โพแทสเซียม

โพแทสเซียมคลอไรด์ สูตร 0-0-60, ปาล์มขาด โพแทสเซียม, อาการที่เกิดจากการขาดธาตุของปาล์มน้ำมัน, ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์, โพแทสเซียม (K) , ปาล์มน้ำมัน, ปาล์มใบจุด สีเหลือง ส้ม
โพแทสเซียมคลอไรด์ สูตร 0-0-60

โพแทสเซียม (potassium หรือ K) เป็นธาตุที่มีความสำคัญในการเติบโต มีส่วนในกลไกการเปิด-ปิดของปากใบ มีความสำคัญต่อการขนส่งสารอาหาร การกระตุ้นเอนไซม์ การสังเคราะห์น้ำมันภายในปาล์มน้ำมัน ต้นปาล์มน้ำมันที่ขาดโพแทสเซียม (K) จะทนต่อความแห้งแล้งได้ไม่ดี

ระดับโพแทสเซียม มีผลต่อขนาดของทะลาย จำนวนทะลาย และส่งผลต่อปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวกับการต้านทานโรค

นอกจากนี้โพแทสเซียมยังเป็นธาตุหลักที่กำหนดระดับของผลผลิต

 

ลักษณะอาการขาดธาตุโพแทสเซียม ในปาล์มน้ำมัน

โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
อาการปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม

● อาการจุดประสีส้มที่แผ่นใบ ซึ่งเมื่อแต่ละจุดมารวมกัน จะทำให้ตรงกลางแผ่นใบมีสีเหลือง และเป็นแถบขาวได้ (white strip) อาการจุดประสีส้มที่แผ่นใบจะเกิดขึ้นที่ใบแก่ก่อน เพราะ K สามารถเคลื่อนที่จากใบแก่ไปยังใบอ่อนได้ จุประสีส้มเล็กๆ สามารถขยายขนาดไปทั่วทั้งแผ่นใบได้ ซึ่งทำให้แสงส่องผ่านทะลุแผ่นใบได้เมื่อโดนแดดโดยตรง
● อาการบริเวณเส้นกลางใบสีเหลือง จะเกิดขึ้นกับต้นปาล์มที่ปลูกในดินทรายหรือดินพรุที่เป็นกรด และเกิดขึ้นหลังจากผ่านช่วงแล้งที่ยาวนาน ถ้าอาการรุนแรงใบแก่จะแห้งและตายไป
● อาการแถบใบขาว มีความเป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของธาตุ ไนโตรเจน (N) และ การขาด K รวมทั้งโบรอน (B)
● อาการจุดสีส้มจางๆ ซีดเหลือง (chlorotic) ส่วนใหญ่จะกลายไปเป็นอาการรุนแรง จนทำให้เนื้อเยื่อพืชตาย (necrotic) และสามารถทำให้มีเชื้อโรคเข้าทำลายได้ ก่อนที่ใบจะแห้งไป
● อาการขาดธาตุโพแทสเซียม แบบอื่นๆ เกี่ยวข้องกับการเข้าทำลายของโรคพืชด้วย เช่น โรคเหี่ยว (vascular wilt disease) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum f.sp. elaeidis โรคลำต้นเน่า (basal stem rot) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Ganoderma spp. เพราะเมื่อระบบท่อลำเลียงของพืชถูกทำลาย จะทำให้ขนส่งธาตุอาหารได้น้อย รวมทั้งเกี่ยวของกับการผิดปกติทางสรีรวิทยา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทะลายและต้นพืชไม่พัฒนา

โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
ลักษณะการขาดโพแทสเซียมร่วมกับ N และ B
โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
อาการปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม
โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
อาการปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม

อาการจุดประสีส้มที่แผ่นใบ (ปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม)

วิธีป้องกันการขาดโพแทสเซียม

● ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม ให้เพียงพอ
● นำทะลายปาล์มเปล่าไปคลุมดิน หรือสร้างกองทางใบ เพื่อเป็นอินทรียวัตถุในสวนปาล์มที่เป็นดินทราย ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับต้นปาล์มน้ำมันในการดูดซับปุ๋ย (retention)
● ธาตุโพแทสเซียม จะถูกนำออกไปใช้ในการผลิตผลผลิตเป็นจำนวนมาก ผลผลิตปาล์มสด (FFB) 4 ตัน/ไร่/ปี จะมีโพแทสเซียม 39 กิโลกรัม จึงจำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ย MOP (muriate of potash, 0-0-60, muriate เป็นชื่อเดิมของสารที่มีเกลือของคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ) 29.76 กิโลกรัม/ไร่   หรือ   1.2-1.5 กิโลกรัม MOP/ ต้น

 

วิธีทดสอบอาการขาดโพแทสเซียม

วิธีทดสอบอาการขาดโพแทสเซียม (K) อย่างง่ายๆ คือ ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินรอบต้นปาล์ม ถ้าใบของถั่วมีอาการขอบใบไหม้โดยรอบ แสดงว่ามีธาตุโพแทสเซียมยังไม่เพียงพอ

 

ข้อสังเกตการขาดธาตุโพแทสเซียม

โพแทสเซียม, ธาตุโพแทสเซียม, อาการโพแทสเซียม, ใบปาล์มเป็นจุดสีส้ม, อาการแถบใบขาว
อาการปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม

● พบว่าโพแทสเซียม ในดินที่สามารถแลกเปลี่ยนได้มีค่าน้อยกว่า 0.15 cmol/kg
● การขาดโพแทสเซียม เป็นเรื่องปกติในดินพรุ (peat soil) และดินทราย และเป็นธาตุหลักที่กำหนดระดับของผลผลิต
● อาการขาดโพแทสเซียม มักเกิดขึ้นกับต้นปาล์มที่ปลูกในดินพรุ ดินทรายที่มีค่า pH ต่ำ ซึ่งพัฒนามาจากหินทราย (sandstone) และ หินแกรนิต (granite) ดินกรดที่มีค่าการแลกเปลี่ยนประจุบวกได้น้อย
● พบว่าการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม ที่ไม่เพียงพอสำหรับไปเชยเชยผลผลิตที่นำออกจากแปลงไปกับทะลายปาล์ม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาการขาดโพแทสเซียมจะพบในการใส่ปุ๋ย K ไม่เพียงพอสำหรับต้นปาล์มที่เกิดจากเนื้อเยื่อที่ให้ผลผลิตสูง
● ในพันธุ์ปาล์มที่ให้ผลผลิตสูง เมื่อทะลายปาล์มกำลังจะสุกแก่ จะพบการขาดโพแทสเซียม หากก่อนหน้านี้มีการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม ไม่เพียงพอ

 

อัตราการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม

โพแทส (potash) หมายถึงธาตุโพแทสเซียมที่เกิดพันธะ (bearing) กับธาตุอื่นๆ เพื่อนำไปทำเป็นปุ๋ย เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl หรือ MOP) โพแทสเซียมซัลเฟต (K2SO4 หรือ sulfate of potash, SOP ) โพแทสเซียมไนเตรท (KNO3 หรือ saltpeter)

โพแทสถูกนำมาทำเป็นปุ๋ยและขายในรูปของออกไซด์ คือ K2O เช่น ปุ๋ย KCl (0-0-60) บริสุทธิ์จะมี K 52.44% หรือ K2O 63.17%
มีวิธีการคำนวณดังนี้ K2O = K x 1.2 หรือ K = K2O x 0.83
หมายความว่าปุ๋ยโพแทสทุกชนิด จะต้องอยู่ในรูปของ K2O กรณีของปุ๋ยสูตรผสม เช่น 5-20-20 จะมี N=5%, P2O5=20% และ K2O= 20% โดยน้ำหนัก

อัตราการใส่ปุ๋ย K (MOP) จึงเป็นดังนี้
• 1.2 ถึง 1.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี สำหรับต้นปาล์มทั่วไป เพื่อชดเชยผลผลิตของปีที่ผ่านมา

• 3.0 ถึง 5.0 กิโลกรัม/ต้น/ปี สำหรับต้นปาล์มที่แสดงอาการขาดโพแทสเซีย

อัตราการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม, ปุ๋ยโพแทสเซียม, โพแทสเซียม
อัตราการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม

 

แนวทางการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ ตามอายุของต้นปาล์มน้ำมัน

ต้นปาล์มน้ำมันขาดธาตุโพแทสเซียม แก้ไขโดยการให้แม่ปุ๋ยที่ให้ธาตุโพแทสเซียม เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ สูตร 0-0-60 โดยใส่ตามอายุของต้นปาล์มน้ำมัน

  • ต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 1-2 ปี ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 0.75‐1.00 กิโลกรัม/ต้น/ปี
  • ต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 3-5 ปี ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 1.50‐2.50 กิโลกรัม/ต้น/ปี
  • ต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 6 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 3.00-5.00 กิโลกรัม/ต้น/ปี

 

การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมให้มีประสิทธิภาพ

● แนะนำให้หว่านปุ๋ยรอบทรงพุ่มด้านนอกและระหว่างแถวของต้นปาล์ม ปุ๋ยโพแทสเซียม สามารถใส่ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ
● สำหรับดินทรายควรใส่กระจายทุกรอบของการใส่ปุ๋ย เช่น ถ้าใส่ MOP 5 กิโลกรัม/ต้น/ปี ให้แบ่งใส่ครั้งละ 1.25 กิโลกรัม/ต้น จำนวน 4 ครั้ง
● สำหรับดินพรุและดินทราย ควรใส่หลังจากใส่ปุ๋ยชนิดอื่น มาก่อนแล้ว
● การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม โดยส่วนใหญ่จะใส่ในรูป KCl (MOP) แต่การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม-แมกนีเซียมซัลเฟต (Langbeinite) จะใส่เมื่อต้องการทั้งธาตุโพแทสเซียม และ แมกนีเซียม ด้วย
ซึ่งจะมีส่วนประกอบ ดังนี้
K2O=22%
MgO=18%
และ S=22%

 

 

อ่านบทความ : ธาตุอาหารที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
อ่านบทความ : สูตรใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน
อ่านบทความ : อาการธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมไม่สมดุล


เครดิตรูปภาพ : mfarmer.co

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน