การเลือกต้นกล้าปาล์มน้ำมัน
เชื่อว่าเกษตรกรหลายๆท่าน คงเคยประสบปัญหา ต้นปาล์มไม่สมบูรณ์ บางต้นไม่ออกลูก บางต้นได้ผลผลิตน้อย วันนี้ ซีพีไอ ไฮบริด มีเคล็ดลับการแก้ปัญหาเหล่านี้ตั้งแต่ต้นทางของการปลูกมานำเสนอครับ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ง่ายและช่วยให้ผลผลิตของต้นปาล์มในระยะยาวเป็นที่น่าพอใจ ขั้นตอนนี้ก็คือ “การคัดทิ้งต้นกล้าที่ผิดปกติ

 

การคัดทิ้งต้นกล้าที่ผิดปกติ

ถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมากในการจัดการแปลงเพาะปาล์ม เพราะสามารถส่งผลกระทบต่อปริมาณและความสม่ำเสมอในการออกผลผลิตของต้นปาล์มได้ ซึ่งเกษตรกรควรคัดต้นกล้าอย่างรัดกุมและใช้วิธีการที่ถูกต้องครับ

ก่อนอื่นเรามาดูสัดส่วนการคัดเลือกต้นกล้ากัน โดยแบ่งได้เป็น 2 ระยะ
ระยะอนุบาลแรก คัดต้นกล้าทิ้งจะมีปริมาณ 10-15% (โดยส่วนใหญ่มีสัดส่วนต้นกล้าตายประมาณ 5% ส่วนอีก 10% จะเป็นต้นกล้าที่ไม่สมบูรณ์และผิดปกติ)
ระยะอนุบาลหลัก คัดต้นกล้าทิ้งจะมีปริมาณ 10%

ซึ่งก่อนเราจะทำการ “คัดทิ้งต้นกล้าที่ผิดปกติ” เราต้องทำความเข้าใจลักษณะต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์กันก่อนครับ

 

ลักษณะต้นกล้าปาล์มที่สมบูรณ์

ลักษณะต้นกล้าปาล์มที่สมบูรณ์
ลักษณะต้นกล้าปาล์มที่สมบูรณ์

อายุหลังย้ายลงแปลงอนุบาลหลัก มีอายุมากกว่า 7 เดือน
ความสูงจากโคนต้นถึงปลายใบ มากกว่า 70 cm.
มีใบที่แตกขนนกไม่น้อยกว่า 6 ใบ
โคนต้นใหญ่ ไม่น้อยกว่า 6 เซนติเมตร
สีของใบเป็นสีเเขียวเข้ม

เมื่อเราทราบถึงลักษณะต้นกล้าที่สมบูรณ์แล้ว คราวนี้เรามาดูกันครับว่า ต้นกล้าลักษณะแบบไหนที่เป็นต้นกล้าตายหรือเป็นต้นกล้าที่ไม่สมบูรณ์และมีความผิดปกติกัน

 

ลักษณะต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ผิดปกติและต้องคัดออก

เราสามารถสังเกตลักษณะผิดปกติต่างๆ ของต้นกล้า ได้จากลักษณะใดลักษณะนึงจาก 8 ข้อดังต่อไปนี้

 ลักษณะที่ 1 ใบย่อยไม่คลี่  ( Juvenile Seedling ) สังเกตได้จากใบต้นกล้า ใบจะไม่คลี่ออกเป็นใบย่อยหรือคลี่ออกบางส่วน  ซึ่งส่วนมากอาการของใบไม่คลี่ จะคล้ายกับต้นปาล์มที่เป็นหมัน  (Sterile Palm )
ลักษณะที่ 2 ต้นสูงชะลูดหรือต้นเป็นหมัน( Upright or Sterile Seedling )
ต้นกล้าปาล์มจะมีลักษณะทางใบที่ทำมุมแคบ ทางใบตั้งตรง และบางส่วนของใบจะแข็ง ทางใบด้านล่างทำมุมกว้าง ลำต้นสูงชะลูด
ลักษณะที่ 3 ใบเกิดใหม่สั้น ( Flat Top Seedling )
ลักษณะของต้นกล้า เมื่อมองจากมุมด้านบน จะเห็นใบเกิดใหม่มีขนาดสั้นกว่าใบเก่า
ลักษณะที่ 4 ต้นเล็กแคระแกร็น ( Runts )
ลักษณะของต้นกล้ามีการเจริญเติบโตช้า หรือมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ ซึ่งทำให้ต้นกล้ามีขนาดเล็กและแคระแกร็น
ลักษณะที่ 5 ใบย่อยแน่นทึบ ( Short Internode )
ลักษณะใบเหมือนรูปขนนก และจะเรียงอยู่ชิดแน่น
ลักษณะที่ 6 ทางใบตกและลำต้นอ่อนแอ ( Limp Form )
ทางใบของต้นกล้าชนิดนี้จะอ่อนแอ และทางใบจะลู่ลงหรือทางใบตก ซึ่งทำให้สังเกตเห็นลักษณะต้นกล้าเป็นแบบ Flat top สำหรับระยะเวลาของการแสดงอาการผิดปกตินี้จะค่อนข้างสั้น
ลักษณะที่ 7 ใบกึ่งกลางคอด ( Collante )
ลักษณะอาการของใบไม่คลี่ตรงกึ่งกลางใบ ส่วนใหญ่จะเกิดกับใบที่มีลักษณะสองแฉก
ลักษณะที่ 8 ใบขาวซีด ( Chimera )
ซึ่งเป็นลักษณะของการที่ต้นกล้าไม่มีคลอโรฟิลล์ สาเหตุเกิดจากพันธุกรรมของปาล์มน้ำมัน ส่วนใหญ่จะแสดงอาการในช่วงต้นกล้าอายุ 4 เดือนหลังปลูกเมล็ดงอก

เมื่อสังเกตลักษณะผิดปกติต่างๆ ของต้นกล้าปาล์มตามที่ระบุด้านบนแล้ว หากเราพบลักษณะดังกล่าวให้ทำการคัดแยกทิ้ง โดยไม่นำมาลงแปลงปลูกอีกเพราะเมื่อปาล์มเติบโตขึ้นอาจจะไม่ได้ผลผลิตปาล์มที่สมบูรณ์ได้ครับ

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน