ภายหลัง น้ำท่วมสวนปาล์มน้ำมัน ..ควรดูแลอย่างไร??

น้ำท่วมสวนปาล์มน้ำมัน ต้นปาล์มน้ำมันที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะน้ำท่วม จะเกิดความเครียด เนื่องจากรากขาดอากาศหายใจ ซึ่งจะส่งผลให้การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตลดลง ความเสียหายที่ได้รับจากสภาวะน้ำท่วมขัง อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อายุของต้นปาล์มน้ำมัน คุณภาพของน้ำที่ท่วมขัง จำนวนวันที่ท่วมขัง ระดับของน้ำที่ท่วมขัง เป็นต้น
ซึ่งการฟื้นฟูต้นปาล์มน้ำมันภายหลังน้ำท่วม ควรทำอย่างไร และมีขั้นตอนการดูแลอย่างไร..ซีพีไอ..มีคำตอบครับ

สวนปาล์ม, น้ำท่วมสวนปาล์ม, สวนปาล์มน้ำมัน, น้ำท่วมภาคใต้

 

ความเสียหายที่จะเกิดกับต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 1-3 ปี เมื่อถูกน้ำท่วมขัง

น้ำท่วมสวนปาล์ม, วิธีดูแลสวนปาล์มน้ำมันหลังน้ำท่วม, ความเสียหายที่จะเกิดกับปาล์ม้ำมันที่ถูกน้ำท่วม, น้ำท่วมสวน

 

ความเสียหายที่จะเกิดกับต้นปาล์มน้ำมัน อายุมากกว่า 3 ปี เมื่อถูกน้ำท่วมขังน้ำท่วมสวนปาล์ม, วิธีดูแลสวนปาล์มน้ำมันหลังน้ำท่วม, ความเสียหายที่จะเกิดกับปาล์ม้ำมันที่ถูกน้ำท่วม, น้ำท่วมสวน


การดูแลสวนปาล์มหลังน้ำท่วม

สวนปาล์ม, น้ำท่วมสวนปาล์ม, สวนปาล์มน้ำมัน, น้ำท่วมภาคใต้

  1. รีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเร็ว โดยรักษาระดับน้ำให้ต่ำกว่าบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันประมาณ 30 เซนติเมตร
  2. ไม่เข้าไปเหยียบย่ำภายในสวน ในขณะดินยังมีความชื้นอยู่ ไม่ควรเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเด็ดขาด ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง หรือนำเครื่องจักรกลเข้าในแปลงปลูก เพราะหน้าดินที่ถูกน้ำขังจะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นของดิน จึงเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ และระบายอากาศ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากพืช อาจทำให้ต้นปาล์มน้ำมันโทรม หรือตายได้ และไม่ควรตัดแต่งทางใบหรือทะลายที่เน่าเสียหาย เพราะจะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันโยกคลอนและรากที่เกิดใหม่ได้รับความเสียหาย เมื่อพื้นแห้งแล้วจึงตัดแต่งทางใบและทะลายที่เน่าเสียออก
  3. ตั้งต้นปาล์มให้ตรง หากต้นปาล์มน้ำมันล้มเอียงให้ยกต้นตั้งตรงก่อนที่ดินจะแข็ง
  4. ปรับแต่งดินที่โคนต้น ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะล้างนำเอาหน้าดิน หรือทรายมาทับถมบริเวณโคนต้น หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วเกษตรกรควรปรับแต่งดินเหล่านั้นออกจากโคนต้นปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้หากพบต้นปาล์มน้ำมันที่ล้มหรือเอนเอียงเกษตรกรควรจัดการให้ต้นตั้งตรงเช่นเดิมโดยใช้ไม้ค้ำยันก่อนที่ดินจะแห้งแข็
  5. ตรวจ/ทำลายต้นตาย หากตรวจพบต้นปาล์มน้ำมันตาย เกษตรกรควรขุดต้นที่ตายและทำลายทิ้ง ใช้ปูนขาวโรยในหลุมปลูกเพื่อฆ่าเชื้อโรคทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ รองก้นหลุมด้วยร็อกฟอสเฟส 0-3-0 ครึ่งกิโลกรัม แล้วปลูกซ่อมทันที
  6. ฟื้นฟูต้นปาล์มน้ำมัน
    – ระยะสั้น (หลังน้ำลด 10 – 15 วัน) ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 50-100 กรัม/ต้น โดยการฉีดพ่นให้ทางใบจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า
    – ระยะยาว เมื่อดินแห้งให้ปรับสภาพดินโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกจากนั้นอีก 15-20 วัน เมื่อรากฝอยแตกบริเวณผิวหน้าดินให้ใส่ปุ๋ยเคมีได้ตามปกติ
  7. โรยปูนขาว หลังน้ำลดและดินเริ่มแห้งแล้วเกษตรกรควรใช้ปูนขาวโรยบริเวณรอบโคนรัศมีทางใบปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับสภาพดินและฆ่าเชื้อโรคที่มาจากน้ำท่วม และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดินให้ดีขึ้น และใส่ปุ๋ยสูตร 0-3-0 หลังจากโรยปูนขาวประมาณ 7-15 วัน เพื่อเร่งการเจริญของระบบราก ปาล์มเล็กใช้ปริมาณ 500 กรัม ปาล์มใหญ่ใช้ปริมาณ 1.5 กิโลกรัม
  8. ให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อช่วยให้ปาล์มน้ำมันฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เกษตรกรควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เพราะระบบรากพืชยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 21-21-21
  9. ตัดทะลายเน่าทิ้ง ในปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว หากน้ำท่วมทะลายเป็นเวลานานจะทำให้ทะลายเน่า เกษตรกรควรตัดทะลายเน่าทิ้ง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดเชื้อรา และแพร่กระจายไปยังทะลายอื่นหรือส่วนอื่นๆได้
  10. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคต่างๆ ภายหลังจากน้ำท่วม มักเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ยอดเน่า ทะลายเน่า รากเน่า เกษตรกรควรใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น เมตาเลคซิล (ริโดมิล) หรือ ไทแรม หรือ คาร์บอกซิล ผสมน้ำ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เกษตรกรควรตัดยอดปาล์มน้ำมัน หรือส่วนที่เน่าออกก่อน แล้วฉีดพ่นสารเคมีตาม

หากสวนปาล์มของท่านได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมดังที่ได้กล่าวมา ขอให้ท่านได้ปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ แล้วสวนปาล์มของท่านจะฟื้นกลับมาและให้ผลผลิตกับท่านอย่างแน่นอน

พันธุ์ปาล์มน้ำมัน, ต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน, ต้นกล้า ซีพีไอ, CPI HYBRID, oil palm seedling, พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดีที่สุดม สุดยอดพันธุ์ปาล์ม, ปาล์ม, ปาล์มน้ำมัน, พันธุ์ปาล์มซีพีไอ, ต้นกล้าปาล์ม, ต้นกล้าพันธุ์ปาล์ม, ต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด, ต้นกล้าปาล์มน้ำมัน, พันธุ์ปาล์มน้ำมัน, ต้นกล้า ซีพีไอ, CPI HYBRID
ต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด – โทร. 077-975-522

อ้างอิง :
– ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร (www.doa.go.th)

– สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน