หนอนหน้าแมว

หนอนหน้าแมว, หนอนดาน่า, ศัตรูปาล์มน้ำมัน
หนอนหน้าแมว (หนอนดาน่า) ศัตรูทำลายใบปาล์มน้ำมัน


ชื่ออื่น : หนอนดาน่า

ชื่อสามัญ : The Oil Palm Slug Caterpillar
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Darna furva Wileman
ชื่อวงศ์ : Limacodidae
ชื่ออันดับ : Lepidoptera

 

 

 

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

หนอนหน้าแมว, หนอนดาน่า, ศัตรูปาล์มน้ำมัน
ลักษณะการทำลาย

ศัตรูปาล์มน้ำมัน ที่สำคัญมากอีกหนึ่งชนิด คือ “หนอนหน้าแมว” หรือที่เรียกกันว่า “หนอนดาน่า” เป็นหนอนกัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ถ้าอาการรุนแรงมากใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ หนักมากจนถึงต้นใบโกร๋น ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นปาล์มชะงักการเจริญเติบโต และกว่าต้นจะฟื้นคืนดังเดิมใช้เวลานานเป็นปี เมื่อเกิดมีการระบาดแต่ละครั้งมักต้องใช้เวลาในการกำจัดนาน เป็นเพราะหนอนมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น มีทั้งระยะหนอน ระยะดักแด้ เราจึงไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ในคราวเดียวกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการกำจัดและติดตามการระบาดอย่างต่อเนื่อง

 

หนอนหน้าแมว, หนอนดาน่า, ศัตรูปาล์มน้ำมัน
หนอนใกล้เข้าดักแด้ท้องสีม่วง(บนซ้าย) ดักแด้ (บนขวา) ไข่(ซ้าย) หนอนเกิดใหม่(ขวา)

หนอนใกล้เข้าดักแด้ท้องสีม่วง(บนซ้าย) ดักแด้ (บนขวา) ไข่(ซ้าย) หนอนเกิดใหม่(ขวา)

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

หนอนหน้าแมว, หนอนดาน่า, ศัตรูปาล์มน้ำมัน
หนอนหน้าแมว (หนอนดาน่า) ศัตรูทำลายใบปาล์มน้ำมัน

 

หนอนหน้าแมว, หนอนดาน่า, ศัตรูปาล์มน้ำมัน
รังดักแด้ที่ติดอยู่ตามทางใบ ตัวเต็มวัย

รังดักแด้ที่ติดอยู่ตามทางใบ ตัวเต็มวัย

ไข่
รูปไข่สีใส แบนราบติดใบผิวเป็นมัน คล้ายหยดน้ำค้าง ถ้าส่องกับแสงแดดจะทำให้เห็นไข่ชัดเจนขึ้น ผีเสื้อจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆกระจัดกระจายใต้ใบย่อยของทางใบปาล์มน้ำมัน มักจะพบไข่มากที่สุดบริเวณทางใบตอนล่างนับขึ้นมาจนถึงทางใบที่ 17 และพบบริเวณค่อนไปทางปลายใบเป็นส่วนใหญ่ขนาดประมาณ 1.1 x 1.3 มิลลิเมตร

หนอน
หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ ๆ มีขนาดลำตัว 0.2 x 0.8 มิลลิเมตร สีขาวใส มีสีน้ำตาลอยู่กลางลำตัว มีกลุ่มขนบนลำตัว 4 แถวเห็นไม่ชัดเจน ส่วนหัวหลบซ่อนอยู่ใต้ลำตัว เคลื่อนไหวช้า กินแบบแทะผิวใบ หนอนที่เจริญเต็มที่มีขนาดลำตัวกว้าง 5 – 6 มิลลิเมตร ยาว 15 – 17 มิลลิเมตร มีกลุ่มขนข้างลำตัวข้างละ 11 กลุ่ม สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำแต้มสีเป็นรอยเว้ารูปสามเหลี่ยมจากด้านข้างเข้าหากึ่งกลางลำตัว ปลายยอดสามเหลี่ยมห่างกันเล็กน้อย ภายในสามเหลี่ยมสีตองอ่อนมีขอบเป็นสีเหลือง ส่วนท้ายลำตัวมีสีเหลือง กลางหลังของลำตัวมีเส้นประสีเหลืองและจุดสีดำขนานไปกับกลุ่มขนสีดำอีก 2 แถว

ดักแด้
รังดักแด้สีน้ำตาล รูปทรงกลม ขนาดกว้าง 5 – 6 มิลลิเมตร ยาว 7 – 8 เมตร อยู่ตามซอกโคนทางใบซอกมุมของใบย่อยหรือตามใบพับของใบย่อย

ตัวเต็มวัย
เป็นผีเสื้อกลางคืนนาดเล็ก เวลากลางวันผีเสื้อเกาะนิ่งหุบปีกไม่เคลื่อนไหว จะเคลื่อนไหวบินในช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า

 


การป้องกัน

1. หมั่นสำรวจการระบาดของหนอนเป็นประจำ เมื่อพบกลุ่มหนอนให้ติดตามว่าหนอนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อตัดสินใจพ่นสารฆ่าแมลงกำจัด ก่อนที่หนอนจะเพิ่มขยายจนเป็นวงกว้าง
2. ควรเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีผลกระทบต่อศัตรูธรรมชาติอื่นๆน้อยที่สุด เพราะแมลงศัตรูธรรมชาติในสวนปาล์มน้ำมันเหล่านี้มีความสามารถในการควบคุมหนอนได้อย่างดี
3. ไม่ควรใช้สารกำจัดวัชพืชมากเกินไป และควรมีพืชคลุมดิน หรือปล่อยให้มีวัชพืชต้นเล็กที่ออกดอกสม่ำเสมอขึ้นอยู่ในสวนปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นแหล่งอาหารของแมลงศัตรูธรรมชาติ

 


การกำจัดมีหลายวิธี เช่น


1. โดยวิธีจับแมลงโดยตรง เช่น ตัดใบย่อยที่มีหนอนทำลายหรือจับผีเสื้อ ซึ่งเกาะนิ่งในเวลากลางวันตามใต้ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือเก็บดักแก้ตามซอกโคนทางใบรอบลำต้น

2. ใช้กับดักแสงไฟ
2.1 โดยใช้แสงไฟ Black light หรือหลอดนีออนธรรมดา
2.2  วางบนกะละมังพลาสติก ซึ่งบรรจุน้ำผสมผงซักฟอก
2.3 ให้หลอดไฟอยู่เหนือน้ำประมาณ 5 – 10 ซม.
2.4 วางล่อผีเสื้อช่วงเวลา 18.00 – 19.00 น.
วิธีนี้จะสามารถช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไปได้

3. ใช้สารฆ่าแมลงพ่น เริ่มพ่นสารตั้งแต่หนอนยังเล็กอยู่ ควรพ่นซ้ำที่เดิมอีก 1 ครั้ง โดยห่างจากครั้งแรกประมาณ 10 วัน ได้แก่

  • carbaryl (Sevin 85 % MP) ต่ออัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร lambda cyhalothrin (Karate 2.5 % EC) ในอัตรา 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • trichlorfon (Dipterex 95 % WP) ในอัตรา 15 – 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร deltamethrin (Decis 3 % EC) ในอัตรา 5 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • permethrin (Ambush 25 % EC) ในอัตรา 5 – 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • cyfluthrin (Baythriod 10 % EC ) ในอัตรา 5 – 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • chlorpyrifos (Lorsban 40 % EC) ในอัตรา 20 – 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • pirimiphos methyl (Actellic 50 % EC) ในอัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

4. ใช้สารฆ่าแมลงประเภทพ่นฝุ่น เช่น carbaryl (Sevin 5% D)หรือ fenvalerate (Sumicidin 0.3% D) พ่นในช่วงที่มีน้ำค้างเกาะที่ใบ (เวลากลางคืน) ซึ่งต้องระมัดระวังในการปฏิบัติงาน และใช้ในกรณีจำเป็นจริง ๆ

5. ใช้เชื้อ Bacillus thuringiensis (เชื้อ 16,000 i.u) จำนวน 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สารฆ่าแมลงประเภทเชื้อแบคทีเรียทำลายเฉพาะหนอนแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันเท่านั้น ไม่ทำอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์

6. การเจาะลำต้นใส่สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม จำนวน 10 – 15 มล. ต่อต้น

7. ใช้สารสกัดสะเดา กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ได้ทดลองโดยใช้สะเดาอัตราความเข้มข้น 5 % สามารถกำจัดหนอนได้ผลดี

8. การใช้วิธีผสมผสาน เป็นการนำวิธีการกำจัดหลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกัน เช่น

  • การใช้กับดักแสงไฟล่อผีเสื้อในช่วงดักแด้กำลังออกเป็นผีเสื้อสลับกับการใช้สารฆ่าแมลงหรือเชื้อแบคทีเรียในช่วงเป็นหนอนวัยที่ 2 – 3
  • การใช้เชื้อแบคทีเรียสลับกับการใช้สารฆ่าแมลง
  • การใช้ตัวห้ำสลับกับการใช้เชื้อแบคทีเรีย
  • การใช้ระดับเศรษฐกิจเป็นเครื่องกำหนดการฉีดพ่นสารฆ่าแมลง หรือเชื้อแบคทีเรีย

9. ในกรณีที่มีการระบาดเป็นพื้นที่กว้าง สามารถพ่นสารฆ่าแมลงทางเครื่องบิน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดแรงงาน

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน