ทะลาย, ปาล์มน้ำมัน
ทะลาย ปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชพลังงานที่ถูกใช้มากเป็นอันดับ 2 ของโลก และถือเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันต่อพื้นที่สูงสุด แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยยังประสบปัญหาเรื่องของผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ยังต่ำอยู่มาก สาเหตุใหญ่มาจากการปลูกพันธุ์ปาล์มที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ จนถึงการขาดความรู้เรื่องการจัดการปัจจัยการผลิตให้ตรงตามความต้องการของ ปาล์มน้ำมัน บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน จำกัด (มหาชน) (ซีพีไอ) เป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำมันปาล์มคุณภาพ ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ด้วยประสบการณ์การดำเนินธุรกิจมากว่า 30 ปี และเป็นบริษัทแรกของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะครบวงจร ตั้งแต่การทำสวนปาล์ม โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โรงกลั่นน้ำมันบริสุทธิ์ ไปจนถึงการผลิตน้ำมันปาล์ม ซีพีไอ ได้ตระหนักถึงปัญหาผลผลิตของปาล์มน้ำมันดังกล่าว จึงมุ่งมั่นพัฒนาวงการปาล์มน้ำมันในประเทศ เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่ ทัดเทียม มาเลเซียและอินโดนีเซียที่เป็นผู้นำตลาดปาล์มน้ำมันของโลก

         ก้าวสำคัญสู่งานวิจัยและพัฒนา เริ่มจากวาตภัยไต้ฝุ่นเกย์ ในปี พ.ศ. 2532 ที่ส่งผลให้สวนปาล์มน้ำมันของบริษัทฯ เสียหายจำนวนหนึ่ง และจำเป็นต้องมีการปลูกทดแทน โดยได้นำเข้าพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากทั่วโลกมาปลูก ทั้งในรูปแบบเมล็ดงอกและเนื้อเยื่อ จึงได้กลายเป็นการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศแบบมรสุมที่มีช่วงแล้งชัดเจนหลายเดือนในรอบปี บริษัทฯ ได้บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตในแต่ละแปลงที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง ภายใต้คำปรึกษาของ ศ.ดร.สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ อาจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พันธุ์ปาล์ม ซีพีไอ, พันธุ์ปาล์มน้ำมันซีพีไอ, ซีพีไอ, ซีพีไอ ไฮบริด, ซีพีไอ อะโกรเทค, cpi agrotech, cpi hybrid         สถิติผลผลิตถูกเก็บรวบรวม จนถึงปี 2547 จึงได้นำมาใช้ประโยชน์ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ที่ทางบริษัทฯ ตัดสินใจลงทุน เพื่อให้มีการสร้างสายพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันขึ้นได้เองในประเทศ แผนการปรับปรุงพันธุ์อยู่ภายใต้การควบคุมของ ศ.ดร.กฤษฎา สัมพันธารักษ์ อาจารย์ภาควิชา พืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีนักวิจัยและทีมงานของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาปาล์มน้ำมัน ของ บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลผลิต บริษัทฯ จึงเป็นรายแรกๆ ของประเทศไทยที่ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันตามหลักวิชาการสากลอย่างถูกต้อง โดยเริ่มจากต้นพ่อแม่พันธุ์ดีเด่นที่ผ่านการปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่แล้ว หลังจากผ่านขั้นตอนการผสมเกสรและคัดเลือกพันธุ์มาแล้ว 8 ปี จนบริษัทฯ มั่นใจว่าได้พันธุ์ที่ดีที่สุด เป็นพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ทนแล้ง ให้ผลผลิตและเปอร์เซนต์น้ำมันสูงต่อเนื่องตลอดทั้งปี จึงได้จดทะเบียนพันธุ์และได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้ชื่อพันธุ์การค้าว่า ซีพีไอ ไฮบริด

        และในปี 2554 ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาปาล์มน้ำมัน ได้พัฒนาเป็น บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด จัดจำหน่าย เมล็ดและกล้าปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด และรับให้คำปรึกษาแนวทางการจัดการสวนเพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน โดยนักวิจัยและทีมงานมืออาชีพ โดยได้รับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์การเกษตรจาก ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ การการลดหย่อนภาษี 200% ของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ปาล์ม จาก สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)


ศ.ดร.กฤษฎา สัมพันธารักษ์
อาจารย์ภาควิชา พืชไร่นา
คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศ.ดร.สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์
อาจารย์สาขาวิชาพฤกษศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

มาตรฐาน และการรับรอง

ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด
ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร (เลขรับรอง 13/2560)
รับรองมาตรฐานระบบการผลิต ISO 90001 : 2015

 

TIMELINE

2554 – ปัจจุบัน

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาปาล์มน้ำมัน ของ บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาเป็น บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด จัดจำหน่าย เมล็ดและกล้าปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด และรับให้ปรึกษาแนวทางการจัดการสวนเพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน โดยนักวิจัยและทีมงานมืออาชีพ

2548 – 2555

ในขณะที่ต้นปาล์มของบริษัทฯมีอายุมากขึ้น จึงมีการวางแผนระยะยาวของการปลูกทดแทน ซึ่งหมายถึงต้องใช้กล้าปาล์มน้ำมันจำนวนมาก โดยในช่วงนั้นมีเพียง เมล็ดพันธุ์ที่ซื้อได้จากประเทศคอสตราริกาที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป ทำให้บริษัทฯตัดสินใจลงทุนในโครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน เพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ และนักวิชาการด้านนี้ขึ้นในประเทศ รวมทั้งจะได้คัดเลือกพันธุ์ภายใต้สภาพอากาศแบบมรสุมของไทย โครงการนี้วางแผนและควบคุมโดย ศ.ดร.กฤษฎา สัมพันธารักษ์ อาจารย์ภาควิชา พืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลผลผลิตที่เก็บบันทึกมา ในการคัดเลือกสายต้นดีเด่นเป็นต้นพ่อและแม่พันธุ์ ในปี 2547 ได้เริ่มการผสมเกสรและปลูกลงแปลงเพื่อศึกษาคัดเลือกต้นที่มีลักษณะตามเป้าหมาย โดยนักวิจัยและทีมงานของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาปาล์มน้ำมัน ของ บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) บริษัทฯจึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจปาล์มน้ำมันรายแรกๆ ของประเทศที่ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันตามหลักวิชาการสากลอย่างถูกต้อง โดยเริ่มจากต้นพ่อแม่พันธุ์ดีเด่นที่ผ่านการปรับตัวดับสภาพพื้นที่แล้ว ในขณะนี้บริษัทฯ มั่นใจว่าได้พันธุ์ที่ดีที่สุด เป็นพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ทนแล้ง ให้ผลผลิตที่มีเปอร์เซนต์น้ำมันสูงต่อเนื่องตลอดทั้งปี จึงได้จดทะเบียนพันธุ์และได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชื่อพันธุ์การค้าว่า ซีพีไอ ไฮบริด

2538 – 2547

เริ่มจากวาตภัยไต้ฝุ่นเกย์ ในปี พ.ศ. 2532 ส่งผลให้สวนปาล์มน้ำมันของบริษัทฯ เสียหาย และจำเป็นต้องมีการปลูกทดแทนในพื้นที่ส่วนหนึ่ง โดยต้องนำเข้าพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากทั่วโลกมาปลูก ซึ่งมีกว่า 20 สายต้นจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของบริษัทวิจัยของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งขยายมาจากพันธุ์ที่มีผลผลิตโดดเด่น แปลงปลูกใหม่นี้จึงได้กลายเป็น แปลงทดสอบคัดเลือกสายต้นปาล์มที่ปรับตัวเข้าได้กับสภาพภูมิอากาศแบบมรสุม ที่มีช่วงแล้งหลายเดือนในรอบปี บริษัทฯ ได้บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตและการเติบโตของแต่ละสายต้นอย่างต่อเนื่อง ภายใต้คำปรึกษาของ ศ.ดร.สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ อาจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2522

บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2522 เพื่อดำเนินธุรกิจโรงสกัดน้ำมันปาล์ม โดยการร่วมทุนของ บริษัท ปะทิวการเพาะปลูก และ บริษัท รุ่งเรืองปาล์มออยล์ ที่มีพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันรวมกันกว่า 20,000 ไร่ บริษัทฯได้รับซื้อวัตถุดิบเป็นผลปาล์มสดจากสวนปาล์มของตนเอง รวมทั้งมีการรับซื้อผลปาล์มสดจากสวนของเกษตรกร ทั้งรายใหญ่ และรายย่อยในจังหวัดชุมพร รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิต ในปี 2536 บริษัทฯได้รวมธุรกิจโรงงานกับสวนเข้าด้วยกันและเข้าตลาดหลักทรัพย์ จดทะเบียนเป็น บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)

ซีพีไอ อะโกรเทค – พันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ ไฮบริด ทะลายดก ทนแล้ง เปอร์เซนต์น้ำมันสูง

ลักษณะความดกของต้นปาล์มน้ำมัน – พันธุ์ปาล์มน้ำมันซีพีไอ ไฮบริด

การปรับปรุงพันธุ์ โดย ศ.ดร.กฤษฎา สัมพันธารักษ์ – พันธุ์ปาล์มน้ำมันซีพีไอ ไฮบริด

 

แชร์บทความนี้

เพิ่มเราเป็นเพื่อน