ปัญหาต้นปาล์มล้ม..มีสาเหตุมาจากอะไร?
และมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร??

ปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมัน, ต้นปาล์มน้ำมัน, ต้นปาล์มน้ำมันล้ม
ปาล์มน้ำมัน – ปัญหาต้นปาล์มล้ม..มีสาเหตุมาจากอะไร??
ปาล์มน้ำมัน, ต้นปาล์มน้ำมัน, ต้นปาล์มน้ำมันล้ม
ปาล์มน้ำมัน – ปัญหาต้นปาล์มล้ม..มีสาเหตุมาจากอะไร??
ปาล์มน้ำมัน, ต้นปาล์มน้ำมัน, ต้นปาล์มน้ำมันล้ม
ปาล์มน้ำมัน – ปัญหาต้นปาล์มล้ม..มีสาเหตุมาจากอะไร??

 

ต้นปาล์มที่มีลักษณะต้นล้ม ต้นเอียง ไม่ตั้งตรงเหมือนต้นอื่นๆที่ปกติ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหลักๆ จะเกี่ยวเนื่องจากลักษณะของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะส่งผลกับระบบรากของต้นปาล์ม ทำให้มีการยึดเกาะได้น้อย โดยลักษณะของดินประเภทต่างๆ สามารถแบ่งได้ ดังนี้

 

ดิน, ปลูกปาล์มน้ำมัน, ประเภทของดิน
ดินพรุ

1. ดินพรุ

เป็นดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง เกิดในบริเวณที่ลุ่มน้ำขัง เมื่อปลูกไปชั้นอินทรีย์วัตถุจะยุบต่ำลงทำให้โคนต้นลอยและต้นล้ม

แนวทางการแก้ไข

พื้นที่แบบนี้ก่อนปลูกต้องมีการเตรียมแปลง เช่น การบดอัดดินพรุโดยใช้เครื่องจักรกล บดอัดดินตามแถวปลูกและแนวเก็บเกี่ยว การบดอัดดินเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปลูกปาล์มน้ำมันในดินพรุ โดยจะต้องใช้ รถขุดไฮดรอลิค บดอัดดิน ทั้งทางเดินที่ใช้ในการเก็บผลผลิต และแถวปลูก ในครั้งแรกรถขุดจะต้องเอาซากพืชที่ตกค้างในดินพรุออกมาแล้วลากมากองรวมกันเป็นแนวบริเวณที่ไม่ได้ปลูกปาล์มน้ำมัน ตามด้วยรถขุดวิ่งบดอัดดิน 2 – 3 เที่ยวในดินที่เปิดใหม่ ต้องบดอัดให้ดินยุบลงไปประมาณ 50 ซม. หรือใช้เทคนิคปลูกแบบหลุมเล็กในหลุมใหญ่ (hole in hole) เพื่อให้รากถึงดินชั้นล่างเร็วเพื่อป้องกันต้นปาล์ม เอน ล้ม

 

 

ดิน, ปลูกปาล์มน้ำมัน, ประเภทของดิน
ดินทราย

2. ดินทราย

แม้ว่าเนื้อดินจะโปร่งและซุยก็จริง แต่เม็ดทรายกระจายอยู่เป็นเม็ดเดี่ยวๆ (single grain) ไม่มีการเกาะกันเป็นโครงสร้างแบบก้อนกลม จึงไม่มีสมบัติทางด้านการอุ้มน้ำที่ดี เมื่อฝนตกดินอุ้มน้ำได้น้อยจึงเกิดสภาพแห้งแล้งได้ง่าย พืชที่ปลูกจะขาดน้ำง่าย ถ้าในสวนปาล์มของเรา ไม่มีวัสดุคลุมดินหรืออยู่พื้นที่ลาดเอียงก็จะทำให้การชะล้างหน้าดินสูง ทำให้ดินที่อยู่บริเวณโคนปาล์มมีน้อย การยึดเกาะของระบบรากไม่ดี จึงมีโอกาสที่ต้นจะล้มเอียงได้

แนวทางการแก้ไข
การแก้ไข ปัญหาการปลูกปาล์ม บนดินทราย คิอต้องหาวัสดุมาคลุมหน้าดินเพื่อรักษาความชื้นและชลอการไหลของน้ำ

 

 

ดิน, ปลูกปาล์มน้ำมัน, ประเภทของดิน
ดินเหนียว

3. ดินเหนียว

อนุภาคเกาะกันแน่นเป็นก้อนทึบ (massive) อุ้มน้ำได้มากเมื่อฝนตก แต่จะแน่นทึบไม่โปร่งซุยเหมือนดินทราย ไถพรวนยาก การถ่ายเทและการระบายน้ำไม่ดี เกิดน้ำท่วมขัง รากปาล์มไม่สามารถเจริญเติบโตดูดน้ำและธาตุอาหารได้. ทำให้การยึดเกาะของระบบรากปาล์มไม่ดี

แนวทางการแก้ไข
ควรมีการขุดร่องระบายน้ำไม่ให้ท่วมขังและมีการปรับสภาพดินก่อน

 

 

ดิน, ปลูกปาล์มน้ำมัน, ประเภทของดิน
ดินลูกรัง

4. ดินลูกรัง

ดินลูกรัง เป็นดิน ที่มีลักษณะเป็นหินบดละเอียด มีทั้งสีแดง สีเหลือง สีจะแต่ต่างกันตามพื้นที่ที่มาของลูกรัง เป็นดินที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชเนื่องจากมี่ปริมาณหน้าดินน้อยและมีธาตุอาหารต่ำ

แนวทางการแก้ไข
การปลูกปาล์มในดินลูกรังต้องปรับปรุงคุณภาพของดินให้มีความเหมาะสมก่อน ไม่เช่นนั้นจะทำให้รากปาล์มมีน้อยและจะส่งผลให้ต้นล้มได้ เช่น การหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ,ใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักช่วย ถ้าเราทำให้ระบบรากปาล์มพัฒนาการได้ดี ต้นปาล์มแข็งแรง โอกาสที่จะพบต้นล้มหรือต้นเอียงก็จะมีน้อยลง

 

 

ดิน, ปลูกปาล์มน้ำมัน, ประเภทของดิน

นอกจากนี้ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องก็ยังมีอีกหลายสาเหตุ เช่น ปลูกกล้าปาล์มตื้นเกินไปทำให้โคนต้นลอย มีน้ำขัง พื้นที่มีอินทรีย์วัตถุเยอะเกินไป พื้นที่มีหินรากขยายไม่ได้ หน้าดินถูกชะล้าง และ โรคหรือแมลงทำลาย เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรควรจะมีการสังเกตุพื้นที่ปลูกและลักษณะอาการของปาล์มน้ำมันที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาต้นปาล์มน้ำมันล้มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน