ตารางใส่ปุ๋ยปาล์ม

ตารางใส่ปุ๋ยปาล์ม ปริมาณธาตุอาหารในรูปของปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อสร้างต้นก่อนให้ทะลาย กับที่ต้องใช้ทั้งในการสร้างต้นและสร้างทะลาย ดังแสดงในตารางด้านล่างนี้
(คำนวณโดยใช้ข้อมูลจาก International Potash Institute, 1991 และข้อมูลของ CPI)

สูตรใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, ตารางใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, สูตรปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, อัตราการให้ปุ๋ยเคมีประจำปี, ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, ปุุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน, ปุ๋ยเคมี, ปุ๋ยใส่ปาล์ม, ปุ๋ยปาล์มที่ดีที่สุด, ปุ๋ยใส่ปาล์มยี่ห้อไหนดี, ปาล์มน้ำมัน, ธาตุอาหาร, ปุ๋ยใส่ต้นปาล์ม, ปลูกปาล์ม, ปุ๋ยยูเรีย, ปุ๋ยสำเร็จรูป, ไนโตรเจน,ฟอสฟอรัส,โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, โบรอน, ทองแดง, สังกะสี, ปุ๋ยบำรุงปาล์ม, การให้ปุ๋ย, การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน, วิธีใช้ปุ๋ย ซีพีไอ พลัส, ตารางใส่ปุ๋ย ซีพีไอ พลัส
สูตรใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ตารางใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ประจำปี

แนวทาง การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน มีดังนี้

ตารางการใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมันเนื่องจากดินปลูกปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อหยาบ สามารถดูดซับธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีได้ในปริมาณน้อย มีโอกาสสูญเสียไปกับการชะล้างของฝนได้ จึงควรเติมอินทรียวัตถุลงดินก่อน เช่นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในขณะที่ต้นปาล์มยังเล็ก หรือใช้ทะลายปาล์มเปล่าคลุมโคนและพยายามเติมให้ได้ทุกปี
เมื่อต้นโตให้สร้างแถวกองทาง คือนำใบที่ตัดออกจากต้นมากองเป็นแนวขนานกับแถวปาล์มน้ำมัน แถวเว้นแถวหรือทุกแถว วางทับซ้อนกันไปเรื่อยๆ เวลาใส่ปุ๋ยเคมีให้สาดใส่บนอินทรีย์วัตถุหรือบนกองทางใบ อินทรียวัตถุที่ได้จากการย่อยสลายของทางใบเป็นตัวช่วยตรึงปุ๋ยไม่ให้ถูกน้ำชะล้างไป และยังช่วยรักษากิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินให้ช่วยย่อยทางใบและสลายเป็นอินทรียวัตถุบำรุงดินได้เร็วขึ้นต่อไป

การใส่ปุ๋ยเคมีหลัก กับ ปูนโดโลไมท์ จะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันได้ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และกำมะถัน ซึ่งเป็นธาตุที่ต้นพืชต้องการในปริมาณที่มาก

ส่วนจุลธาตุอื่นๆ  เช่น โบรอนเป็นที่ธาตุที่ต้นปาล์มน้ำมันต้องการชัดเจน จึงควรใส่โบรอนทุกปีโดยเฉพาะเมื่อใบแสดงอาการขาด ใส่ในรูปของปุ๋ยที่ให้ทางดิน ชื่อทางการค้า Fertibor หรือ Quibor มี 15%B ในปริมาณ 50-100 กรัมต่อต้นต่อปี

ส่วนจุลธาตุที่มีโอกาสขาดได้คือ ธาตุทองแดงกับสังกะสี ซึ่งควรใส่โดยพิจารณาจากค่าวิเคราะห์เคมีของใบ โดยวิธีการใส่จุลธาตุก็หว่านไปบนกองทางเช่นเดียวกับปุ๋ยเคมี

การใส่ปุ๋ยควรใส่หลังจากที่มีการกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นปาล์ม เพื่อลดการแข่งขันในการดูดธาตุอาหารระหว่างปาล์มน้ำมันกับวัชพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ต้นปาล์มมีขนาดเล็ก

 

ลำดับการใส่ปุ๋ยในรอบปี

การใส่แม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ ให้พิจารณาจากความยากง่ายในการละลายน้ำของปุ๋ย ดังนี้

■ ปุ๋ยหินฟอสเฟตและโดโลไมท์ มีความสามารถในการละลายน้ำได้น้อย จึงใส่ในช่วงไหนของปีก็ได้ เพียงแต่ต้องระวังที่ลาดชันมากๆที่มีน้ำไหลบ่าพาปุ๋ยออกจากพื้นที่
■ ส่วนปุ๋ยที่ละลายในน้ำได้มากคือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต(21-0-0) หรือยูเรีย และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ควรแบ่งใส่อย่างน้อยเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกในช่วงต้นฝนและอีกครั้งในช่วงปลายฝน คือ ประมาณ 60% ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใส่ทั้งปี เพราะเมื่อฝนตกต้นปาล์มจะได้นำปุ๋ยไปใช้ได้ทันที ปุ๋ยส่วนที่เหลือค่อยใส่ตอนปลายฝน เพราะช่วงฝนจะมีความลำบากในการเข้าไปปฏิบัติงานในสวน ให้หลีกเลี่ยงช่วงฝนตกชุกที่มีโอกาสของการชะปุ๋ยไปตามน้ำฝน หรือจะแบ่งใส่เป็น 3 ครั้งต่อปี คือ ต้นฝน 40% กลางฝน 30% และปลายฝน 30% ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใส่ทั้งปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแรงงานที่มี
■ ปูนโดโลไมท์มีระดับความเป็นด่างสูง หากให้ปุ๋ยไนโตรเจนสัมผัสกับปูนโดยตรง จะมีโอกาสที่สารประกอบไนโตรเจนถูกเปลี่ยนเป็นแก๊สแอมโมเนีย ซึ่งจะระเหยสูญเสียจากดินได้ จึงเป็นข้อแนะนำว่าการใส่ปูน ให้โรยเป็นทางด้านหนึ่ง ส่วนการใส่ปุ๋ยตัวอื่นให้ใส่บนกองทางที่จะไม่ทับลงไป บนปูนโดยตรง การใส่ปุ๋ยตัวอื่นๆให้หว่านกระจายไปทั่วกองทางให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้จะช่วยให้ชิ้นส่วนทางใบถูกย่อยสลายได้ง่ายขึ้นด้วย


ช่วงเวลาในการใส่ปุ๋ย

เรื่องของเวลาในการเลือกใส่ปุ๋ย นั้นเป็นสิ่งที่เกษตรควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
การใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ประสิทธิภาพลดลง (การตอบสนองของปาล์มน้ำมันต่อการใส่ปุ๋ยลดลง ธาตุอาหารในปุ๋ยสูญเสียไป)

แนะนำช่วงเวลาที่เหมาะในการใส่ปุ๋ย
■ หลังช่วงเดือนที่มีฝนตกเล็กน้อย
■ ช่วงที่ดินมีความชื้นในระดับที่เหมาะสม

ช่วงเวลาที่ควรหลีกเลี่ยงในการใส่ปุ๋ย
■ เลี่ยงเดือนที่มีฝนตกหนัก หรือหลังช่วงที่ฝนตกติดต่อเนื่องยาวนาน เพราะจะทำให้ธาตุอาหารถูกชะล้างไปกับฝนได้ง่าย (ช่วงเดือนที่มีปริมาณฝนตกมากกว่า 250 มม./เดือน)
■ เลี่ยงช่วงหน้าแล้ง เพราะเป็นฤดูที่การเคลื่อนย้ายของธาตุอาหารจากดินไปสู่รากพืชลดลง (ช่วงในเดือนที่ฝนตกน้อยกว่า 25 มม./เดือน)
■ เลี่ยงเดือนที่มีฝนตก จำนวนมากกว่า 15 วัน/เดือน

ข้อควรเข้าใจคือ ท่อน้ำและท่ออาหารภายในลำต้นพืชมีการเชื่อมติดต่อถึงกัน การให้พื้นที่บางบริเวณของดินในเขตรากพืชมีความชื้นและมีธาตุอาหารเพียงพอ จะทำให้เกิดกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินได้มาก ซึ่งจะส่งเสริมการดูดใช้ธาตุอาหารของต้นพืชได้ผลดีกว่าการหว่านลงดินทั่วบริเวณต้น (แบบหว่านรอบโคนต้น) ที่มีสภาพแห้งและมีกิจกรรมจุลินทรีย์น้อย การสร้างกองทางใบ จึงเป็นแนวทางที่เราแนะนำให้ปฏิบัติเพราะช่วยลดการระเหยของน้ำ โดยข้างใต้กองทางเป็นจุดที่รักษาความชื้นได้ดี และเป็นบริเวณที่รากของต้นปาล์มน้ำมันจะขยายแผ่มาอยู่อย่างหนาแน่น และรากปาล์มสามารถยังชีวิตอยู่ได้ในช่วงแล้ง

ภาพ การวางกองทางใบและใส่ปุ๋ยบนกองทางใบ
การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน

บทความ : กองทางใบคืออะไร? และวิธีสร้างกองทางใบทำอย่างไร?

บทความ : สูตรใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน และการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตสูงและลดต้นทุน

พันธุ์ปาล์มน้ำมัน, ต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน, ต้นกล้า ซีพีไอ, CPI HYBRID, oil palm seedling, พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดีที่สุดม สุดยอดพันธุ์ปาล์ม, ปาล์ม, ปาล์มน้ำมัน, พันธุ์ปาล์มซีพีไอ, ต้นกล้าปาล์ม, ต้นกล้าพันธุ์ปาล์ม, ต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด
ต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด – โทร. 077-975-522

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน