หนอนร่านสีน้ำตาล, หนอนร่านสีน้ำตาล, ใบปาล์มถูกกัดแทะ, ใบปาล์มโดนแทะ, ใบปาล์ม

หนอนร่านสีน้ำตาล..ศัตรูตัวร้ายกัดแทะใบปาล์มน้ำมัน
กำจัดและป้องกันอย่างไร?

หนอนร่านสีน้ำตาล เป็นหนอนที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับ หนอนหน้าแมว , หนอนร่านสี่เขา
พบได้ในสวนปาล์มน้ำมัน สวนมะพร้าว มีความสามารถในการทำลายต้นปาล์มน้ำมันเหมือนหนอนหน้าแมว มีรายงานว่าเคยระบาดในประเทศไทย

หนอนร่านสีน้ำตาล, หนอนร่านสีน้ำตาล, ใบปาล์มถูกกัดแทะ, ใบปาล์มโดนแทะ, ใบปาล์ม

หนอนร่านสีน้ำตาล, หนอนร่านสีน้ำตาล, ใบปาล์มถูกกัดแทะ, ใบปาล์มโดนแทะ, ใบปาล์ม

ชื่อสามัญ : The Oil Palm Slug Caterpillar
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Darna Diducta Snellen
ชื่อเดิม : Ploneta Diducta Snellen
ชื่อวงศ์ : Limacodidae
ชื่ออันดับ : Lepidoptera

ลักษณะการทำลาย

หนอนร่านสีน้ำตาล, หนอนร่านสีน้ำตาล, ใบปาล์มถูกกัดแทะ, ใบปาล์มโดนแทะ, ใบปาล์ม
ลักษณะการทำลายของ หนอนร่านสีน้ำตาล

หนอนร่านสีน้ำตาลเป็นหนอนกัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ถ้าอาการรุนแรงมากใบถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ อาจถึงขั้นใบโกร๋นทั้งต้น   เมื่อเกิดมีการระบาดแต่ละครั้งมักต้องใช้เวลาในการกำจัดนานเป็นเพราะหนอนมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น มีทั้งระยะที่เป็นหนอน มีทั้งระยะดักแด้ เราจึงไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ในคราวเดียวได้

 

การระบาด

มักพบการระบาดบนต้นปาล์มน้ำมัน และมักพบการระบาดในช่วงฤดูแล้ง

 

วงจรชีวิต (รวม45-55วัน)

  • ระยะไข่ 4 วัน รูปไข่สีใส แบนราบติดใบผิวเป็นมัน คล้ายหยดน้ำค้าง ถ้าส่องกับแสงแดดจะทำให้เห็นไข่ชัดเจนขึ้น ผีเสื้อจะวางไข่เป็นฟอง ได้ถึง 60-255 ฟอง กระจัดกระจายใต้ใบย่อยของทางใบปาล์มน้ำมัน ขนาดไข่ประมาณ 1.1×1.4 มิลลิเมตร
  • ระยะหนอน 30-37 วัน หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ ๆ มีสีน้ำตาลอ่อน มีกลุ่มขนบนลำตัวเห็นไม่ชัดเจน ส่วนหัวหลบซ่อนอยู่ใต้ลำตัว เคลื่อนไหวช้า หนอนวัยนี้จะกินแทะผิวใบและก้านใบด้วย หนอนที่เจริญเต็มที่มีขนาดลำตัวกว้าง 5-6 มิลลิเมตร ยาว 17-22 มิลลิเมตร สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเทา หรือมีแต้มสีเหลืองอยู่ประปราย
  • ระยะดักแด้ 11-14 วัน รังดักแด้สีน้ำตาล รูปทรงกลม ขนาดของรังดักแด้โดยประมาณ 9 x 11 มม. รังดักแด้จะอยู่ตามซอกโคนทางใบซอกมุมของใบย่อยหรือตามใบพับของใบย่อย
  • ระยะตัวเต็มวัย 2-9 วัน เป็นผีเสื้อกลางคืนนาดเล็ก เวลากลางวันผีเสื้อเกาะนิ่งหุบปีกไม่เคลื่อนไหว จะเคลื่อนไหวบินในช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า ไม่เคลื่อนไหวในเวลากลางวัน

 

การป้องกัน

1. คอยหมั่นสำรวจการระบาดของหนอนภายในสวนปาล์มเป็นประจำ เมื่อพบกลุ่มหนอนให้เฝ้าติดตามว่าหนอนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อตัดสินใจพ่นสารฆ่าแมลงกำจัดก่อนที่หนอนจะเพิ่มขยายจนเป็นวงกว้าง
2. ควรเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีผลกระทบต่อศัตรูธรรมชาติน้อยที่สุด เพราะแมลงศัตรูธรรมชาติในสวนปาล์มน้ำมันเหล่านี้มีความสามารถในการควบคุมหนอนได้อย่างดี
3. ไม่ควรใช้สารกำจัดวัชพืชมากเกินไป และควรมีพืชคลุมดิน หรือปล่อยให้มีวัชพืชต้นเล็กที่ออกดอกสม่ำเสมอขึ้นอยู่ในสวน เพื่อเป็นแหล่งอาหารของแมลงศัตรูธรรมชาติ

หนอนร่านสีน้ำตาล, หนอนร่านสีน้ำตาล, ใบปาล์มถูกกัดแทะ, ใบปาล์มโดนแทะ, ใบปาล์ม

การกำจัด

1. โดยวิธีจับแมลงโดยตรง เช่น ตัดใบย่อยที่มีหนอนทำลายหรือจับผีเสื้อ ซึ่งเกาะนิ่งในเวลากลางวันตามใต้ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือเก็บดักแก้ตามซอกโคนทางใบรอบลำต้น
2. ใช้กับดักแสงไฟ โดยใช้แสงไฟ Black light หรือหลอดนีออนธรรมดา วางบนกะละมังพลาสติก ซึ่งบรรจุน้ำผสมผงซักฟอก ให้หลอดไฟอยู่เหนือน้ำประมาณ 5 – 10 ซม. วางล่อผีเสื้อช่วงเวลา 18.00 – 19.00 น. สามารถช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไป
3. ใช้สารฆ่าแมลงพ่น เริ่มพ่นสารตั้งแต่หนอนยังเล็กอยู่ ควรพ่นซ้ำที่เดิมอีก 1 ครั้ง โดยห่างจากครั้งแรกประมาณ 10 วัน ได้แก่

  • carbaryl (Sevin 85 % MP) ต่ออัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร lambda cyhalothrin (Karate 2.5 % EC) ในอัตรา 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • trichlorfon (Dipterex 95 % WP) ในอัตรา 15 – 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร deltamethrin (Decis 3 % EC) ในอัตรา 5 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • permethrin (Ambush 25 % EC) ในอัตรา 5 – 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • cyfluthrin (Baythriod 10 % EC ) ในอัตรา 5 – 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • chlorpyrifos (Lorsban 40 % EC) ในอัตรา 20 – 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • pirimiphos methyl (Actellic 50 % EC) ในอัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

4. ใช้สารฆ่าแมลงประเภทพ่นฝุ่น เช่น carbaryl (Sevin 5% D)หรือ fenvalerate (Sumicidin 0.3% D) พ่นในช่วงที่มีน้ำค้างเกาะที่ใบ (เวลากลางคืน) ซึ่งต้องระมัดระวังในการปฏิบัติงาน และใช้ในกรณีจำเป็นจริง ๆ
5. ใช้เชื้อ Bacillus thuringiensis (เชื้อ 16,000 i.u) จำนวน 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สารฆ่าแมลงประเภทเชื้อแบคทีเรียทำลายเฉพาะหนอนแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันเท่านั้น ไม่ทำอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์
6. การเจาะลำต้นใส่สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม จำนวน 10 – 15 มล. ต่อต้น
7. ใช้สารสกัดสะเดา กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ได้ทดลองโดยใช้สะเดาอัตราความเข้มข้น 5 % สามารถกำจัดหนอนได้ผลดี
8. การใช้วิธีผสมผสาน เป็นการนำวิธีการกำจัดหลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกัน เช่น

  • การใช้กับดักแสงไฟล่อผีเสื้อในช่วงดักแด้กำลังออกเป็นผีเสื้อสลับกับการใช้สารฆ่าแมลงหรือเชื้อแบคทีเรียในช่วงเป็นหนอนวัยที่ 2 – 3
  • การใช้เชื้อแบคทีเรียสลับกับการใช้สารฆ่าแมลง
  • การใช้ตัวห้ำสลับกับการใช้เชื้อแบคทีเรีย
  • การใช้ระดับเศรษฐกิจเป็นเครื่องกำหนดการฉีดพ่นสารฆ่าแมลง หรือเชื้อแบคทีเรีย

9. ในกรณีที่มีการระบาดเป็นพื้นที่กว้าง สามารถพ่นสารฆ่าแมลงทางเครื่องบิน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดแรงงาน

 

ศัตรูโดยธรรมชาติของหนอน

  • ตัวห้ำทำลายหนอน คือ มวนพิฆาต Eocanthecona Furcellata (Wolf) (Hemiptera : Pentatomidae)
  • ตัวห้ำทำลายหนอน คือ มวนเพชรฆาต Sycanus Collaris F. (Hemiptera : Reduviidae)
  • แตนเบียนทำลายหนอน คือ Apanteles Sp.

อ่านบทความ : ศัตรูปาล์มน้ำมัน มีอะไรบ้าง มีวิธีป้องกันและกำจัดอย่างไร?


ขอบคุณภาพจาก :
willsenekasaputra.blogspot.com
malikrusydiplanters.blogspot.com
mothsofborneo.com

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน