ธาตุโพแทสเซียม

ลักษณะอาการขาดธาตุโพแทสเซียม ในปาล์มน้ำมัน

โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการขาดโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
อาการจุดประสีส้มที่แผ่นใบ (ปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม)
โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการขาดโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
อาการจุดประสีส้มที่แผ่นใบ (ปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม)

● อาการจุดประสีส้มที่แผ่นใบ ซึ่งเมื่อแต่ละจุดมารวมกัน จะทำให้ตรงกลางแผ่นใบมีสีเหลือง และเป็นแถบขาวได้ (white strip) อาการจุดประสีส้มที่แผ่นใบจะเกิดขึ้นที่ใบแก่ก่อน เพราะ K สามารถเคลื่อนที่จากใบแก่ไปยังใบอ่อนได้ จุประสีส้มเล็กๆ สามารถขยายขนาดไปทั่วทั้งแผ่นใบได้ ซึ่งทำให้แสงส่องผ่านทะลุแผ่นใบได้เมื่อโดนแดดโดยตรง

 

โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการขาดโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
เส้นกลางใบสีเหลือง (ปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม)
โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการขาดโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
เส้นกลางใบสีเหลือง (ปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม)

● อาการบริเวณเส้นกลางใบสีเหลือง จะเกิดขึ้นกับต้นปาล์มที่ปลูกในดินทรายหรือดินพรุที่เป็นกรด และเกิดขึ้นหลังจากผ่านช่วงแล้งที่ยาวนาน ถ้าอาการรุนแรงใบแก่จะแห้งและตายไป

 

โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
ลักษณะการขาดโพแทสเซียมร่วมกับ N และ B

● อาการแถบใบขาว มีความเป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของธาตุ ไนโตรเจน (N) และ การขาด K รวมทั้งโบรอน (B)

 

โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการขาดโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
อาการปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม

● อาการจุดสีส้มจางๆ ซีดเหลือง (chlorotic) ส่วนใหญ่จะกลายไปเป็นอาการรุนแรง จนทำให้เนื้อเยื่อพืชตาย (necrotic) และสามารถทำให้มีเชื้อโรคเข้าทำลายได้ ก่อนที่ใบจะแห้งไป

โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการขาดโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
อาการปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม

● อาการขาดธาตุโพแทสเซียม แบบอื่นๆ เกี่ยวข้องกับการเข้าทำลายของโรคพืชด้วย เช่น โรคเหี่ยว (vascular wilt disease) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum f.sp. elaeidis โรคลำต้นเน่า (basal stem rot) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Ganoderma spp. เพราะเมื่อระบบท่อลำเลียงของพืชถูกทำลาย จะทำให้ขนส่งธาตุอาหารได้น้อย รวมทั้งเกี่ยวของกับการผิดปกติทางสรีรวิทยา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทะลายและต้นพืชไม่พัฒนา

 

วิธีป้องกันการขาดโพแทสเซียม

● ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม ให้เพียงพอ
● นำทะลายปาล์มเปล่าไปคลุมดิน หรือสร้างกองทางใบ เพื่อเป็นอินทรียวัตถุในสวนปาล์มที่เป็นดินทราย ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับต้นปาล์มน้ำมันในการดูดซับปุ๋ย (retention)
● ธาตุโพแทสเซียม จะถูกนำออกไปใช้ในการผลิตผลผลิตเป็นจำนวนมาก ผลผลิตปาล์มสด (FFB) 4 ตัน/ไร่/ปี จะมีโพแทสเซียม 39 กิโลกรัม จึงจำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ย MOP (muriate of potash, 0-0-60, muriate เป็นชื่อเดิมของสารที่มีเกลือของคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ) 29.76 กิโลกรัม/ไร่   หรือ   1.2-1.5 กิโลกรัม MOP/ ต้น

 

วิธีทดสอบอาการขาดโพแทสเซียม

วิธีทดสอบอาการขาดโพแทสเซียม (K) อย่างง่ายๆ คือ ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินรอบต้นปาล์ม ถ้าใบของถั่วมีอาการขอบใบไหม้โดยรอบ แสดงว่ามีธาตุโพแทสเซียมยังไม่เพียงพอ

 

ข้อสังเกตการขาดธาตุโพแทสเซียม

โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
อาการปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม

● พบว่าโพแทสเซียม ในดินที่สามารถแลกเปลี่ยนได้มีค่าน้อยกว่า 0.15 cmol/kg
● การขาดโพแทสเซียม เป็นเรื่องปกติในดินพรุ (peat soil) และดินทราย และเป็นธาตุหลักที่กำหนดระดับของผลผลิต
● อาการขาดโพแทสเซียม มักเกิดขึ้นกับต้นปาล์มที่ปลูกในดินพรุ ดินทรายที่มีค่า pH ต่ำ ซึ่งพัฒนามาจากหินทราย (sandstone) และ หินแกรนิต (granite) ดินกรดที่มีค่าการแลกเปลี่ยนประจุบวกได้น้อย
● พบว่าการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม ที่ไม่เพียงพอสำหรับไปเชยเชยผลผลิตที่นำออกจากแปลงไปกับทะลายปาล์ม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาการขาดโพแทสเซียมจะพบในการใส่ปุ๋ย K ไม่เพียงพอสำหรับต้นปาล์มที่เกิดจากเนื้อเยื่อที่ให้ผลผลิตสูง
● ในพันธุ์ปาล์มที่ให้ผลผลิตสูง เมื่อทะลายปาล์มกำลังจะสุกแก่ จะพบการขาดโพแทสเซียม หากก่อนหน้านี้มีการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม ไม่เพียงพอ

ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, ปุุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน, ปุ๋ยเคมี, ปุ๋ยใส่ปาล์ม, ปุ๋ยปาล์มที่ดีที่สุด, ปุ๋ยใส่ปาล์มยี่ห้อไหนดี, ปาล์มน้ำมัน, ธาตุอาหาร, ปุ๋ยใส่ต้นปาล์ม, ปลูกปาล์ม, ปุ๋ยยูเรีย, ปุ๋ยสำเร็จรูป, ไนโตรเจน,ฟอสฟอรัส,โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, โบรอน, ทองแดง, สังกะสี, ปุ๋ยบำรุงปาล์ม, การให้ปุ๋ย, การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน
ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน “ซีพีไอ พลัส” ปุ๋ยที่วิจัยจากความต้องการของต้นปาล์มนำ้มัน – โทร. 077-975-222


อัตราการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม

โพแทส (potash) หมายถึงธาตุโพแทสเซียมที่เกิดพันธะ (bearing) กับธาตุอื่นๆ เพื่อนำไปทำเป็นปุ๋ย เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl หรือ MOP) โพแทสเซียมซัลเฟต (K2SO4 หรือ sulfate of potash, SOP ) โพแทสเซียมไนเตรท (KNO3 หรือ saltpeter)

โพแทสถูกนำมาทำเป็นปุ๋ยและขายในรูปของออกไซด์ คือ K2O เช่น ปุ๋ย KCl (0-0-60) บริสุทธิ์จะมี K 52.44% หรือ K2O 63.17%
มีวิธีการคำนวณดังนี้ K2O = K x 1.2 หรือ K = K2O x 0.83
หมายความว่าปุ๋ยโพแทสทุกชนิด จะต้องอยู่ในรูปของ K2O กรณีของปุ๋ยสูตรผสม เช่น 5-20-20 จะมี N=5%, P2O5=20% และ K2O= 20% โดยน้ำหนัก

อัตราการใส่ปุ๋ย K (MOP) จึงเป็นดังนี้
• 1.2 ถึง 1.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี สำหรับต้นปาล์มทั่วไป เพื่อชดเชยผลผลิตของปีที่ผ่านมา
• 3.0 ถึง 5.0 กิโลกรัม/ต้น/ปี สำหรับต้นปาล์มที่แสดงอาการขาดโพแทสเซียม

 

อัตราการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม, ปุ๋ยโพแทสเซียม, โพแทสเซียม
อัตราการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม

 

แนวทางการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ ตามอายุของต้นปาล์มน้ำมัน

ต้นปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม แก้ไขโดยการให้แม่ปุ๋ยที่ให้ธาตุโพแทสเซียม เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ สูตร 0-0-60 โดยใส่ตามอายุของต้นปาล์มน้ำมัน

  • ต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 1-2 ปี ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 0.75‐1.00 กิโลกรัม/ต้น/ปี
  • ต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 3-5 ปี ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 1.50‐2.50 กิโลกรัม/ต้น/ปี
  • ต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 6 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 3.00-5.00 กิโลกรัม/ต้น/ปี

 

การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมให้มีประสิทธิภาพ

● แนะนำให้หว่านปุ๋ยรอบทรงพุ่มด้านนอกและระหว่างแถวของต้นปาล์ม ปุ๋ยโพแทสเซียม สามารถใส่ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ
● สำหรับดินทรายควรใส่กระจายทุกรอบของการใส่ปุ๋ย เช่น ถ้าใส่ MOP 5 กิโลกรัม/ต้น/ปี ให้แบ่งใส่ครั้งละ 1.25 กิโลกรัม/ต้น จำนวน 4 ครั้ง
● สำหรับดินพรุและดินทราย ควรใส่หลังจากใส่ปุ๋ยชนิดอื่น มาก่อนแล้ว
● การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม โดยส่วนใหญ่จะใส่ในรูป KCl (MOP) แต่การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม-แมกนีเซียมซัลเฟต (Langbeinite) จะใส่เมื่อต้องการทั้งธาตุโพแทสเซียม และ แมกนีเซียม ด้วย
ซึ่งจะมีส่วนประกอบ ดังนี้
K2O=22%
MgO=18%
และ S=22%

 

อ่านบทความ : ธาตุอาหารที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
อ่านบทความ : สูตรใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน
อ่านบทความ : อาการธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมไม่สมดุล


เครดิตรูปภาพ : mfarmer.co

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน