างลิ้นเชิง และเป็นจุดกำเนิดของการพัฒนาวงวิชาการเคมีอินทรีย์ (organic chemistry) เป็นต้นมา

ในอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จะสังเคราะห์ขึ้นจากแอมโมเนียเหลว และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยผ่านความร้อน 180 °C ความดัน 200 บาร์ แล้วนำมาตกผลึก

เมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน, พันธุ์ปาล์มน้ำมัน, เมล็ดพันธุ์ ซีพีไอ, CPI HYBRID, germinated oil palm seeds, พันธุ์ปาล์มน้ำมัน, ต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน, ต้นกล้า ซีพีไอ, CPI HYBRID, oil palm seedling, พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดีที่สุดม สุดยอดพันธุ์ปาล์ม, ปาล์ม, ปาล์มน้ำมัน, พันธุ์ปาล์มซีพีไอ, ต้นกล้าปาล์ม, ต้นกล้าพันธุ์ปาล์ม, ต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด, ต้นกล้าปาล์มน้ำมัน, พันธุ์ปาล์มน้ำมัน, ต้นกล้า ซีพีไอ, CPI HYBRID
เมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด – โทร. 077-975-522

ปุ๋ยยูเรียสำหรับปาล์มน้ำมัน

สามารถใช้ แม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) แทนเพื่อให้เป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจน การใส่แม่ปุ๋ยยูเรียจะทำให้สามารถจัดการธาตุอาหารได้ตรงตามความต้องการของต้นปาล์มและช่วยลดต้นทุนได้
ปุ๋ยยูเรีย (Urea) และแอมโมเนียมซัลเฟต (Ammonium Sulfate) ต่างเป็นปุ๋ยเคมีไนโตรเจน เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่วิธีการผลิต และปริมาณธาตุไนโตรเจนในปุ๋ย  โดยแม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) คือ..มีปริมาณธาตุไนโตรเจน 46-48% ของน้ำหนัก

อ่านบทความ : ไนโตรเจน – อาการขาดธาตุไนโตรเจนเป็นอย่างไร? แก้ไขอย่างไร?

การขาดไนโตรเจน สามารถแก้ไขได้โดยการให้แม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) โดยแม้ไนโตรเจน จะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป จะทำให้ต้นอ่อนแอ ทางใบอวบน้ำ มีความต้านทานโรคน้อยลง

แม่ปุ๋ยไนโตรเจน, ปุ๋ยใส่ปาล์ม, ปุ๋ยปาล์ม
(ตัวอย่าง) ปุ๋ยไนโตรเจน

ประโยชน์ของปุ๋ยยูเรีย

  • เป็นประโยชน์ให้ธาตุอาหารหลักของพืช คือ ไนโตรเจน
  • เป็นประโยชน์โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเพาะปลูก ที่ต้องเร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรวดเร็ว
  • ดูดความชื้นได้ดีมาก


คุณสมบัติทางกายภาพของปุ๋ยยูเรีย

  • เป็นผลึกสีขาว
  • ดูดความชื้นได้ดีมาก
  • ละลายน้ำได้ 50%
  • มีไนโตรเจน 47-48%

 

คุณสมบัติทางเคมี

  • ใช้ในการเกษตร(เพิ่มธาตุไนโตรเจน) เช่น นาข้าว , สวนปาล์มน้ำมัน
  • ใช้เป็นอาหารสัตว์พวกวัวควาย
  • ใช้กับพืชผักสีเขียวช่วยเร่งความเจริญเติบโตใช้เพียงครึ่งเดียวของปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เพราะมีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าเท่าตัว ปุ๋ยยูเรียมีราคาแพงกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
ยูเรีย, ธาตุไนโตรเจน, แม่ปุ๋ยยูเรีย, ปาล์มขาดไนโตรเจนม ใบปาล์มเหลือง, ใบปาล์มซีด
อาการปาล์มขาดธาตุไนโตรเจน
1. ต้นเล็กทรงพุ่ม
2. ถ้าขาดรุนแรงจะเห็นใบมีสีเหลืองซีดโดยเริ่มที่ใบแก่ก่อน
3. ใบสีเขียวซีด ต่อไปจะเหลืองทั้งต้น
4. ทางใบสั้นแกร็น
5. ต้นโตช้า
6. ทะลายเล็กลง
7. ปริมาณน้ำมันน้อย

ข้อควรระวังการใช้ปุ๋ยยูเรีย

การให้ปุ๋ยยูเรีย ร่วมกับปุ๋ยสูตรอื่นที่มีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนสูงอยู่แล้วอาจทำให้ปาล์มน็อคปุ๋ยได้
การใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น จะทำให้มีไนเตรทตกค้างในปาล์มน้ำมันสูง จะทำให้ต้นอ่อนแอ ทางใบอวบน้ำ มีความต้านทานโรคน้อยลง และจะทำให้มีปุ๋ยตกค้างในดิน ดินอาจเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพ ทำให้ดินแข็ง เนื่องจากในปุ๋ยไม่ใช่มีแต่ปุ๋ยอย่างเดียวเกินขึ้นหนึ่งในเม็ดปุ๋ยคือสารเติมเต็ม ซึ่งประกอบไปด้วย หิน กรวด ทราย ดิน ซึ่งสารเติมเต็มเหล่านี้ที่จะเข้าไปแทรกในเนื้อดินและดินแข็งขึ้น รากของปาล์มน้ำมันอาจชอนไชออกหาอาหารได้ไม่ดี นอกจากนี้การให้ปุ๋ยยูเรียที่มากเกินจำเป็นจะทำให้ดินเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี ทำให้ดินเค็มถ้าใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่สูงเกินไปมาก

วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องตรวจทดสอบปริมาณแร่ธาตุอาหารในดินที่ปลูก เพื่อกำหนดสัดส่วนการใส่ปุ๋ยได้ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งจังหวะเวลาในการใส่ปุ๋ย เพื่อให้ปาล์มน้ำมันสามารถดูดซึมไปใช้งานได้สูงสุดไม่เหลือตกค้าง และยังเป็นการประหยัดค่าปุ๋ยได้อย่างดี .

อ่านบทความ : ธาตุอาหารที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
อ่านบทความ : สูตรใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน
อ่านบทความ : ไนโตรเจน – อาการขาดธาตุไนโตรเจนเป็นอย่างไร? แก้ไขอย่างไร?

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน