ด้วงกุหลาบ, ใบปาล์ม, ศัตรูปาล์มน้ำมัน, ใบปาล์มถูกกัดแทะ, ใบปาล์มโดนแทะ

ด้วงกุหลาบ – ศัตรูปาล์มน้ำมันตัวสำคัญ…มีวิธีกำจัด และป้องการระบาด อย่างไร?

ชื่ออื่นๆ –
ชื่อสามัญ : Rose Beetle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adoretus compressus Weber
ชื่อวงศ์ : Rutelidae
ชื่อลำดับ : Coleoptera

“ด้วงกุหลาบ” จะกัดกินทำลายใบปาล์มน้ำมันเล็กในแปลงปลูก โดยเฉพาะในที่ดินบุกเบิกใหม่ จะกัดใบในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็กใบโกร๋นหมด และชะงักการเจริญเติบโต

 

 

ลักษณะการทำลาย

ด้วงกุหลาบ, ใบปาล์ม, ศัตรูปาล์มน้ำมัน, ใบปาล์มถูกกัดแทะ, ใบปาล์มโดนแทะ
ลักษณะการแทะทำลายใบปาล์มน้ำมัน ของด้วงกุหลาบ
ด้วงกุหลาบ, ใบปาล์ม, ศัตรูปาล์มน้ำมัน, ใบปาล์มถูกกัดแทะ, ใบปาล์มโดนแทะ
ลักษณะการแทะทำลายใบปาล์มน้ำมัน ของด้วงกุหลาบ

 

 

รูปร่างลักษณะ

ไข่

ด้วงวางไข่ในดินเป็นฟองเดี่ยวๆ ไข่ที่ออกใหม่ๆ มีลักษณะกลมรี เปลือกเรียบสีขาวขุ่นมีขนาดกว้าง 0.8 มม. ยาว 1.3 มม. ต่อมาประมาณ 3-5 วัน ไข่จะกลมขึ้นและเป็นสีเหลือง ระยะไข่ขึ้นกับอุณหภูมิของอากาศ ที่อุณหภูมิ 25 0C ระยะไข่เฉลี่ย 6.5 วันส่วนที่อุณหภูมิ 22 0C ระยะไข่เฉลี่ย 8.9 วัน และจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มภายใน 1-2 วัน จึงฟักออกเป็นตัวหนอน

ตัวหนอน
อาศัยอยู่ในดิน ไม่ปรากฏว่าทำความเสียหายให้แก่ต้นพืช ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาว และตัวโค้งงอหัวสีน้ำตาลอ่อนมีเขี้ยวเห็นได้เด่นชัด หนอนที่โตเต็มที่หัวกะโหลกกว้าง 3 มม. และลำตัวยาว 13 – 20 มม. ลำตัวสีขาวมีขนสั้นๆ กระจายทั่วไป ตามลำตัวมีรอยพับย่น ซึ่งจะเป็นปล้อง มีขา 3 คู่ ที่ส่วนอกมีรูหายใจตามข้างลำตัว ข้างละ 8 รูปลายท้องใหญ่ทำให้เคลื่อนไหวไปมาไม่สะดวก หนอนจะมุดดินอยู่ลึกลงไป 3 – 6 นิ้ว และทำเป็นโพรงรอบๆ ตัวเพื่อเป็นที่อาศัย หนอนมีการลอกคราบ 3 ครั้ง

ดักแด้

ตัวหนอนจะหยุดกินอาหารไม่เคลื่อนที่ และหดตัวเล็กลงก่อนเข้าดักแด้ ลักษณะของดักแด้เป็นแบบ exarate pupaสีเหลืองอ่อน มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ที่ปลายท้องที่ขนสีน้ำตาลแดง 2 กระจุก ขนาดของดักแด้ 5.6 x 11.3 มม.

ตัวเต็มวัย
เป็นด้วงปีกแข็งลำตัวป้อมค่อนข้างแบน สีน้ำตาลอ่อน ตาสีดำ มีขนสั้นละเอียดปกคลุมทั่วตัว เพศผู้มีขนาด 4.8×10.3 มม. เพศเมียมีขนาด 5.6×11.2 มม. เพศเมียจะวางไข่เดี่ยว ๆ ในเวลากลางวัน วางไข่ประมาณ 3 – 12 ครั้ง เฉลี่ย 6 ครั้ง ๆ ละ 2 – 5 ฟอง ช่วงการวางไข่ 6 – 20 วัน จำนวนไข่ 10 – 70 ฟอง หรือโดยเฉลี่ย 30 ฟอง

ด้วงกุหลาบ, ใบปาล์ม, ศัตรูปาล์มน้ำมัน, ใบปาล์มถูกกัดแทะ, ใบปาล์มโดนแทะ

ด้วงกุหลาบ, ใบปาล์ม, ศัตรูปาล์มน้ำมัน, ใบปาล์มถูกกัดแทะ, ใบปาล์มโดนแทะ

วงจรชีวิต

  • ระยะไข่ 5 – 11 วัน
  • ระยะหนอน 52 – 95 วัน
  • ระยะดักแด้ 11 – 14 วัน
  • ระยะตัวเต็มวัยเพศผู้ 7 – 26 วัน
  • เพศเมีย 12 – 57 วัน
  • หนอนมีการลอกคราบ 3 ครั้ง

 

การแพร่กระจายและฤดูกาลที่ระบาด

พบด้วงกุหลาบมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน พบในที่ดินมีการบุกเบิกใหม่
เพื่อทำการปลูกปาล์มน้ำมันและเกิดกับปาล์มน้ำมันในระยะแรกปลูกเท่านั้น

การป้องกันกำจัด

  • ใช้สารฆ่าแมลงประเภท carbaryI (Sevin 85% WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  • carbosulfan (Posse 20% EC) อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • พ่นทุก 7 – 10 วัน ในตอนเย็นทั้งใบและบริเวณโคนต้น

อ่านบทความ : ศัตรูปาล์มน้ำมัน มีอะไรบ้าง มีวิธีป้องกันและกำจัดอย่างไร?


ขอบคุณภาพ จาก : https://www.insectimages.org/

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน